ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กูรูเทคโนโลยีเตือน “หุ่นยนต์” เสี่ยงถูกแฮ็ก


please wait

No media source currently available

0:00 0:02:40 0:00

ในระหว่างที่ทั่วโลกกำลังหวาดกลัวและเตรียมรับมือกับแฮกเกอร์ที่ลักลอบเจาะเข้าระบบและทำลายฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทเอกชนหรือองค์กรระดับประเทศ ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้ออกมาเตือนว่า อุปกรณ์ผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ ที่อยู่ใกล้ตัวทั้งตามภาคบริการและภายในบ้าน มีความเสี่ยงที่จะถูกเจาะระบบได้มากเช่นกัน

เจ้า “ทรอยก้า” หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ ที่คอยช่วยเหลือและให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารในสนามบินนานาชาติอินชอน ของเกาหลีใต้ คือ ตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่อยู่รอบตัวเราในหลายมิติของชีวิตมนุษย์ยุคปัจจุบัน

เช่นเดียวกับหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่พร้อมประจำการในโรงพยาบาล ซึ่งถูกคาดหวังว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการช่วยทีมแพทย์ผ่าตัดได้อย่างแม่นยำเหมือนจับวาง

เครื่องจักรเหล่านี้ต้องพึ่งพาการป้อนรหัสคำสั่งจากนักประดิษฐ์และโปรแกรมเมอร์ ในขณะเดียวกัน หุ่นยนต์จำนวนมากอาจตกอยู่ในการควบคุมของเหล่าแฮกเกอร์ได้ด้วย

คาร์สเทน เมเปิ้ล อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Warwick บอกว่า การที่หุ่นยนต์อาจถูกคุกคามจากแฮกเกอร์นั้น เป็นสิ่งที่นักออกแบบหุ่นยนต์ต้องคำนึงถึงก่อนเสมอ แทนที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเมื่อถูกเจาะระบบไปแล้ว เพราะเขาเชื่อว่าจะเกิดการโจมตีอีกหลายต่อหลายครั้งผ่านระบบเหล่านี้แน่นอน

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เชื่อว่าการป้องกันที่ดีไม่ได้มาจากเทคโนโลยีรูปแบบเดียว ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประดิษฐ์หุ่นยนต์และชิ้นส่วนอื่นๆ ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนและมาตรการป้องกันการเจาะระบบจากภายนอก

คริสต์ เมลฮูอิช อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Bristol บอกว่า เมื่อเราค่อยๆสร้างเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาพร้อมกันเป็นหุ่นยนต์หนึ่งตัว ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ ทุกส่วนประกอบจะต้องปลอดภัยเพียงพอ และนั่นเป็นที่มาของการร่วมกันสร้างระบบป้องกันแบบบูรณาการ

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์จากการโจมตีของแฮกเกอร์ คือ การอุดช่องว่างไม่ให้สามารถเจาะระบบเข้ามาในหน่วยความจำของเครื่องได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้อมูลพื้นฐานได้รับการป้องกัน แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงได้เพียง Dumb Terminal หรือ เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ที่ทำได้เพียงเก็บข้อมูลแต่ไม่มีศักยภาพในการประมวลผล

ปัจจุบัน หลายบริษัทเริ่มมองเห็นประโยชน์มหาศาลในการลงทุนป้องกันภัยจากโลกไร้สาย เพื่อตัดไฟแต่ต้นลมจากการโจมตีไซเบอร์รอบใหม่ในอนาคตที่ยากต่อการคาดเดาได้.

XS
SM
MD
LG