กระจุกดาวทรงกลมไกลโพ้นน่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก

Globular star clusters may be the best place to search for alien life, researchers said.

นักดาราศาสตร์ในสหรัฐฯ ชี้ว่าเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกบนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่ไกลโพ้นในกระจุกดาวทรงกลม

Your browser doesn’t support HTML5

Star Clusters

กระจุกดาวทรงกลม (globular star clusters) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ค่อนข้างเล็กโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 100 ปีแสง

นอกจากนี้ กระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้ยังเก่าแก่อีกด้วย เก่าเเก่เทียบเท่ากับดาราจักรทางช้างเผือกเนื่องจากถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้วโดยเฉลี่ย

คุณ Rosanne DiStefano แห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด สมิธโซเนี่ยน (the Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics) ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยที่ร่างรายงานเกี่ยวกับผลการศึกษานี้กล่าวระหว่างการประชุมของ the American Astronomical Society ในเมือง Kissimmee ที่รัฐฟลอริด้าเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กระจุกดาวทรงกลมอาจจะเป็นจุดแรกที่ให้กำเนิดสิ่งชีวิตที่มีภูมิปัญญาสูงในดาราจักร

ในดาราจักรทางช้างเผือก มีกระจุกดาวทรงกลมราว 150 กระจุกดาว โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่รอบนอก

อย่างไรก็ตาม กระจุกดาวมีองค์ประกอบของวัสดุที่มีน้ำหนักมาก ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อตัวของดาวเคราะห์ดวงใหม่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ทำให้หลายคนเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่ทีมนักวิจัยนี้ชี้ว่าภายในกระจุกดาวใดกระจุกดาวหนึ่ง ทีมงานพบดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่านั้น

คุณ DiStefano แย้งว่ามีการค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้นหลายดวงในบริเวณรอบๆ ดาวฤกษ์ แต่มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะในปริมาณสูงเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรรอบๆ

นักวิจัยยังกล่าวด้วยว่าดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่ากับโลกมนุษย์ สามารถก่อกำเนิดขึ้นได้ในบริเวณรอบๆ ของทั้งดาวฤกษ์ที่มีส่วนประกอบของโลหะในปริมาณสูง และดาวฤกษ์ที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในปริมาณต่ำ

อีกเหตุผลที่หนึ่งที่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า กระจุกดาวน่าจะเป็นจุดที่มีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาศัยอยู่ ก็คือมีดาวกฤษ์อยู่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนหนาแน่น นี่หมายความว่ามีโอกาสสูงที่เเรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งจะส่งผลต่อระบบสุริยะจักรวาลอีกระบบหนึ่

ทีมนักวิจัยยังพบด้วยว่าดวงดาวต่างๆ ในกระจุกดาวมีความสว่างน้อยและเป็นดาวฤกษ์แคระสีแดงที่มีชีวิตยืนยาว ดาวเคราะห์ใดๆ ก็ตามที่โคจรรอบๆ ดวงดาวเหล่านี้จะมีระยะใกล้กับดวงดาวมาก

คุณ DiStefano อธิบายว่าเมื่อดาวเคราะห์ถือกำเนิดขึ้น มันจะอยู่รอดได้เป็นเวลานาน นานกว่าอายุปัจจุบันของจักรวาลเสียอีก และนั่นอาจจะหมายความว่าดาวเคราะห์ดวงใดก็ตามในกระจุกดาว อาจจะอยู่รอดได้นานหลายพันล้านปี ซึ่งเอื้อเวลาให้แก่สิ่งมีชีวิตที่จะก่อกำเนิดขึ้นและวิวัฒนาการต่อไป

ระยะห่างระหว่างดาวฤกษ์ดวงต่างๆ ในกระจุกดาวใดๆ ที่ไม่ไกลมากนัก ยังจะเอื้อหนุนให้สิ่งมีชีวิตต่างดาวมีโอกาสที่ดีกว่าในการออกไปสำรวจดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่นมีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ตั้งอยู่ห่างจากระบบสุริยะจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่งไปราว 4 ปีแสง แต่ในกระจุกดาวกระจุกหนึ่ง ดาวฤกษ์จะอยู่ใกล้กับดาวเคราะห์มากกว่าถึง 20 เท่าตัว

แต่การค้นหาดาวเคราะห์เหล่านี้หากมีอยู่จริง ยังเป็นเรื่องยาก กระจุกดาวที่ตั้งอยู่ใกล้มากที่สุดห่างออกไปหลายพันปีแสง และเมื่อมีดวงดาวอยู่หนาแน่น การค้นหาดาวเคราะห์จะเป็นไปได้ยาก

ทีมนักวิจัยชี้ว่าโอกาสที่ดีที่สุดในการมองหาดาวเคราะห์เหล่านี้ ต้องมองหาที่บริเวณรอบนอกของกระจุกดาวทรงกลม

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน )