สมัชชาใหญ่สหประชาชาติเลือกภาคีใหม่ ของสภาสิทธิมนุษยชนจำนวน 14 ราย

  • ธัญญาภรณ์ สุนทรวงษ์

สมัชชาใหญ่สหประชาชาติเลือกภาคีใหม่ ของสภาสิทธิมนุษยชนจำนวน 14 ราย ในจำนวนนั้นมีลิเบียและอังโกลารวมอยู่ด้วย

บรรดากลุ่มที่ติดตามสอดส่องด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าภาคีใหม่หลายรายมีประวัติด่างพร้อย และไม่สมควรได้ที่นั่งในสภาสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำของสหประชาชาติ

การออกเสียงในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติกระทำกันเป็นความลับ แต่ผลนั้นทราบกันล่วงหน้าอยู่แล้ว ที่นั่งที่ว่างอยู่มี 14 ที่ และมีประเทศที่ต้องการเป็นภาคี 14 ประเทศ ที่นั่งเหล่านั้นแบ่งสรรกัน ในหมู่ประเทศทางภูมิภาคต่างๆ ประเทศที่ได้เป็นภาคีใหม่ คือ อังโกลา ลิเบีย มอริตาเนียและอูกานดา ซึ่งได้ที่นั่งที่จัดสรรให้ทางแอฟริกาสี่ที่ มาเลเซีย มาลดีฟส์ กาตาร์ และ ประเทศไทยครองที่นั่งสี่ที่ที่จัดสรรไว้สำหรับเอเชีย เอกวาดอร์และกัวเตมาลา ได้ครองที่นั่งที่จัดสรรไว้ให้ทางละตินอเมริกาและย่านแคริบเบียน มอลโดวาและโปแลนด์ได้ครองที่นั่งที่จัดสรร

ไว้ให้ทางยุโรปตะวันออก และสเปนกับสวิสเซอร์แลนด์ ครองที่นั่งสองที่ที่จัดสรรไว้ให้ทางยุโรปตะวันตก

กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ แสดงความผิดหวังโดยกล่าวว่าภาคีใหม่ อย่างน้อยห้ารายมิได้รักษามาตรฐานสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชน

เสียง คุณ เพ็กกี้ ฮิกส์ ผู้อำนวยการด้านการสนับสนุนระดับโลกแห่งองค์กร Human Rights Watch กล่าวไว้ตอนนี้ว่า “เราวิเคราะห์ห้าประเทศคือ ลิเบีย มาเลเซีย ประเทศไทย อังโกลา และอูกานดาไว้อย่างละเอียด และทั้งห้าประเทศนี้ต่างมีปัญหาซึ่งหมายถึงว่า ไม่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดไว้ ตามมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เกี่ยวกับการตั้งสภาดังกล่าวขึ้นมา”

ปัญหาเหล่านั้นรวมถึงกฎหมายการควบคุมบุคคล เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนในมาเลเซีย การเสียชีวิตของทนายความ สมชาย นีละไพจิตรและผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนรายอื่นๆ ในประเทศไทย การเนรเทศผู้อพยพชาวต่างชาติจำนวนมากในอังโกลา การเสนอร่างกฎหมายที่ระบุว่า การรักเพศเดียวกันเป็นความผิดทางอาญาในอูกานดา และการควบคุมตัวนักโทษหนึ่งร้อยคน ที่กระทรวงยุติธรรมระบุว่า ควรปล่อยตัวเป็นอิสระนั้นไว้ต่อไปในลิเบีย

ในหนังสือที่มีไปถึงภาคีสหประชาชาติ กลุ่มพันธมิตรด้านสิทธิเร่งเร้าให้ประเทศเหล่านั้น ดำเนินงานอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่น่าห่วงกังวล

เอกอัครราชทูตอเมริกัน ซูซาน ไร๊ซ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า “สหรัฐมิได้วัดความสำเร็จของสภานี้ โดยมองในแง่ที่ว่า มีประเทศใดเป็นภาคีของสภานี้บ้างแต่อย่างเดียว มาตรวัดที่สำคัญที่สุดก็คือว่า สภาดำเนินการอย่างไร และดำเนินการอะไรหรือไม่ได้ดำเนินการอะไร กระนั้นก็ตาม สหรัฐมีทัศนะว่าประเทศที่สมัครเป็นภาคี และได้รับเลือกให้เป็นภาคีของสภาสิทธิมนุษยชน ควรเป็นประเทศที่มีประวัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ดี และไม่มีเรื่องที่จะถูกตำหนิ ประเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สมควรได้เป็นภาคีของสภาสิทธิมนุษยชน”

ส่วนความคลี่คลายของเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อิหร่านซึ่งโดนนานาประเทศตำหนิว่า อิหร่านมีประวัติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ถอนความจำนงค์ที่จะเป็นภาคีของสภาสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติเมื่อเดือนที่แล้ว ท่ามกลางความวิตกที่ว่าอิหร่านไม่ได้รับความสนับสนุนอย่างพอเพียง ที่จะทำให้ตนได้เป็นภาคีรายหนึ่ง

สภาสิทธิมนุษยชนที่นครเจนีวา ซึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อสี่ปีก่อน เพื่อขบแก้เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนั้นมีภาคี 47 ราย ซึ่งจะผลัดเปลี่ยน

กันเข้ามาเป็นภาคี ภาคีใหม่แต่ละราย จะเป็นภาคีเป็นเวลาสามปีเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน แต่มีผู้วิจารณ์ว่าสภาประกอบด้วย ประเทศที่มีประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่แย่ๆ และระเบียบวาระการประชุมรวม เรื่องการตำหนิติเตียนอิสราเอล