ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้ป่วยรับปลูกถ่ายหัวใจหมูรายแรกเสียชีวิตแล้ว


FILE - David Bennett Jr., right, stands next to his father's hospital bed in Baltimore, Md., Jan. 12, 2022, in this photo provided by the University of Maryland School of Medicine.
FILE - David Bennett Jr., right, stands next to his father's hospital bed in Baltimore, Md., Jan. 12, 2022, in this photo provided by the University of Maryland School of Medicine.

นายเดวิด เบนเนตต์ ชายวัย 57 ปี เสียชีวิตเมื่อวันอังคาร หลังจากที่เขาเป็นผู้ป่วยรายแรกที่รับการปลูกถ่ายหัวใจจากหมูเเมื่อสองเดือนที่แล้ว ตามการเปิดเผยของวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันพุธ

แพทย์ไม่ได้ระบุสาเหตุการเสียชีวิตของนายเบนเนตต์ โดยระบุเพียงว่า อาการของเขาทรุดลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

นายเดวิด เบนเนตต์ จูเนียร์ บุตรชายของเขา ระบุในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมรีแลนด์ (University of Maryland) ว่า พวกเขารู้สึกซาบซึ้งต่อนวัตกรรมและความพยายามทั้งหมดในการช่วยเหลือพ่อของเขา และพวกเขาหวังว่า การปลูกถ่ายครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความหวัง และไม่ใช่จุดสิ้นสุดแต่อย่างใด

ก่อนที่นายเบนเนตต์จะเข้ารับการปลูกถ่ายเมื่อวันที่ 7 มกราคมนั้น เขามีสุขภาพย่ำแย่และไม่สามารถรับการปลูกถ่ายหัวใจมนุษย์ได้

ทั้งนี้ การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์มักล้มเหลวเนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่ตอบรับอวัยวะดังกล่าวแทบจะทันที แต่ในกรณีนี้ หมูถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมด้วยหน่วยพันธุกรรมของมนุษย์ เพื่อชะลอการปฏิเสธอวัยวะของร่างกาย

FILE - Members of the surgical team show the pig heart for transplant into patient David Bennett in Baltimore, Jan. 7, 2022, in this photo provided by the University of Maryland School of Medicine.
FILE - Members of the surgical team show the pig heart for transplant into patient David Bennett in Baltimore, Jan. 7, 2022, in this photo provided by the University of Maryland School of Medicine.

เขามีอาการดีขึ้นในช่วงระยะแรก โดยเมื่อเดือนที่แล้ว โรงพยาบาลเผยแพร่คลิปวิดีโอที่เขาดูการแข่งขันซูเปอร์โบว์ลจากเตียงโรงพยาบาล

ดร. บาร์ทลีย์ กริฟฟิธ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดนายเบนเนตต์ ระบุในแถลงการณ์ว่า พวกเขารู้สึกเสียใจต่อการจากไปของนายเบนเนตต์ ผู้พิสูจน์แล้วว่าเขาเป็นผู้ป่วยที่กล้าหาญและต่อสู้จนถึงวาระสุดท้าย

นายเบนเนตต์ มีอายุยืนยาวกว่าผู้ป่วยอีกคนหนึ่งในกรณีที่คล้ายกันเมื่อปีค.ศ. 1984 ที่เด็กทารกคนหนึ่งได้รับการปลูกถ่ายหัวใจจากลิงบาบูน และมีชีวิตในอีก 21 วันต่อมา

ดร. มูฮัมหมัด เอ็ม โมฮิอุดดิน ศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมและผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ โครงการปลูกถ่ายหัวใจสัตว์ให้แก่มนุษย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมรีแลนด์ ระบุว่า กรณีของนายเบนเนตต์ทำให้แพทย์ได้ความรู้ใหม่ว่า หัวใจหมูที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรมแล้วสามารถทำงานได้ดีในร่างกายมนุษย์ ขณะที่ภูมิคุ้มกันร่างกายถูกกดต่ำลง โดยทางคณะแพทย์วางแผนทดลองทางคลินิกในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ มีผู้รอรับบริจาคอวัยวะกว่า 106,000 คนในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว มีการปลูกถ่ายอวัยวะกว่า 41,000 ครั้ง โดยเป็นการปลูกถ่ายหัวใจ 3,800 ครั้ง

  • ข้อมูลบางส่วนจากเอพี
XS
SM
MD
LG