ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทั่วโลกตะลึง ปรากฎการณ์ บูลมูน-ซุปเปอร์มูน-จันทรุปราคา ในคืนเดียว


A super blue blood moon behind a mountain is seen from Longyearbyen, Svalbard, Norway, on January 31, 2018.
A super blue blood moon behind a mountain is seen from Longyearbyen, Svalbard, Norway, on January 31, 2018.

ปรากฎการณ์ที่เกืดขึ้นกับดวงจันทร์ บูลมูน-ซุปเปอร์มูน-จันทรุปราคา ในค่ำคืนเดียวสร้างความประทับใจให้กับผู้คนทั่วโลกที่เฝ้าสังเกตการณ์หากใครพลาดต้องรอไปอีกอย่างน้อย 19 ปี

ไม่บ่อยครั้งนักที่ทั่วโลกจะได้สัมผัสปรากฎการณ์'บูลมุน''ซุปเปอร์มูน' และจันทรุปราคาเต็มดวง ที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ในค่ำคืนเดียวกัน 3 อย่าง แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคต่างๆทั่วโลก เมื่อวันพุธ ที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา

ปรากฎการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2525 หรือกว่า 36 ปีที่แล้ว และหากใครพลาดก็ต้องรอไปอีก 19 ปี ข้างหน้าหรือ พ.ศ. 2580 กันเลยทีเดียว

supermoon
supermoon

หลายพื้นที่ของโลกมองเห็นปรากฎการณ์ 'ซุปเปอร์มูน' หรือปรากฎการณ์ที่เห็นดวงจันทร์จะกลมโตมากกว่าปกติ แตกต่างกัน แต่สำหรับปรากฎการณ์ 'จันทรุปราคา' นั้น จะมีผู้คนแถบซีกโลกตะวันออก ทางแถบมหาสมุทรแปซิฟิคและทวีปเอเชียเท่านั้่นที่มองเห็นและสัมผัสปรากฎการณ์นี้ได้ตั้งแค่เริ่มต้นจนจบ

A "super blood blue moon" is seen during an eclipse at a temple in Bangkok, Thailand, Jan. 31, 2018.
A "super blood blue moon" is seen during an eclipse at a temple in Bangkok, Thailand, Jan. 31, 2018.

ขณะที่ในทวีปอเมริกาเหนือและแคนาดา มีเพียงผู้คนซีกฝั่งตะวันตกเท่านั้น ที่จะมองเห็นได้เพราะยังเป็นเวลาเช้ามืด ของวันพุธ ที่ 30 ม.ค.โดยจะเห็นเฉพาะช่วงที่เริ่มต้นเกิดปรากฎการณ์จันทรุปราคาเท่านั้น

ส่วนผู้คนในประเทศแถบทวีปยุโรป แอฟริกา และอเมริกาใต้ ต้องพลาดไปการชมปรากฎการณ์มหัศจรรย์บนท้องฟ้าครั้งนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

A full moon rises behind blocks of flats in north London, Britain, Jan. 31, 2018.
A full moon rises behind blocks of flats in north London, Britain, Jan. 31, 2018.

ปรากฎการณ์ 'บูลมูน' หรือจันทร์เต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้วของเดือนนี้ ขณะที่ 'ซุปเปอร์มูน' ดวงจัันทร์จะโตกว่าและสุกสว่างมากกว่า

ปรากฎการณ์ครั้งนี้ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้ที่สุดกับโลกในระยะที่ใกล้ที่สุดคือเมื่อ เมื่อวันอังคาร ที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยห่างออกไปเพียง 359,000 ก.ม. ซึ่งเป็นระยะที่ห่างจากการโคจรเข้าใกล้ครั้งเก่อนเมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมาราว 2,400 กิโลเมตร ซึ่งครั้งนั้นคนดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกราว 360,200 ก.ม.

XS
SM
MD
LG