ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ เรียกร้องกองทัพเมียนมาคืนอำนาจให้ประชาชน


In this picture taken on October 5, 2021 members of the Armed Police Battalion (APBN) stand guard near the office of top community Rohingya leader and activist Mohib Ullah, who was shot dead by gunmen in late September.
In this picture taken on October 5, 2021 members of the Armed Police Battalion (APBN) stand guard near the office of top community Rohingya leader and activist Mohib Ullah, who was shot dead by gunmen in late September.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องให้กองทัพเมียนมา คืนอำนาจให้กับประชาชนหลังเข้าปกครองประเทศครบ 1 ปี ขณะที่ องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตือนว่า สถานการณ์ด้านวิกฤตมนุษยธรรมในเมียนมากำลังทรุดหนักลง ขณะที่เหตุความขัดแย้งในประเทศและสภาพเศรษฐกิจของประเทศยกระดับรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในวันจันทร์ว่า กองทัพเมียนมาควรจะนำพาประเทศของตนกลับคืนสู่ “วิถีแห่งประชาธิปไตยอันแท้จริงและเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม” หลังครบรอบ 1 ปีการก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ จากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดย นาง ออง ซาน ซู จี

U.S. Secretary of State Antony Blinken speaks about modernizing American diplomacy during a speech at the Department of State's Foreign Service Institute in Arlington, Va., Oct. 27, 2021.
U.S. Secretary of State Antony Blinken speaks about modernizing American diplomacy during a speech at the Department of State's Foreign Service Institute in Arlington, Va., Oct. 27, 2021.

รมต.บลิงเคน กล่าวว่า “เรา(สหรัฐฯ) นับถือในความพยายามของชาวพม่าที่จะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย และเคารพในสิทธิมนุษยชน รวมทั้งหลักนิติธรรมของประเทศ ซึ่งรวมความไปถึงผู้บริสุทธิ์กว่า 1,300 คนที่สูญเสียชีวิตเพื่อการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้”

รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯ ยังระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า การก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์และการดำเนินการปราบปรามด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมาตลอดหลังจากวันนั้น ได้บ่อนทำลายสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ทั้งยังเป็นการนำประเทศถอยห่างออกจากความพยายามที่จะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยที่เดินหน้ามาถึง 1 ทศวรรษแล้วด้วย

ขณะเดียวกัน ยูเอ็น ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเมียนมา “ให้ความเคารพต่อจิตวิญญาณของประชาชน และนำพาประเทศกลับคืนสู่เส้นทางเปลี่ยนถ่ายไปยังเป้าหมายของประชาธิปไตยอีกครั้ง” ด้วย

สเตฟาน ดูจาร์ริค โฆษกยูเอ็นกล่าวในวันจันทร์ด้วยว่า การเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้วนั้น “ผู้สังเกตการณ์จากนานาชาติและจากภายในประเทศเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นการลงคะแนนที่มีเสรีภาพและความยุติธรรมจริง” และว่า “องค์การสหประชาชาติยังคงมีความกังวลอย่างมากต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นในเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเหตุพลัดถิ่นของประชาชน อันมีผลกระทบอย่างหนักต่อพลเรือนที่มีความเสี่ยงทั้งหลาย รวมทั้งกระทบประชาชนที่เป็นสตรีมากกว่าประชาชนกลุ่มอื่นด้วย”

FILE - In this June 20, 2017, file photo, United Nations spokesman Stephane Dujarric fields questions for U.N. Secretary-General Antonio Guterres, March 19, 2021.
FILE - In this June 20, 2017, file photo, United Nations spokesman Stephane Dujarric fields questions for U.N. Secretary-General Antonio Guterres, March 19, 2021.

นอกจากนั้น มาร์ติน กริฟฟิธ หัวหน้าคณะทำงานด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของยูเอ็น เปิดเผยว่า ความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงความช่วยเหลือที่นำส่งเข้าเมียนมานั้น “เป็นไปอย่างจำกัดมาก” เนื่องจาก “อุปสรรคด้านระบบราชการ” ที่กองทัพเมียนมาประกาศบังคับใช้

ข้อมูลจากยูเอ็นแสดงให้เห็นว่า ก่อนการก่อรัฐประหารเมื่อต้นปีนั้น มีประชาชนในเมียนมาราว 1 ล้านคนที่อยู่ในภาวะยากแค้นและต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวได้พุ่งขึ้นมาถึงระดับ 3 ล้านคนแล้ว ขณะที่ ผู้คนนับแสนถูกบีบบังคับให้ละทิ้งบ้านเรือนเพื่อเอาชีวิตรอด นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบมากมายหลังการเลือกตั้ง

และขณะที่ โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของยูเอ็นนั้นอยู่ในภาวะขาดแคลนเงินทุนหนักถึงราว 200 ล้านดอลลาร์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เรียกประชุมนัดพิเศษในวันจันทร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา ตามคำร้องขอจากอังกฤษแล้ว

XS
SM
MD
LG