ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โพลล์ชี้คนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ ยังนิยมเสพข่าว แต่ไม่ค่อยชอบเนื้อหาที่สื่อเสนอ


Screenshot of Nathan Sarpal, 12-year-old American, following Urkaine's war news on social media.
Screenshot of Nathan Sarpal, 12-year-old American, following Urkaine's war news on social media.

ผลการสำรวจล่าสุดโดย The Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research (AP-NORC) ชี้ว่า 79% ของกลุ่มประชากร Millennial และกลุ่มคน Generation Z (Gen Z) ซึ่งทั้งสองกลุ่มครอบคลุมช่วงอายุระหว่าง 16 ถึง 40 ปี ยังติดตามรับข่าวสารทุกวัน

ผลสำรวจนี้ได้ปัดตกการด่วนสรุปว่า คนรุ่นใหม่ไม่ชอบรับสารข่าว และมิเชล โบเดน ซีอีโอ แห่ง the American Press Institute เสริมว่า คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการรับข่าวมากกว่าที่หลายคนคิดด้วย

Media Insight Project ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำแบบสำรวจร่วมกับ AP-NORC ระบุว่า ประมาณ 71% ของบุคคลอายุ 16 ถึง 40 ปีรับข่าวสารทุกวันจากโซเชียลมีเดีย โดย Facebook ได้รับความนิยมน้อยลงจาก ในปี 2015 ที่เคยอยู่ที่ 57% เพราะในปีนี้ได้เพียง 40% เท่านั้น และผู้คนประมาณ 33% ยังหันไปรับสารจาก Youtube และ Instagram ส่วนอีก 25% จาก TikTok Snapchat และ Twitter

อย่างไรก็ดี กลุ่ม Millennial และกลุ่มคน Gen Z ได้ระบุด้วยว่า 45% ติดตามข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม เช่น ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือ เว็บไซต์

ผลสำรวจยังระบุว่า คนกลุ่มข้างต้นถึง ประมาณ 25% ยอมจ่ายเงินเพื่อสมัครสมาชิกสื่อแบบสิ่งพิมพ์ทั้งแบบดั้งเดิมหรือแบบออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งแห่ง และ 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้บริจาคเงินให้สื่อแก่ที่ไม่แสวงหาผลกำไรอย่างน้อยหนึ่งแห่งด้วย

สำหรับความพึงพอใจในการรับสาร ชาว Millennial และ Gen Z ระบุว่า 32% รู้สึกพอใจ ซึ่งยอดดังกล่าวลดลงจากปี 2015 ที่เคยบอกว่า 53% พึงพอใจ และกลุ่มคนข้างต้นที่รู้สึกสนุกกับการพูดคุยเรื่องข่าวสารกับเพื่อน ๆ และครอบครัวก็มีจำนวนน้อยลงตามไปด้วย

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจจากผลสำรวจของ AP-NORC พบว่า ยิ่งชาว Millennial และ Gen Z ติดตามข่าวสารนาน พวกเขาก็ยิ่งรู้สึกเเย่ลง

ทอม รอสเซนสตีล อาจารย์นิเทศศาสตร์จาก University of Maryland อธิบายต้นตอของปรากฏการณ์ข้างต้นว่าเกิดจากการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหาหนักและอัดแน่น โดยเฉพาะในช่วงสามปีที่ผ่านมา

ส่วนเรื่องการแพร่เผยข่าวที่เป็นมีข้อมูลเท็จนั้น ชาว Millennial และ Gen Z ชี้ว่าพวกเขาส่วนใหญ่ได้รับสารประเภทข้างต้น ซึ่ง 90% บอกว่าข้อมูลเท็จเป็นปัญหา และ 60% บอกเป็นปัญหาใหญ่

เมื่อถามว่าใครเป็นคนผิดในการแพร่ข้อมูลเท็จ คนกลุ่มนี้ ชี้นิ้วไปที่ บริษัทโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้งานโซเชียล ส่วนนักการเมืองและสื่อเองก็มีความผิดเท่า ๆ กันในมุมมองของคนกลุ่มดังกล่าว

ข้อมูลข้างต้นอาจทำให้นักข่าวหรือบริษัทสื่อประหลาดใจ เพราะตนเป็นกลุ่มที่พยายามต่อสู้และป้องกันไม่ให้ข้อมูลเท็จเผยสู่สาธารณชน

แต่ โบเดน ซีอีโอ แห่ง the American Press Institute อธิบายว่า “ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริง คนในวงการ (สื่อ) ต้องยอมรับให้ได้ถึงทัศนคติที่ผู้คนมีต่อตน” และหนทางแก้ที่ทำได้ คือ สื่อต้องอธิบายว่าพวกเขาทำหน้าที่อะไรและตัดสินใจเผยแพร่เนื้อหาอย่างไรบ้าง รวมถึงควรต้องอธิบายว่ารัฐบาลทำงานอย่างไรและพยายามตรวจสอบผู้มีอำนาจด้วย

สัดส่วนของคนที่ระบุว่า “ข่าวมักจะก่อความขัดแย้งมากกว่าที่จะช่วยแก้ปัญหา” และ “สื่อเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดและข่าวลือ” มีมากกว่าคนที่ระบุว่า นักข่าวมักใส่ความเห็นของตนลงไปในเนื้อข่าวที่เขียน

คำตอบดังกล่าวเหมือนกันจะเป็นการพุ่งเป้าไปที่สื่อของช่องข่าวบางแห่ง ที่มักนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบการถกประเด็นร้อน โดยมักนำผู้ที่มีความคิดเห็นคนละฝ่ายมาโต้ถึงกันอย่างสุดโต่ง ทั้งนี้ คริส ลิชต์ ผู้บริหารคนใหม่ของ CNN ได้ขอให้ช่องข่าวของเขาลดการนำเสนอข่าวด้วยรูปแบบข้างต้นลงแล้ว

ท้ายสุดนี้ ประเด็นข่าวที่กลุ่ม Millennial และ Gen Z สนใจอันดับต้น ๆ ได้แก่ ดารา เพลง และบันเทิง ซึ่งได้ความนิยมถึง 49% ส่วนอาหารและการทำอาหารได้ความนิยม 48% ที่เหลือชอบติดตามข่าวประเด็นอื่น ๆ รวมทั้ง สุขภาพ การออกกำลังกาย ความเป็นธรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา การเมือง และกีฬา

  • ที่มา: เอพี

XS
SM
MD
LG