เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการอพยพผู้คนออกอัฟกานิสถาน เทียบสงครามเวียดนาม

In this photo provided by the Spanish Defence Ministry, people board a Spanish air force A400 plane as part of an evacuation plan at Kabul airport in Afghanistan, Aug.18, 2021.

Your browser doesn’t support HTML5

Afghanistan Evacuation Vietnam War Comparison


ตั้งแต่ที่ตาลิบันยึดอำนาจการปกครองอัฟกานิสถานมาช่วงกลางเดือนสิงหาคม สหรัฐฯ ช่วยนำคนออกจากพื้นที่ดังกล่าวกว่า 70,000 คน ถือเป็นภารกิจที่ใช้อากาศยานอพยพผู้คนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

สำนักข่าวเอพี (Associated Press) รวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนำคนออกจากอัฟกานิสถาน การช่วยคนให้ตั้งต้นชีวิตในดินเเดนใหม่ รวมถึงอุปสรรคในการดำเนินการในเรื่องนี้ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าภารกิจนี้เกิดขึ้นอย่างโกลาหล นอกจากนั้นยังมีตัวเลขเปรียบเทียบการอพยพคนออกจากไซ่ง่อนเมื่อตอนสิ้นสุดสงครามเวียดนามเมื่อ 40 กว่าปีก่อนด้วย

หลายคนอาจจะอยากทราบว่าการอพยพผู้คนออกจากอัฟกานิสถานให้ทันเส้นตายวันที่ 31 สิงหาคมของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน มีที่ไปที่มาอย่างไร

เหตุการณ์สำคัญในเรื่องนี้มีที่มา จากการเจรจาสันติภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่เเล้ว สมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์​ ที่เขาลงนามไว้ร่วมกับตัวเเทนตาลิบันเพื่อหาทางยุติสงครามที่เขาเรียกว่าเป็น “สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด” ในตะวันออกกลาง

เอพีรายงานว่า กรอบเวลาการถอนทหารตอนนั้นคือ วันที่ 1 พฤษภาคมปีนี้ แต่ ประธานาธิบดีไบเดนที่รับช่วงการบริหารต่อมา เลื่อนเส้นตายไปเป็นเดือนกันยายนเเทน ซึ่งหมายถึงการถอนกำลังอเมริกันให้เสร็จสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

เเละในเวลาที่ทหารอเมริกันลดจำนวนลงในช่วงที่ผ่านมากองกำลังตาลิบันก็รุกคืบยึดเมืองต่างๆอย่างรวดเร็ว

Security personnel assist with evacuation

ในจำนวนที่อพยพออกจากอัฟกานิสถาน 70,000 ราย มีชาวอเมริกันเเละครอบครัวกว่า 4,000 คน ที่เหลือรวมถึงชาวอัฟกันที่มีวีซ่าพร้อมมาสหรัฐฯและที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินการให้ได้วีซ่าด้วย

ชาวอัฟกันเหล่านั้นมักเป็นผู้ที่เคยช่วยงานอเมริกาและองค์การสนธิสัญญาเเอตเเลนติกเหนือ หรือนาโต้มาก่อน รวมถึงสมาชิกครอบครัวของพวกเขา

นอกจากนั้นยังมีชาวอัฟกันที่เป็นนักข่าว พนักงานรัฐ​และผู้ที่ทำงานให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานภาคประชาชน

สำหรับผู้ที่มีวีซ่าเข้าอเมริกาอยู่ในมือเเล้ว เครื่องบินอเมริกันจะพาคนเหล่านี้ออกไปที่ประเทศกาต้าหรือประเทศพันธมิตรในอ่าวเปอร์เชียอื่นๆ ก่อนเปลี่ยนเครื่องเดินทางเข้าอเมริกา

ขั้นตอนของผู้ที่ยื่นทำวีซ่าไปแล้วแต่ยังรอการออกเอกสารอยู่ พวกเขาจะต้องไปรออยู่ที่ประเทศรองรับผู้อพยพชั่วคราวก่อน ซึ่งอาจจะอยู่ในยุโรปหรือเอเชีย โดยหน่วยงานอเมริกันในประเทศเหล่านี้จะทำหน้าที่ตรวจประวัติจนเสร็จสิ้นกระบวนการคัดกรอง

และพวกเขายังต้องมารอต่อในอเมริกาที่ฐานทัพในรัฐเวอร์จิเนีย นิวเจอร์ซีย์ เท็กซัส หรือวิสคอนซิน ก่อนได้รับเอกสารที่สมบูรณ์

ทำเนียบขาวกล่าวว่าทุกคนจะได้รับการตรวจโควิด-19 เมื่อเดินทางถึงอเมริกา

ขณะที่คนอัฟกันเหล่านี้รอการกระบวนการเตรียมเริ่มชีวิตที่ดินเเดนใหม่ในอเมริกา มีอย่างน้อย 13 ประเทศที่เสนอเป็นที่พักพิงชั่วคราวให้กับพวกเขา เช่น ยูกันดา คอสตาริกา และอัลบาเนีย เป็นต้น

ส่วนองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องการลงหลักปักฐานในประเทศใหม่ 9 องค์กร ประกอบด้วย International Rescue Committee และ U.S. Conference of Catholic Bishops เป็นต้น

Mobs of South Vietnamese civilians scale the 14-foot wall of the U.S. Embassy in Saigon, April 29, 1975, trying to reach evacuation helicopters as the last Americans departed from Vietnam. (AP Photo)

สำหรับข้อท้วงติงที่ว่าการอพยพคนออกจากอัฟกานิสถานเป็นไปอย่างโกลาหล เคยมีความคิดที่ว่าจะเริ่มอพยพคนครั้งใหญ่ก่อนหน้านี้ แต่ทางการอเมริกันชะลอเเผนดังกล่าวไว้เพราะเกรงว่าจะเกิดความเเตกตื่นขึ้นในอัฟกานิสถาน

เจ้าหน้าที่อเมริกัน รวมถึงประธานาธิบดีไบเดนเองกล่าวในช่วงไม่วันที่ผ่านมาว่าภารกิจนำคนจำนวนมากออกจากอัฟกานิสถานย่อมมีความโกลาหลและเกิดภาพที่น่าเศร้าใจ ไม่ว่าจะสหรัฐฯ ดำเนินการดังกล่าวเร็ว หรือช้ากว่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้

ทั้งนี้เมื่อ 46 ปีที่เล้ว ณ​ การสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม อากาศยานอเมริกันนำคนอพยพออกจากไซ่ง่อน 7,000 ราย และหากรวมการนำคนอพยพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดหลังสงคราม ครั้งนี้มีผู้ลี้ภัยทั้งหมดมากกว่า 100,000 ราย

FILE - U.S. Navy personnel aboard the USS Blue Ridge push a helicopter into the sea off the coast of Vietnam in order to make room for more evacuation flights from Saigon, April 29, 1975.