'ศรีลังกา' เตรียมขอความช่วยเหลือตรวจสอบความโยงใยกลุ่มก่อการร้ายในและนอกประเทศ

Sri Lankan security forces approach the site after a vehicle parked near St. Anthony's shrine exploded in Colombo, Sri Lanka, Monday, April 22, 2019.

นายกรัฐมนตรีศรีลังกายอมรับมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าจากหน่วยข่าวกรองของต่างประเทศ

Your browser doesn’t support HTML5

Srilanka Bombing

รัฐบาลศรีลังกาประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่เที่ยงคืนวันอาทิตย์เป็นต้นมา เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นและสอบปากคำผู้ต้องสงสัย

โดยจนถึงขณะนี้มีผู้ถูกควบคุมตัวไว้สอบปากคำแล้ว 24 คน และนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห ยอมรับว่า ศรีลังกาได้รับคำเตือนล่วงหน้าเรื่องการก่อการร้ายจากหน่วยข่าวกรองของต่างประเทศ ซึ่งเชื่อกันว่าคือหน่วยข่าวกรองของอินเดีย

นายกรัฐมนตรีศรีลังกาประกาศด้วยว่า จะสืบสวนว่ากลุ่มที่ก่อการร้ายเมื่อวันอาทิตย์มีความเกี่ยวโยงกับองค์กรก่อการร้ายในต่างประเทศหรือไม่ โดยโฆษกคณะรัฐมนตรีของศรีลังกา กล่าวด้วยว่า ไม่เชื่อว่าการโจมตีเมื่อวันอาทิตย์เป็นการทำงานของกลุ่มที่อยู่ในประเทศ และว่าคงจะมีเครือข่ายที่โยงใยถึงต่างประเทศอยู่เบื้องหลังด้วย

SEE ALSO: ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดในศรีลังกาพุ่งกว่า 200 คน

ขณะนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลศรีลังกาเชื่อว่ามือระเบิดฆ่าตัวตายทั้งเจ็ดคนเป็นสมาชิกของกลุ่มชื่อ National Thowfeek Jamaath หรือ NTJ ซึ่งเพิ่งเป็นที่รู้จักเมื่อปีที่แล้ว จากการทำลายรูปปั้นพระพุทธรูปบางองค์

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของศรีลังกาให้ข้อมูลด้วยว่า หนึ่งในมือระเบิดฆ่าตัวตายไปยืนต่อแถวเพื่อทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารของโรงแรมแห่งหนึ่งด้วย

และเมื่อวันจันทร์ มีเหตุการณ์ที่สร้างความตกใจเพิ่มขึ้นในกรุงโคลัมโบเมื่อตำรวจพบอุปกรณ์จุดชนวนระเบิด 87 ชิ้นที่ศูนย์รถโดยสารในกรุงโคลัมโบ รวมทั้งมีการระเบิดที่รถตู้คันหนึ่งซึ่งจอดอยู่ใกล้โบสถ์ที่ตกเป็นเป้าการโจมตี แต่ภายหลังได้พบว่าการระเบิดนี้เกิดจากการปลดระเบิดของเจ้าหน้าที่

Sri Lankan police clear the area while Special Task Force Bomb Squad officers inspect the site of an exploded van near a church that was attacked yesterday in Colombo, April 22, 2019.

ในวันอังคาร ประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนา ของศรีลังกา มีกำหนดจะพบกับตัวแทนการทูตจากต่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือในการสืบสวนความเกี่ยวโยงระหว่างกลุ่มที่ลงมือโจมตีกับกลุ่มก่อการร้ายในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขณะที่นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห จะยอมรับว่ารัฐบาลได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าจากหน่วยข่าวกรองของต่างประเทศก็ตาม

แต่ก็ดูเหมือนว่าขณะนี้ยังมีการกล่าวโทษซึ่งกันและกันว่าเหตุใดทางการจึงไม่มีมาตรการเพื่อสกัดยับยั้งการก่อการร้ายจากข่าวกรองที่ได้รับ โดยนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห กล่าวว่า ตนหรือรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าวเลย

FILE - Sri Lankan Prime Minister Ranil Wickremasinghe (2nd R) arrives to visit the site of a bomb attack at St. Anthony's Shrine in Kochchikade in Colombo on April 21, 2019.

ความขัดแย้งทางการเมืองในศรีลังกาดูจะยิ่งสร้างความสลับซับซ้อนให้กับการสืบสวนเรื่องการก่อการร้ายครั้งนี้ด้วย เพราะขณะนี้ผู้นำระดับสูงของประเทศทั้งสองคน คือประธานาธิบดีสิริเสนา กับนายกรัฐมนตรีวิกรมสิงเหนั้นเป็นคู่แข่ง และมีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

โดยประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนา ได้พยายามปลดนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห เมื่อสี่เดือนที่แล้ว แต่ไม่เป็นผลสำเร็จและทำให้เกิดความแตกแยกในรัฐบาลขึ้น

ก่อนหน้านี้ศรีลังกาเคยมีปัญหาสงครามกลางเมืองยาวนานเป็นเวลาถึง 25 ปี แต่การยุติการจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเมื่อปี 2552 ช่วยให้ประเทศกลับคืนสู่ภาวะสงบสุขได้ อย่างน้อยก็ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา