ไบเดนเป็นเจ้าภาพเจรจาผู้นำญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ ถกประเด็นจีน

  • VOA

ภาพของปธน.เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ แห่งฟิลิปปินส์ (ซ้าย) เมื่อ 29 ก.พ. 2567 และปธน.โจ ไบเดน เมื่อ 9 มี.ค. 2567 และนายกฯ ฟูมิโอะ คิชิดะ แห่งญี่ปุ่น เมื่อ 28 มี.ค. 2567

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เป็นเจ้าภาพการหารือกับผู้นำญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ที่ทำเนียบขาวในวันพฤหัสบดี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งสัญญาณไปยังจีนให้ยุติพฤติกรรมก้าวร้าวต่อประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้

ไบเดน พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ แห่งญี่ปุ่นและประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ แห่งฟิลิปปินส์ หารือกันท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลมะนิลาและปักกิ่ง

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเรือตรวจการณ์จีนดำเนินการยั่วยุ โดยเข้าขวางการทำงานเติมสเบียงให้กับทหารฟิลิปปินส์ที่อยู่บริเวณสันดอน เซคันด์ โธมัส โชล (Second Thomas Shoal) ซึ่งเป็นพื้นที่ขัดแย้งกับจีน

ยุทธวิธีของจีนสร้างความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการทำตามข้อตกลงทางกลาโหมร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ โดยประเด็นนี้อยู่ในหัวข้อหลักของการหารือ 3 ฝ่ายที่ทำเนียบขาวด้วย

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลรายหนึ่งบอกกับวีโอเอว่าไบเดน และคิชิดะจะเเสดงให้มาร์กอส จูเนียร์ เห็นถึง "ความุ่งมั่นตั้งใจ" ที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์

ที่ผ่านมา ยุทธวิธีของจีนต่อฟิลิปปินส์ในทะเลจีนได้เเสดงให้เห็นถึงการใช้มาตรการทางทหารที่ไม่รุนเเรงแต่สร้างแรงกดดันและอาจทำให้เกิดความสูญเสียได้ จึงถูกเรียกว่า "ยุทธวิธีในโซนสีเทา" (gray zone tactics)

Your browser doesn’t support HTML5

ไบเดนเป็นเจ้าภาพเจรจาผู้นำญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ ถกประเด็นจีน

เกรกอรี โพลิ่ง ผู้อำนวยการโครงการ Southeast Asia Program and Asia Maritime Transparency Initiative ที่ศูนย์ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่า "ยุทธวิธีในโซนสีเทา" อาจจะออกมาในรูป เลเซอร์ความเเรงสูง คลื่นเสียงก่อกวน น้ำเเรงดันสูง หรือการขับเรือพุ่งชน

การกระทำเหล่านี้ไม่ได้เเสดงให้เห็นถึงการจงใจสังหารฝ่ายตรงข้าม แต่ก็อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตได้

เขากล่าวว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์และวอชิงตันต้องตัดสินใจว่า gray zone tactics มีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ที่จะดำเนินการตามพันธะของความตกลงด้านกลาโหม

เมื่อปีที่แล้วรัฐมนตรีของสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์สร้างกรอบการพิจารณาร่วมกัน ที่ยืนยันว่าจะมีเหตุผลให้ใช้มาตรา 4 และ 5 ของสนธิสัญญาด้านกลาโหมร่วมกันปี 1951 หากเกิดการโจมตีในเขตแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงที่ใดก็ตามในทะเลจีนใต้ และครอบคลุมเรือและอากาศยานของทหารและภาคประชาชน ซึ่งรวมถึงหน่วยยามฝั่งด้วย

ทั้งนี้การประชุมสุดยอด 3 ฝ่ายของสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เป็นรูปแบบการหารือลักษณะนี้ครั้งเเรก ภายใต้ยุทธศาสตร์ของไบเดนที่จะกระชับความร่วมมือกันพันธมิตรผ่านการเจรจากลุ่มเล็ก ๆ เพื่อขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ ในเอเชีย

  • ที่มา: วีโอเอ