ชาติเอเชียเตรียมรับมือกับการดูแลประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น

  • Ron Corben

FILE - A group of elderly women rest in their wheelchairs at a residential compound in Beijing, China, March 31, 2016.

Your browser doesn’t support HTML5

Asia Aging

บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า คาดว่าจำนวนคนสูงอายุในเอเชียจะเพิ่มขึ้นอีก 200 ล้านคน โดยจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ต่างจากยุโรปที่จะเพิ่มขึ้นที่ 31 เปอร์เซ็นต์ และทวีปอเมริกาเหนือที่จะเพิ่มขึ้นที่ 55 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านดูเเลสุขภาพเพิ่มขึ้น มีผลต่อการวางแผนการใช้จ่ายด้านงบประมาณสาธารณสุขของรัฐ

ศูนย์ Asia Pacific Risk Center (APRC) ของบริษัท M & Mc ประมาณว่า ค่าใช้จ่ายในการดูเเลสุขภาพประชากรสูงวัยในเอเชียที่จะเพิ่มขึ้นตลอดในช่วง15 ปีข้างหน้า อาจจะสูงขึ้นไปถึง 20 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Mika Marumoto ผู้อำนวยการบริหารแห่ง the Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) กล่าวว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียต้องเตรียมตัวให้พร้อมมากขึ้น ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มากับการปรับเปลี่ยนทางลักษณะประชากรนี้

Marumoto กล่าวว่า ในระดับชาติ รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องศึกษาอัตราการเเก่ตัวของประชากรในประเทศกับตัวเลขของประชากรสูงวัยที่เเน่ชัด เพื่อหาทางรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน

Wolfram Hedrick กับ Jonathan Tan ผู้อำนวยการอาวุโสเเห่ง Asia Pacific
Risk Center ในสิงค์โปร์กล่าวในบทความแสดงความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้ว่า ค่าใช้จ่ายด้านการดูเเลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตของเอเชีย ทวีปที่ได้ชื่อว่าเติบโตทางเศรฐกิจมากที่สุดในโลกทวีปหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนชี้ว่า ค่าดูเเลรักษาพยาบาลคนสูงวัยจะกลายเป็นภาระทางงบประมาณด้านการคลังของรัฐบาลที่สำคัญมากทั่วทั้งทวีปเอเชีย

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ชี้ว่าในเอเชีย
ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกและในจีน
ค่าใช้จ่ายนี้จะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี ค.ศ. 2050 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็ว กับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิภายในประเทศที่ค่อนข้างสูง ประเทศเกาหลีใต้จะมีค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นพอๆ กัน โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโดยรวม

Keizo Takemi สมาชิกวุฒิสภาญี่ปุ่นและประธานคณะกรรมาธิการด้านยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพระดับโลก กล่าวในงานประชุมเกี่ยวกับการสูงวัยที่จัดในกรุงฮานอยเมื่อเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวด้านความต้องการใช้บริการด้านการดูแลทางสุขภาพของประชากรสูงวัยในบรรดาประเทศเอเชียที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงรายได้น้อย

Takemi กล่าวว่า ในเกาหลี ไต้หวัน จีน ไทย และศรีลังกา ประชากรสูงวัยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากจากปี ค.ศ. 2000 หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้วเป็นต้นมา คาดว่าประเทศเอเชียเหล่านี้จะกลายเป็นสังคมสูงอายุ เพราะจะมีจำนวนประชากรสูงวัย 14 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่าในช่วงปี ค.ศ. 2016 ถึง 2026

Takemi ย้ำว่า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคล้ายกันนี้จะพบชัดเจนในเวียดนาม
อินโดนีเซีย พม่า คาซัคสถาน และอิหร่าน โดยแนวโน้มที่แตกต่างซึ่งจะเห็นได้ คือประเทศที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและอย่างช้าๆ ซึ่งเขาชี้ว่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว อินเดียและมองโกเลีย จะเป็นประเทศเอเชียที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

ญี่ปุ่นกำลังประสบกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับจำนวนประชากรสูงวัยจำนวนมากอยู่ในขณะนี้ ญี่ปุ่นมีคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปประมาณ 32 เปอร์เซ็นหรือ 41 ล้านคนจากทั้งหมดจำนวนประชากรทั้งหมด 127 ล้านคน

Donghyun Park นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเเห่งธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB
กล่าวว่าสำหรับเอเชีย ที่เป็นที่รู้จักในนาม "Tiger economies" หรือเศรษฐกิจเสือเอเซียในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 การมีจำนวนประชากรที่เริ่มสูงวัยมากขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

Park กล่าวว่า เป็นที่รู้กันดีว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางประชากรแบบนี้ไม่เป็นที่ต้องการนัก เพราะมีผลลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเศรษฐกิจเอเชียจะได้รับผลกระทบแน่นอน

จีนเป็นตัวอย่างสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็วจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จของการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

Park นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเเห่ง ADB กล่าวปิดท้ายรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงทางลักษณะอายุของประชากรในเอเชีย จะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในเอเชีย โดยไม่เเบ่งแยกว่าจะเป็นประเทศเอเชียที่มีรายได้สูง เช่น เกาหลี สิงคโปร์ หรือไต้หวัน หรือประเทศรายได้ปานกลาง อย่างเช่น ประเทศจีน

(รายงานโดย Ron Corben / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)