“Notebook Boy” เด็กหนุ่มไต้หวันผู้เก็บความทรงจำไว้ในสมุดบันทึก

Chen Hong-zhi, 26, who suffers from short-term memory loss, tries to recall what he did last week at his home, in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.

Your browser doesn’t support HTML5

Notebook Boy

สำหรับเฉิน หง จือ (Chen Hong-zhi) สมุดบันทึกคือชีวิตของเขา...

เมื่อ 9 ปีก่อนเฉิน หง จือ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบความทรงจำของเขา หรือที่เรียกว่า Hippocampus ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

เฉิน หนุ่มวัย 26 ปีผู้นี้สูญเสียความสามารถในการเก็บความทรงจำระยะสั้น แต่เขาพยายามจดสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไว้ในสมุดบันทึกด้วยปากกาหมึกสีน้ำเงิน

เฉินเล่าว่า เขาใช้สมุดบันทึกในการช่วยจดจำสิ่งต่างๆ เช่นในวันนี้เขาได้ช่วยเหลือใครบ้าง? ทำงานในไร่นามากน้อยแค่ไหน? วันนี้ฝนตกหรือไม่? รวมทั้งจดกิจวัตรที่เข้าทำในแต่ละวัน

และสมุดเล่มนี้ คือ สมองอีกส่วนหนึ่งของเขา อย่างกรณีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม เฉินบันทึกไว้ว่าเขาตามหาโทรศัพท์มือถือที่หายไป และสิบวันต่อมาเมื่อเจอโทรศัพท์ เขาก็ไม่ลืมที่จะบันทึกไว้ว่าได้โทรศัพท์คืนมาแล้ว เพื่อช่วยเตือนความจำ

พูดง่ายๆ ก็คือสมุดบันทึก คือ ความทรงจำทั้งหมดที่เขามีอยู่นั่นเอง

FILE - A notebook of 26-year-old Chen Hong-zhi, who suffers from short-term memory loss, shows his daily notes at his home in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.

เฉินอาศัยอยู่กับนาง หวัง เมียว คยอง แม่เลี้ยงวัย 65 ปี ที่หมู่บ้านในเมืองซินจู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวัน

ตั้งแต่พ่อของเขาเสียชีวิตลงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เฉินและแม่เลี้ยงของเขาก็ดำรงชีวิตด้วยเงินช่วยเหลือคนพิการจากรัฐบาลไต้หวัน และรายได้เล็กๆ น้อยๆ จากการทำสวนผักและผลไม้ ซึ่งนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน บางคนถึงกับตั้งฉายาให้เฉินว่า “Notebook Boy”

Dr. Lin Ming-teng, head of the psychiatry department at Taipei Veterans General Hospital, shows X-ray images explaining the difference between a normal brain (L) and Chen Hong-zhi's brain during an appointment at the hospital, in Hsinchu, Taiwan, July 31,

คุณหมอ หลิน หมิง เต็ง หัวหน้าแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลทหารผ่านศึกไทเป กล่าวว่า แม้ว่าสมองของเฉินจะได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่อาการของเขากลับดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

จากภาพถ่าย X-ray สมองของเขา ปรากฏพื้นที่ส่วนใหญ่ในสมองเป็นสีดำ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ได้รับการผ่าตัดหลังจากที่ประสบอุบัติเหตุ ทำให้เฉินสามารถจดจำเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงห้าถึงสิบนาทีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ความเสียหายดังกล่าวนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ และยังมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเขากับแม่ด้วย เพราะในบางครั้งแม่ของเขามักจะลืมไปว่าเฉินไม่สามารถจำอะไรได้เลย

นางหวัง แม่เลี้ยงของเฉินต้องการจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดในอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะห่วงว่าใครจะดูแลเฉินเมื่อเธอจากไป

สำหรับในตอนนี้ มีเพียงสมุดบันทึกเท่านั้นที่ช่วยให้เฉินสามารถเก็บรักษาลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเขาไว้ จะได้ไม่ทำความทรงจำตกหล่น หรือเลือนหายไปกับกาลเวลา