เหตุยิงหมู่ในโรงเรียนเป็นเหตุให้คนที่ได้รับผลกระทบ 'ฆ่าตัวตาย'!!

FILE - Cheryl Girardi, of Middletown, Conn., kneels beside 26 teddy bears, each representing a victim of the Sandy Hook Elementary School shooting, at a sidewalk memorial, Dec. 16, 2012, in Newtown, Conn.

Your browser doesn’t support HTML5

Mass Shooting Suicide

เวลาผ่านไป 20 ปีเเล้วตั้งเเต่เกิดเหตุการณ์ยิงหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ในเมืองลิทเติลตัน รัฐโคโลราโด เเละวอชิงตันโพสต์รายงานว่า ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมา นักเรียนในสหรัฐฯ ราว 223,000 คนประสบกับเหตุการณ์รุนแรงทางอาวุธปืนในโรงเรียน 229 แห่งทั่วประเทศ

ด็อกเตอร์ โรนัลด์ ฟรีดไฮม์ จิตเเพทย์ กล่าวว่า เด็กมีความสามารถสูงที่จะเยียวยาจิตใจจากเหตุการณ์ร้าย เเละจะฟื้นตัวกลายเป็นคนที่สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้เ เละกลับไปมีความเเข็งเเกร่งทางจิตใจได้อีก

จิตเเพทย์อเมริกันผู้นี้ชี้ว่า คนบางคนที่คิดถึงการฆ่าตัวตายหลังเจอเหตุยิงหมู่ในโรงเรียนมักเคยประสบกับเหตุการณ์ร้ายในชีวิตมาก่อน เเละความคิดฆ่าตัวตายเป็นปฏิกริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์ร้ายในอดีต เหตุการณ์ยิงสังหารหมู่ในโรงเรียนไปตอกย้ำความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจเเละความซึมเศร้าที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายในอดีต

เจอรามี ริชแมน สูญเสียลูกสาวซึ่งเป็นนักเรียนประถมปีที่ 1 ในเหตุการณ์ยิงหมู่ที่โรงเรียนประถมแซนดี้ ฮุค เมื่อปี ค.ศ. 2012 เขาได้ฆ่าตัวตายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายปีหลังจากลูกสาวถูกยิงเสียชีวิต เเละเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากนักเรียนสองคนที่รอดชีวิตจากเหตุยิงหมู่ในโรงเรียนมัธยมมาร์จอรี่ สโตนแมน ดักลาส ปลิดชีวิตตนเอง

ด็อกเตอร์ ฟรีดไฮม์ กล่าวว่า เวลาจะเป็นเครื่องเยียวยาทุกสิ่งทุกอย่าง เเต่ไม่สามารถเยียวยาความเจ็บปวดจากการสูญเสียลูก เวลาไม่มีทางรักษาความเจ็บปวดจากความสูญเสียเเบบนี้ได้

ศูนย์โรค PTSD เเห่งชาติ (National Center for PTSD) ในสหรัฐฯ รายงานว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ยิงหมู่ในโรงเรียน กลายเป็นโรคซึมเศร้าหลังเหตุสะเทือนขวัญหรือ PTSD เเละงานวิจัยได้ชี้ว่า PTSD มีส่วนทำให้คนฆ่าตัวตาย

คนที่อาศัยในชุมชนโคลัมไบน์ 2 คนฆ่าตัวตายหลังเกิดเหตุยังหมู่ในโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ในปีค.ศ. 1999 ที่ทำให้คนเสียชีวิต 13 ราย

พอลล่า รีด เคยสอนหนังสือในโรงเรียนเเห่งหนึ่งในเขตเมืองเดนเวอร์ บอกว่า เธอเป็นโรค PTSD เเละเคยคิดฆ่าตัวตายบ่อยครั้งในอดีต รีดบอกว่าความเจ็บปวดรุนแรงจนทนเเทบไม่ไหว เเละรู้สึกเหมือนกับว่าความเจ็บปวดจะไม่มีทางมลายหายไป

ซามันทรา ฮาวิแลนด์ เป็นผู้หนึ่งที่รอดจากเหตุยิงสังหารหมู่ที่โคลัมไบน์ ตอนนี้เธอเป็นผู้อำนวยการด้านการให้คำปรึกษาแก่โรงเรียนของรัฐบาลในเมืองเดนเวอร์

ฮาวิเเลนด์บอกว่า เหตุยิงหมู่ในโรงเรียนเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของญาติจนรู้สึกว่าแทบไม่มีอะไรเหลือในชีวิต ลองคิดถึงสภาพจิตในของพ่อแม่ที่สูญเสียลูกขณะที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ลูกน่าจะปลอดภัยที่สุด ทำให้พวกเขารู้สึกไม่มีอะไรเหลือ สูญเสียชุมชนเเละหมดสิ้นความรู้สึกที่ดีต่อโลก

ผลกระทบทางจิตใจที่เลวร้ายนี้เน้นย้ำว่า จำนวนเหยื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุยิงหมู่จริงๆ สูงกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายเหล่านี้

(เรียบเรียงทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)