ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทำเนียบขาวชูนโยบาย 'ไบเดนนอมิกส์ ' หวังฉุดกระแสนิยม-กระตุ้นศก.


U.S. President Joe Biden delivers remarks on the economy, at the Old Post Office in Chicago, Illinois, June 28, 2023.
U.S. President Joe Biden delivers remarks on the economy, at the Old Post Office in Chicago, Illinois, June 28, 2023.

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ประกาศความสำเร็จของนโยบายเศรษฐกิจที่กระตุ้นการเจริญเติบโต "ตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับกลาง" และสามารถควบคุมเงินเฟ้อควบคู่ไปกับการจ้างงานได้

ปธน.ไบเดน กล่าวที่นครชิคาโกในวันพุธ เผยวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจของตนภายใต้นโยบายที่เรียกว่า ไบเดนนอมิกส์ (Bidenomics) ซึ่งผู้นำสหรัฐฯ บอกว่าช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตในอัตราที่สูงที่สุดประเทศหนึ่งนับตั้งแต่สิ้นสุดการระบาดของโควิด-19

ไบเดน กล่าวว่า "เราสร้างงานเพิ่ม 13 ล้านตำแหน่งในช่วงสองปี ซึ่งมากกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคนในช่วงสี่ปีแรกที่เข้ารับตำแหน่ง" และว่า "นั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะไบเดนนอมิกส์"

ปธน.ไบเดน สรุปนโยบายเศรษฐกิจของตนเองเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอเมริกา, ให้การศึกษาและสนับสนุนคนทำงานอเมริกันให้ขยายสถานะของชนชั้นกลาง, เกื้อหนุนการแข่งขันเพื่อลดต้นทุนและช่วยธุรกิจรายย่อย

ดัชนีทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่า อเมริกามีอัตราการจ้างงานสูงขึ้นขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในเดือนพฤษภาคม แม้จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตั้งเป้าไว้

อย่างไรก็ตาม คนอเมริกันส่วนใหญ่ยังคงมองเศรษฐกิจในด้านลบ โดยผลสำรวจความเห็นล่าสุดที่จัดทำโดย อิปซอส (Ipsos poll) ชี้ให้เห็นว่า ระดับการยอมรับการทำงานของปธน.ไบเดน ในหมู่คนอเมริกันยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ประมาณ 40 กว่าเปอร์เซนต์ ซึ่งประเด็นทางเศรษฐกิจถือเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันกังวลมากที่สุด

Rais wa Marekani Joe Biden akitoa hotuba ya sera ya uchumi huko Chicago, terehe 28 Juni 2023. Picha na REUTERS/Leah Millis.
Rais wa Marekani Joe Biden akitoa hotuba ya sera ya uchumi huko Chicago, terehe 28 Juni 2023. Picha na REUTERS/Leah Millis.

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ คู่แข่งชิงตำแหน่งปธน.กับ ไบเดน เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งประกาศตัวลงชิงชัยอีกครั้งในปีหน้า กล่าวโจมตีนโยบายเศรษฐกิจของไบเดนว่า "เก็บภาษีอัตราสูง มีกฎเกณฑ์ควบคุมมากมาย เงินเฟ้อหนัก ทำลายภาคพลังงานอเมริกัน ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ทำลายข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และยอมพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจต่อจีนและประเทศอื่น ๆ เป็นนโยบายที่ทำให้อเมริกาไปอยู่ท้ายแถวต่างจากนโยบายอเมริกามาก่อน (ของตนเอง)"

คริส แจ็คสัน โฆษกของอิปซอส ผู้จัดทำผลสำรวจดังกล่าว ชี้ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจไม่ได้สะท้อนออกมาในรูปของทัศนคติที่คนอเมริกันมีต่อเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ เนื่องจากคนอเมริกันส่วนใหญ่ยังคงรับรู้ถึง "ข่าวร้าย" จากอัตราเงินเฟ้อสูงและปัญหาห่วงโซ่อุปทานในช่วงที่ผ่านมา เมื่อทียบกับ "ข่าวดี" คืออัตราการว่างงานต่ำและเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งมีคนรับรู้น้อยกว่า

และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ไบเดนต้องออกเดินสายชูความสำเร็จของผลงานทางเศรษฐกิจของตนเองในขณะนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชาสัมพันธ์ของทำเนียบขาวเป็นเวลาสามสัปดาห์เพื่อยกย่องกฎหมายสามฉบับที่ไบเดนเป็นผู้ลงนาม คือ กฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure law) กฎหมายบรรเทาทุกข์จากโควิด-19 (COVID-19 relief package) และกฎหมายชิปคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ (CHIPS and Science Act) ซึ่งอัดฉีดเงินราว 52,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอเมริกัน

แต่ทางสมาชิกพรรครีพับลิกันแย้งว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้เป็นสาเหตุหลักของเงินเฟ้อ พร้อมระบุว่าการจ้างงานส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาคืองานที่หายไปในช่วงการระบาดของโควิด ไม่ใช่การสร้างงานใหม่แต่อย่างใด

ถึงกระนั้น การที่ทำเนียบขาวตัดสินใจผูกชื่อของประธานาธิบดีไบเดนไว้กับนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ "ไบเดนนอมิกส์" ก็สะท้อนถึงความมั่นใจของรัฐบาลที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างน้อยก็จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ปีหน้า

  • ที่มา: วีโอเอ

XS
SM
MD
LG