กลาโหมสหรัฐฯ สร้างเเก๊สเรือนกระจกสูงกว่าสวีเดนกับโปรตุเกส

FILE - The Pentagon building is seen in Washington.

“เดอะ เพนตากอน” ของสหรัฐฯ ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับเเก๊สเรือนกระจกชนิดอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศโลกปีละ 60 ล้านตัน

Your browser doesn’t support HTML5

Pentagon Greenhouse Gases

ผลการศึกษานี้ชี้ว่ากระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ หรือ เดอะ เพนตากอน (The Pentagon) ซึ่งดูแลการปฏิบัติการทางทหารของประเทศปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กับเเก๊สเรือนกระจกชนิดอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศโลกสูงมากที่ราว 59 ล้านตันในปี ค.ศ. 2017

ผลการศึกษานี้ชี้ว่าปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างขึ้นในระยะเวลาหนึ่งปี มีปริมาณมากกว่าที่สร้างโดยประเทศเล็กๆ หลายประเทศ

Neta Crawford ผู้ร่างรายงานผลการวิจัยนี้เเละผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยบอสตันกล่าวว่าหากเทียบกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ให้เป็นประเทศ ปริมาณเเก๊สเรือนกระจกที่สร้างขึ้นจะทำให้ติดอันดับผู้ผลิตแก๊สเรือนกระจกสูงที่สุดในโลกอันดับที่ 55

อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ไม่ตอบรับการขอความคิดเห็นในเรื่องนี้

การใช้กองกำลังเเละการเคลื่อนย้ายพลและอาวุธ ใช้พลังงานสูงมากถึงราวร้อยละ 70 ของปริมาณพลังงานที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ใช้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเผาไหม้ของเครื่องบินเจ็ทเเละน้ำมันดีเซล

ปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่สร้างโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สูงกว่าปริมาณแก๊สที่สวีเดนผลิตต่อปี โดย Global Carbon Atlas จัดให้สวีเดนอยู่ที่ลำดับที่ 65 ของโลกในบรรดาผู้ผลิตแก๊สคาร์บอนรายใหญ่

Crawford กล่าวว่าปริมาณเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สร้างโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สูงกว่าของประเทศโปรตุเกสที่จัดอยู่ในอันดับที่ 57 โดย Global Carbon Atlas

จีนเป็นประเทศที่ปล่อยเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก ซึ่งแก๊สชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน ตามมาด้วยสหรัฐฯ

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เรียกภาวะโลกร้อนว่าเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติ ในรายงานของกระทรวงเมื่อเดือนมกราคมที่เขียนถึงสภาคองเกรสเเละได้เริ่มเเนวคิดหลายอย่างเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบ

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหประชาชาติชี้ว่าระดับอุณหภูมิทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มระหว่าง 3-5 องศาเซลเซียสในช่วงคริสต์ศตวรรษนี้ เพิ่มขึ้นไปสูงกว่าระดับจำกัดที่ตั้งเอาไว้ทั่วโลกที่ 2 องศาเซลเซียสเป็นอย่างมาก

Crawford กล่าวว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ลดการใช้เชื้อเพลิงลงอย่างมากตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2009 เเละยังพยายามพัฒนาให้ยวดยานที่ใช้ในฐานทัพต่างๆ ประหยัดพลังงานมากขึ้นเเละเริ่มปรับไปใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น

เธอกล่าวว่าทางเพนตากอนยังสามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงลงไปได้อีกด้วยการลดการปฏิบัติการที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงสูงในอ่าวเปอร์เชียลงเพื่อปกป้องการเข้าถึงน้ำมัน ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นอีกต่อไปเพราะพลังงานสะอาดได้รับความนิยมมากขึ้น

เธอกล่าวว่าปฏิบัติการทางทหารหลายๆ อย่างของกลาโหมสหรัฐฯ ควรมีการทบทวน ซึ่งจะทำให้โลกปลอดภัยมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน