ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยโปแลนด์พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งได้ทุกพื้นผิว


นักวิจัยโปแลนด์พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งได้ทุกพื้นผิว
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:00 0:00

นักวิจัยโปแลนด์พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งได้ทุกพื้นผิว

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:24 0:00

แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบใหม่ที่มีราคาถูกกว่าและสามารถนำไปใช้ได้สะดวกกว่าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไป ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยรองรับการขยายตัวของตลาดพลังงานสะอาดในอนาคตได้เป็นอย่างดี

วงการอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดต่างเชื่อกันมานานแล้วว่า พลังงานแสดงอาทิตย์จะสามารถก้าวขึ้นมาทดแทนพลังงานจากซากฟอสซิลและถ่านหินได้ในอนาคต แต่ที่ผ่านมา ข้อจำกัดสำคัญของแผงรับพลังงานแสดงอาทิตย์ คือ ความสะดวกและการเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆ เพื่อผลิตไฟฟ้า

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ในโปแลนด์ สามารถพัฒนาแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ ที่ผลิตจากแร่ธาตุที่เรียกว่า เพอร์ออฟสไกท์ (Perovskite) ที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถนำไปติดตั้งได้แทบทุกสถานที่

คุณโอลก้า มาลินคีวิซ แห่งบริษัท Saule Technologies กล่าวว่า โซลาร์เซลล์แบบใหม่นี้สามารถติดตั้งบนผนังด้านนอกอาคาร หลังคาบ้าน หลังคารถ เรือใบ เต็นท์ หรือแม้แต่บนอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ

นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้กล่าวด้วยว่า วัสดุที่ผลิตจากแร่เพอร์ออฟสไกท์กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักวิจัยด้านพลังงานสะอาด เพราะนอกจากจะมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูงแล้ว ยังมีราคาถูกและสามารถติดตั้งได้ในเกือบทุกพื้นผิว นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์แบบพิเศษได้

คุณโอลก้า มาลินคีวิซ ระบุว่า แผงโซลาร์แบบใหม่ 1 ตารางเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และหลอดไฟ 1 ดวง เป็นเวลา 24 ชม. และเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาให้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

เวลานี้นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบใหม่นี้ให้มีความแข็งแรงทนทานนานขึ้น รวมทั้งปรับปรุงจุดบกพร่องอื่นๆ โดยจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้ภายในปีนี้

(ผู้สื่อข่าว Steve Baragona รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG