ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์กังวลภาวะโลกร้อนจะทำลายพืชผลที่เป็นอาหารหลักของเด็กหลายพันล้านคนทั่วโลก


นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าหากยังไม่สามารถลดภาวะโลกร้อนได้จะมีจำนวนเด็กขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นทั่วโลก

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:04 0:00
Direct link

องค์การอนามัยโลกชี้ว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบอย่างน้อย 7 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นประสบกับภาวะทุพโภชนาการ ในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เสียชีวิตทั้งจากผลโดยตรงจากภาวะอดอยากและจากโรคติดเชื้อหลายๆ โรคที่มักเกิดกับเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะขาดอาหาร

เด็กเหล่านี้จำนวนมากอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนรวมทั้งคุณ Revati K. Phalkey ต่างคาดการณ์ว่าจะมีเด็กเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านชีวิตที่จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดอาหารในอนาคต เนื่องมาจากความหิวโหยและภาวะขาดสารอาหารเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

คุณ Phalkey นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าภายในปี 2050 ภาวะโลกร้อนจะเป็นสาเหตุให้มีเด็กที่ขาดอาหารเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก 20 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชียและชาติแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า

คุณ Phalkey เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัย University of Heidelberg ในประเทศเยอรมนี และเป็นผู้ร่วมร่างรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร the Preceedings of National Academy of Sciences

รายงานนี้เป็นผลการประมวลการศึกษา 15 ชิ้นเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่ออาหาร โดย 80% ของการศึกษาทั้ง 15 ชิ้นสรุปว่า สภาวะอากาศที่เลวร้ายจะเป็นตัวทำลายพืชผลทางการเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารแหล่งสำคัญของเด็กทั่วโลก

ด้านคุณ Rainer Sauerborn สมาชิกทีมวิจัยซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างรายงานผลการวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่าโลกจะประสบกับสภาวะอากาศที่ผันผวนรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะมีภาวะฝนตกหนัก เกิดภัยแล้ง ฤดูกาลต่างๆ เกิดขึ้นไม่ตรงตามกำหนด อาทิ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือฝนขาดช่วง ซึ่งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง

คุณ Sauerborn นักวิจัยกล่าวว่า ทีมวิจัยต้องการให้ปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กได้รับความสนใจมากขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหา เขากล่าวว่าคนจำนวนมากใส่ใจต่อปัญหาที่เกิดกับหมีโคอาล่าและหมีโพล่าและแน่นอนว่าคนเหล่านี้สนใจกับความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กๆ ทั่วโลกเช่นกัน

และในปลายปีนี้ จะมีการจัดการประชุมต่างๆ ในระดับนานาชาติ ที่มุ่งลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อช่วยชะลอผลกระทบจากภาวะโลกร้อนลง

XS
SM
MD
LG