วิเคราะห์เเรงกระเพื่อมจากอัฟกานิสถานสู่มุสลิมหัวรุนเเรงในเอเชียอาคเนย์

Armed Philippines policemen escort Indonesian national Muhamad Sofyan in Jolo, Provinsi Sulu, in 2016

Your browser doesn’t support HTML5

Taliban Influence in Sea


ขณะนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของหลายประเทศกำลังจับตาการเคลื่อนไหวของมุสลิมหัวรุนเเรงกลุ่มต่างๆ หลังตาลิบันสามารถยึดครองอัฟกานิสถานได้เมื่อกลางเดือนที่เเล้ว

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรงกระเพื่อมอาจเกิดขึ้นในอินเโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เนื่องจากชัยชนะของตาลิบันถูกมองว่าเป็นปัจจัยด้านขวัญกำลังใจของมุสลิมความคิดสุดโต่งในประเทศเหล่านั้น ตามการวิเคราะห์ของผู้สัดทัดกรณี

ในฟิลิปปินส์ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ไปถึงกลุ่ม อาบู เซย์ยาฟ ที่เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและเคยลักพาตัวนักท่องเที่ยวหลายครั้ง นอกจากนั้นในอินโดนีเซีย มีกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ ที่ต้องสงสัยว่าโยงใยกับการวางระเบิดที่เกาะบาหลีปีค.ศ. 2002

เจ้าหน้าที่ของประเทศเหล่านี้เก็บข้อมูลถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนเเรงต่างๆอย่างใกล้ชิด

รัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ เดลฟิน โลเรนซานา บอกกับสื่อ Philippine News Agency เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมว่า “ไม่ว่าจะพิจารณาถึงตาลิบันหรือไม่ ตลอดมาเราเห็นว่ากลุ่มความคิดสุดโต่งในประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่สร้างความกังวล”

เขากล่าวว่าฟิลิปปินส์พร้อมด้วยอินโดนีเซียเเละมาเลเซียดำเนินการเเบ่งปันข่าวสารและร่วมมือประสานงานในการปกป้องเขตเเดนทางทะเล

สำหรับอินโดนีเซียมีรายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่สอดส่องโซเชี่ยลมีเดียเพื่อดูว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนเเรงหรือไม่

กลุ่มมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการสร้างรัฐอิสระแยกจากดินเเดนในประเทศ และในอดีตขบวนการเหล่านี้ได้รับการหนุนหลังจากกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา ซึ่งครั้งหนึ่งใช้อัฟกานิสถานเป็นที่มั่นภายใต้อำนาจของตาลิบัน

FILE - Jalaluddin Haqqani, right, founder of the Haqqani network, is seen during a visit to Islamabad, Pakistan, Oct. 19, 2001. A speech by one of his sons, Sirajuddin Haqqani, who now heads the network, is drawing renewed attention.

เอ็นริโก เคา ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียอาคเนย์แห่งองค์กร Taiwan Strategy Research Association กล่าวว่าอัลเคดา และมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความพี่เป็นน้องกัน และได้รับการสนับสนุนด้านขวัญกำลังใจเพื่อความเป็นปึกแผ่น

เขาบอกว่า แม้ตาลิบันไม่มีอิทธิพลโดยตรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในทางอ้อมตาลิบันสามารถเเสดงอิทธิพลได้บ้าง

อิทธิพลทางอ้อมดังกล่าวสามารถถูกใช้ประโยชน์โดยผู้ที่เป็นตัวเเทนของอัลเคดา หรืออาบูเซย์ยาฟ ซึ่งในอดีตอัลเคดาเคยช่วยเหลือขบวนการกบฏในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

ส่วน เเซคารี อาบูซา อาจารย์ที่วิทยาลัย National War College ที่กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ ระบุว่าขบวนการมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยเห็นตาลิบันถูกโจมตีโดยอเมริกาจนต้องไปตั้งหลักในปากีสถาน แต่ก็กลับมาคุมอำนาจในอัฟกานิสถานได้อีกครั้งจากการสู้กับมหาอำนาจอย่างไม่ลดละ

นักวิชาการผู้นี้จึงกล่าวว่าชัยชนะของตาลิบันล่าสุดอาจเป็นเเรงกระตุ้นทางจิตใจต่อกลุ่มต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

ก่อนหน้านี้ ในตอนที่สหรัฐฯสร้างความปั่นป่วนให้กับตาลิบันในอัฟกานิถาน กองกำลังติดอาวุธในเอเชียะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนสถานที่ฝึกฝนทางยุทธวิธีจากอัฟกานิสถาน ไปยังอิรักและซีเรีย

ด้วยเหตุนี้ เมื่อการคุมอำนาจในอัฟกานิสถานเปลี่ยนไป โดยที่ตาลิบันกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง อาจารย์เเซคารี อาบูซา จึงเห็นว่าชัยชนะของตาลิบันอาจมีผลเชิงรูปธรรมได้

สิ่งที่ต้องจับตามองต่อไปคือ การสนับสนุนที่จับต้องได้นั้นจะรอดพ้นการสกัดกั้นของรัฐบาลประเทศต่างๆในเอเชียอาคเนย์ได้มากน้อยเเค่ไหน เนื่องจากฝ่ายรัฐได้เตรียมตัวดีกว่าในอดีต

และประชากรมุสลิมจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ชีวิตตามเเนวทางสายกลาง และไม่นิยมการเคลื่อนไหวของขบวนการติดอาวุธ ขณะที่สตรีชาวมุสลิม เช่นในมาเลเซียก็ไม่สบายใจที่เคยเห็นความรุนเเรงของตาลิบันต่อผู้หญิงในอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้

Indonesian Muslim women attend a sermon at a mosque