ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญกังวลต่อโครงการ 'เร่งใช้วัคซีนโควิด' ของจีนกับคนนับเเสน


FILE - An engineer looks at monkey kidney cells as he tests an experimental vaccine for the COVID-19 coronavirus inside the Cells Culture Room laboratory at the Sinovac Biotech facilities in Beijing, April 29, 2020.
FILE - An engineer looks at monkey kidney cells as he tests an experimental vaccine for the COVID-19 coronavirus inside the Cells Culture Room laboratory at the Sinovac Biotech facilities in Beijing, April 29, 2020.
China Emergency Vaccine
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:07 0:00


ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จีนได้ใช้วัคซีนต้านโควิด-19 กับผู้คนหลายแสนคน ซึ่งวัคซีนเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย ภายใต้โครงการฉุกเฉินที่รัฐบาลปักกิ่งได้อนุมัติตั้งแต่เดือนกรกฎาคม

สูตรวัคซีนหลักๆ ของจีนมีผู้พัฒนา 2 รายคือ Sinovac Biotech และ China National Biotec Group หรือ CNBG

บริษัท Sinovac Biotech ลองใช้วัคซีนสูตรของตนกับพนักงานและญาติของพนักงานบริษัท รวมแล้วประมาณ 3,000 คน ส่วนบริษัท CNBG ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจจีน Sinopharm เป็นเจ้าของวัคซีนสองสูตร และใช้วัคซีนกับมนุษย์แล้วกว่า 3 แสนคน

นอกจากนั้น ทางการจีนยังเคยอนุมัติ เมื่อเดือนมิถุนายน ให้ทหารในประเทศเป็นกลุ่มตัวอย่างการใช้วัคซีนของบริษัท CanSino Biologics อีกด้วย

หากพิจารณาถึงวัคซีนต้านโควิด-19 เหล่านี้ จีนถือเป็นประเทศที่มี ตัวเลือกวัคซีนสำหรับการทดสอบขั้นสุดท้ายก่อนใช้จริงมากที่สุดในโลก ความรวดเร็วในโครงการเหล่านี้เปิดโอกาสให้บริษัทผู้พัฒนาวัคซีนของจีน ร่วมงานกับประเทศต่างๆ กว่า 40 แห่ง และทำการทดสอบในขั้นที่ใช้กับมนุษย์ อย่างน้อย 10 โครงการ

อีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ คือ จีนได้กลายเป็นประเทศเเรกที่มีตัวเลือกวัคซีนต้านโควิด-19 ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ในต่างประเทศ หลังเกิดความตกลงกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

Vaccine
Vaccine

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญต่างชาติวิจารณ์การที่จีนลงมือใช้วัคซีน ก่อนที่ผลจากการวิจัยในขั้นที่ทดสอบกับมนุษย์หรือ clinical trial จะได้ข้อสรุปเสียก่อน

ดร. อาร์เธอร์ เเคปแลนด์ หัวหน้าภาควิชาจรรยาบรรณแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัย New York University กล่าวว่า การที่จีนเริ่มใช้วัคซีนที่มีการทดสอบเพียงเล็กน้อยและไม่มีการตีพิมพ์ผลการศึกษา เป็นการกระทำที่อันตรายและขาดการไตร่ตรองถึงผลที่อาจตามมา เขากล่าวกับวีโอเอว่าผู้ที่ถูกฉีดวัคซีนเข้าไปอาจได้รับอันตรายได้

ตามปกติ การพัฒนาวัคซีนจะใช้เวลาหลายปี ในการวิจัยและทดสอบ ก่อนที่จะถูกนำไปใช้กับประชาชน ในการทดลองเฟส 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนการศึกษาและทดสอบลำดับสุดท้าย จะมีการศึกษาผลจากการรับวัคซีนของกลุ่มตัวอย่างหลายพันหรือหลายหมื่นคน เพื่อยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา

ศาสตราจารย์ ลอเรนซ์ กอสติน ที่สอนวิชากฎหมายสาธารณสุขระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า “ก่อนการทดลองในเฟสที่ 3 เสร็จสิ้นลง เราจะไม่สามารถแน่ใจได้อย่างเต็มที่ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ”

ภายใต้กฎหมายของจีน วัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถนำมาใช้ได้อย่างเร่งด่วน หากหน่วยงานรัฐพิจารณาว่าประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีมากกว่าความเสี่ยง

ดร. เจนนิเฟอร์ หวง บูอี้ นักระบาดวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านจีน แห่งบริษัท RAND Corp. กล่าวว่า การดำเนินการอย่างเร่งรีบของจีน อาจเกิดปฏิกริยาตีกลับในเชิงลบ กล่าวคือประชาชนอาจจะขาดความเชื่อมั่นในวัคซีน และมีคนจำนวนน้อยที่เต็มใช้วัคซีน

ขณะนี้ทั่วโลกมี สูตรวัคซีนต้านโควิด-19 ที่เป็นตัวเลือกทั้งหมด 11 สูตร ซึ่งได้รับการทดสอบกันมนุษย์เฟส 3 โดยที่ 4 สูตรมีบริษัทจีนเป็นผู้พัฒนา

ข้อมูลของสมาคม American Council on Science and Health ระบุว่าวัคซีนต้านโรคติดเชื้อ ที่เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบ clinical trial มีเพียงร้อยละ 33.4 เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการทดลอง นั่นหมายความว่า วัคซีนส่วนใหญ่จะ “สอบตก” ในเฟสดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจีนกล่าวว่าไม่พบอย่างชัดเจนว่า มีผู้ได้รับวัคซีนและร่างกายตอบสนองต่อยาในเชิงลบ

An employee answers questions from the public near samples of a COVID-19 vaccine produced by Sinopharm subsidiary CNBG are displayed during a trade fair in Beijing on Sunday, Sept. 6, 2020
An employee answers questions from the public near samples of a COVID-19 vaccine produced by Sinopharm subsidiary CNBG are displayed during a trade fair in Beijing on Sunday, Sept. 6, 2020

นายโจว ซง หัวหน้าที่ปรึกษาด้านกฎหมายของบริษัทยาจีน CNBG กล่าวว่า คนนับหมื่นที่ได้รับวัคซีน ไม่พบว่าติดโคโรนาไวรัส หลังจากที่ได้เดินทางไปประเทศและภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูง เขากล่าวว่านั่นเเสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีของวัคซีนต้านโควิด-19

ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA ศึกษาข้อมูลวัคซีนเมื่อ 3 ปีก่อนและพบว่า วัคซีนที่มีผลดีในเฟส 2 อาจ “สอบตก” ในเฟส 3 การวิจัยของ FDA พบด้วยว่า วัคซีน 22 ชนิด ที่เข้าสู่เฟส 3 มี 14 ชนิดที่ไม่สามารถยืนยันประสิทธิภาพที่ดีที่เคยแสดงออกมาในเฟส 2 ได้ และมีหนึ่งวัคซีนที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในเฟสที่ 3

XS
SM
MD
LG