ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แพทย์สหรัฐฯ ปลูกถ่ายไตหมูสู่ร่างกายมนุษย์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก


Pig kidney transplant success.
Pig kidney transplant success.
Kidney Transplant Pig Human
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:42 0:00


นับเป็นครั้งแรกที่แพทย์ในสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะไตของหมูสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้ ผลลัพธ์เห็นได้จากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยไม่มีปฏิกิริยาการปฏิเสธอวัยวะของหมู สิ่งนี้อาจเปิดหนทางใหม่ให้แก่ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากที่ต้องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในอนาคต

การปลูกถ่ายครั้งนี้เกิดขึ้นที่โรงพยาบาล NYU Langone Health ในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ โดยแพทย์ใช้อวัยวะของหมูที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อไม่ให้ผลิตโมเลกุลที่ร่างกายมนุษย์มักจะปฏิเสธ

ทางแพทย์ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา จรรยาบรรณแพทย์และนักกฎหมาย ก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากครอบครัวของผู้ป่วยให้ลงมือผ่าตัดและปลูกถ่ายไต เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้ใส่เครื่องช่วยหายใจและมีภาวะสมองตายควบคู่กับสัญญาณการทำงานของไตที่ผิดปกติ

แพทย์ทำการปลูกถ่ายไตโดยการต่ออวัยวะไตของหมูเข้ากับเส้นเลือดของผู้ป่วย ไตของหมูที่นำมาปลูกถ่ายนั้นอยู่นอกร่างกายผู้ป่วยเป็นเวลาถึงสามวันเพื่อให้นักวิจัยสามารถศึกษาและติดตามอาการได้อย่างละเอียด

A genetically engineered pig kidney appears healthy during a transplant operation at NYU Langone in New York, U.S., in this undated handout photo.
A genetically engineered pig kidney appears healthy during a transplant operation at NYU Langone in New York, U.S., in this undated handout photo.

ดร. โรเบิร์ต มอนกอแมรี่ซึ่งเป็นหัวหน้าการค้นคว้าวิจัยและการผ่าตัดบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “ทุกอย่างดูเป็นปกติ” และไตที่นำมาปลูกถ่ายนั้นสามารถผลิตปัสสาวะได้ในระดับที่เหมือนกับไตของมนุษย์ที่แพทย์มักนำมาใช้เวลาปลูกถ่าย ทั้งนี้ ค่าครีเอตินิน (Creatinine) ซึ่งเป็นค่าการทำงานของไตที่เคยสูงก็กลับลดลงมาอยู่ในระดับปกติอีกด้วย

ตามรายงานสำนักข่าวรอยเตอร์ นักวิจัยพยายามาหลายสิบปีเพื่อที่จะปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คนให้สำเร็จ แต่ก็มักล้มเหลวเนื่องจากร่างกายมนุษย์จะทำการปฏิเสธอวัยวะของสัตว์ที่นำมาใช้เพื่อปลูกถ่ายโดยทันที ทีมของดร. มอนกอแมรี่จึงคิดทฤษฏีขึ้นว่าใช้อวัยวะจากหมูที่มีการตัดต่อพันธุ์กรรมแทนหมูทั่วไป โดยหมูพันธุ์นี้คือพันธุ์ GalSafe นั้นจะไม่มีโมโลกุลน้ำตาลที่ชื่อว่า alpha-gal ที่ร่างกายมนุษญ์มักจะปฏิเสธ

หมูพันธุ์ GalSafe นั้นถูกคิดค้นและตัดแต่งพันธุกรรมโดยบริษัท Revivicor ของสหรัฐฯซึ่งหมูพันธุ์ดังกล่าวได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ในปลายปี 2020 ให้สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์และการบริโภคสำหรับผู้ที่แพ้เนื้อทั่วไปได้

สมาคม United Network for Organ Sharing ในสหรัฐฯระบุมีผู้คนเกือบ 107,000 คนต้องการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยจากยอดดังกล่าว ผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายไตมีถึง 90,000 และระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการรอไตเพื่อมาปลูกถ่ายนั้นก็จะอยู่ที่ราว 3 ถึง 5 ปี

ดร. มอนกอแมรี่ กล่าวด้วยว่า การปลูกถ่ายไตที่สำเร็จครั้งนี้ถือเป็นการเปิดทางให้เกิดการทดลองใหม่ๆสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย โดยในอนาคตประมาณ 1 หรือ 2 ปีข้างหน้า ไตของหมูอาจถูกนำมาใช้เพื่อเป็นยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยจนกว่าไตของมนุษย์จะมาถึงและทำการเปลี่ยนถ่ายให้ผู้ป่วยได้ หรือไตของหมูนั้นอาจสามารถนำมาแทนไตมนุษย์ได้ตลอดไปเลย

สุดท้ายนี้ นักวิจัยก็กำลังค้นคว้าความเป็นไปได้ที่จะนำเอาอวัยวะส่วนอื่นๆ ของหมูที่ถูกตัดต่อพันธุกรรม เช่น หัวใจ หรือ ผิวหนัง มาพัฒนาและปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย

(ที่มา สำนักข่าวรอยเตอร์)

XS
SM
MD
LG