ผลสำรวจ: กว่าครึ่งของผู้ที่เชื่อว่า ‘โควิด ไม่มีจริง’ รับข่าวจากเฟสบุ๊ค

A man opens the Facebook page on his computer to fact check coronavirus disease (COVID-19) information, in Abuja, Nigeria March 19, 2020. Picture taken March 19, 2020. REUTERS/Afolabi Sotunde

Your browser doesn’t support HTML5

Social Media Covid Conspiracy

การศึกษาของมหาวิทยาลัย Kings College ที่ลอนดอน พบว่าคนที่รับข่าวสารส่วนใหญ่จากโซเชี่ยลมีเดีย เช่นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และยูทิวบ์ (YouTube) มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ที่จะเชื่อข้อมูลบิดเบือนเรื่องโคโรนาไวรัส

กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีโอกาสมากกว่าที่จะเพิกเฉยต่อข้อมูลของทางการ เช่นเรื่องการป้องกันการแพร่ของโรค และมีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามมาตรการล็อคดาวน์ด้วย

นักวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในวารสาร Psychological Medicine ร่วมมือกับสำนักทำสำรวจความคิดเห็นประชาชน Ipsos MORI ในการศึกษาครั้งนี้ ที่เก็บข้อมูลจากคนอังกฤษ 2,254 คน

นักวิจัยตีความข้อมูลที่บิดเบือน ภายใต้คำจำกัดความของ ‘ทฤษฎีสมคบคิด’ ว่า คือข้อมูลที่มีเนื้อหาอย่างจงใจเพื่อให้คนเชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้ถูกสร้างขึ้น หรือ โควิด-19 ไม่เป็นอันตรายเท่าที่คิด เป็นต้น

อีกตัวอย่างของทฤษฎีสมคบคิดคือ เครือข่ายโทรคมนาคม 5G คือสาเหตุของการระบาดของโควิด-19

ตำรวจเชื่อว่าความคิดแบบนี้อาจเป็นสาเหตุที่มีคนเข้าทำลายเสาสัญญาณ 5G หลายครั้งในอังกฤษ

SEE ALSO: อังกฤษเรียกข่าวโควิด-19 ระบาดมากับ 5G "ข่าวปลอมไร้สาระแต่อันตราย!"

ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ชี้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 8 เชื่อว่าเทคโนโลยี 5G อยู่เบื้องหลังการระบาดของโควิด-19

ร้อยละ 60 ของผู้ที่มีความเชื่อดังกล่าว ระบุว่าได้รับข่าวสารทาง YouTube ขณะที่ในบรรดาคนร้อยละ 92 ที่ไม่เชื่อเรื่องนี้ มีเพียงร้อยละ 14 ที่รับข่าวสารผ่าน YouTube

นอกจากนี้ มีคนที่เชื่อว่า “โควิด-19 ไม่มีอยู่จริง” ในกลุ่มนี้ร้อยละ 56 อ้างอิงที่มาของข้อมูลจากเฟสบุ๊ค

ผู้ทำวิจัยเรื่องนี้ Daniel Allington ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอผ่านสไกป์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนว่า คนเหล่านี้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด พร้อมที่จะผ่าฝืนกฎล็อคดาวน์ และมาตรการกักตัวเพื่อดูอาการ

บริษัทสื่อสังคมออนไลน์​ยักษ์ใหญ่สามแห่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ ระบุว่า ได้กำจัดคลิปวิดีโอเเละโพสต์ หลายแสนชิ้น ที่ให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงตามมาได้

เฟสบุ๊คได้ส่งหนังสือต่อรัฐสภาอังกฤษโดยกล่าวว่า ในเดือนเมษายน บริษัทได้แสดงคำเตือนต่อเนื้อหา 50 ล้าน ข้อความที่เกี่ยวกับโควิด-19 บนเฟสบุ๊ค

เฟสบุ๊คกล่าวว่าร้อยละ 95 ของผู้ใช้ที่เห็นข้อความคำเตือน จะไม่เปิดอ่านเนื้อหาเหล่านั้น

อย่างไรก็ตามนักวิจัย Daniel Allington กล่าวว่า แม้เฟสบุ๊คจะอ้างอิงข้อมูลที่กล่าวมา แต่เป็นการยากที่จะทราบอย่างแท้จริงถึงระบบของบริษัทต่างๆในการรับมือข่าวสารที่เป็นเท็จ

เขากล่าวว่าบริษัทควรเปิดให้เรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้

โซเชี่ยลมีเดียต่างๆเหล่านี้ กำลังถูกประท้วงจากบริษัทกว่า 150 แห่ง เช่นสตาร์บัคส์ และโคคา-โคล่า ที่เลิกลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มของสื่อสังคมออนไลน์ที่ว่ามา

เมื่อเดือนพฤษภาคม ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร ในความพยายามที่จะเลิกการคุ้มกันทางกฎหมายต่อธุรกิจโซเชี่ยลมีเดีย หลังจากที่ทวิตเตอร์ เตือนว่าทวีตหนึ่งของผู้นำสหรัฐฯ ควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน

ในเรื่องนี้ผู้นำสหรัฐฯเขียนตอบโต้ด้วยว่า “หากทวิตเตอร์มีไม่ความสง่างามและทำตัวเป็นผู้พิพากษาและคณะลูกขุนเอง ผมคิดว่าก็ควรปิดสื่อซะ”

FILE - President Donald Trump speaks to members of the media on the South Lawn of the White House in Washington, May 14, 2019.