วิเคราะห์: อัตลักษณ์ที่ชัดขึ้นของชาวฮ่องกง เมื่อปักกิ่ง ‘ประเมินสถานการณ์พลาด’

Protesters hold signs following a day of violence over a proposed extradition bill, outside the Legislative Council building in Hong Kong, China, June 13, 2019.

Your browser doesn’t support HTML5

China HK

การประท้วงในฮ่องกงที่มีผู้ร่วมชุมนุมหลายแสนคน โหมกระเเสการถกเถียงถึงบทบาทของจีนต่อการปกครองในฮ่องกงมากขึ้น และการปราบปรามฝูงชนเมื่อวันพุธ ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 72 คน ยิ่งเพิ่มประเด็นการถกเถียงให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

เเม้จุดกำเนิดของการรวมตัวของฝูงชนครั้งนี้ คือเรื่องกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่นักวิเคราะห์มองว่าเรื่องนี้สะท้อนถึงความพยายามแทรกแซงฮ่องกงโดยจีนแผ่นดินใหญ่ และอาจถือเป็นการประเมินสถานการณ์ผิดของทางการปักกิ่ง

ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ฮ่องกงจะสามารถส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้ รวมทั้งที่เขตแดนอื่น เช่น มาเก๊าและไต้หวัน ซึ่งทางรัฐบาลปักกิ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในการปกครอง โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างถาวรต่อกัน

ผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวมองว่า จำเลยผู้ถูกส่งตัวออกจากฮ่องกงไปยังจีนจะสูญเสียสิทธิ์ที่พึงมี เมื่ออยู่ภายใต้การดำเนินการทางกฎหมายในระบอบของจีนแผ่นดินใหญ่

SEE ALSO: ตำรวจฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางปราบปรามผู้ประท้วงหน้าอาคารรัฐสภา

นักรณรงค์เรื่องกฎหมายผู้หนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ โดยไม่ประสงค์จะออกนามว่า การประท้วงครั้งใหญ่ในประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงทัศนะคติในแง่ลบของคนในฮ่องกงต่อระบบกฎหมายของจีน

แม้กฎหมายระบุว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น จะมุ่งไปที่คดีรุนแรงและคดีเศรษฐกิจเท่านั้น

แต่แหล่งข่าวผู้นี้ระบุว่า กฎหมายสามารถถูกใช้เพื่อจัดการกับบุคคลที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ชอบ และอาจถูกนำไปเป็นเครื่องมือกดขี่เสรีภาพทางการเมืองและศาสนาได้

เขากล่าวว่าการกดขี่ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในประเทศจีน ช่วยยืนยันในเครื่องนี้


ขณะเดียวกัน ปีเตอร์ ดาห์ลิน ผู้อำนวยการองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน Safeguard Defenders กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นการมองสถานการณ์ผิดโดยทางการจีน

เขาบอกว่า กระเเสต่อต้านจีน ได้เเรงหนุนอย่างมาก เมื่อเกิดการผลักดันกฎหมายดังกล่าวโดยผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แคร์รี่ แลม ซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยรัฐบาลปักกิ่ง

และคนจำนวนมากรู้สึกว่าบทบาทหน้าที่ของความเป็นประชากรฮ่องกงคือการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน

SEE ALSO: คำในข่าว – ไปต่อไม่อ่อนข้อกับ “Dig in”

นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าว น่าสังเกตว่าตำรวจปราบจลาจล ที่เข้าสลายฝูงชนเรือนแสน เมื่อวันพุธ ใช้มาตรการที่รุนแรงกว่าการปราบปราม กลุ่มเคลื่อนไหว Umbrella Movement เมื่อ 5 ปีก่อน

ในครั้งนั้นกลุ่มนักศึกษาปักหลักประท้วงเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อให้ฮ่องกงสามารถเลือกผู้บริหารของตนเองได้โดยตรง ซึ่งในภายหลังทางการก็มิใด้อ่อนข้อใดๆ ต่อคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม

สำหรับการประท้วงครั้งล่าสุดนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน เก็ง ชวง กล่าวประณามความรุนแรง และการบั่นทอนความมั่นคงและความรุ่งเรืองของฮ่องกง

Protesters hold pictures of Hong Kong Chief Executive Carrie Lam as protesters march along a downtown street against the proposed amendments to an extradition law in Hong Kong Sunday, June 9, 2019.19.

ในเวลานี้การพูดถึงการชุมนุมที่ฮ่องกง และการอภิปรายเกี่ยวกับกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามเเดนยังคงเป็นเรื่องต้องห้าม ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตถูกปิดกั้น และลบให้เกลี้ยงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยทางการปักกิ่ง

แต่ยังคงเป็นการยากที่จะยุติการการแลกเปลี่ยนความคิด วิเคราะห์และวิจารณ์ในหมู่ชาวฮ่องกง ที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้มาสดๆ ร้อนๆ

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของผู้สื่อข่าว Bill Ide และ Joyce Huang)