ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จิ๋วแจ๋ว! นักวิทยาศาสตร์คิดค้น 'ดาวเทียมจิ๋ว' บรรทุกห้องทดลองอวกาศขนาดเท่า 'กล่องกระดาษทิชชู่'


ดาวเทียมขนาดจิ๋วบรรทุกห้องทดลองอวกาศขนาดเท่ากล่องกระดาษทิชชู่
please wait

No media source currently available

0:00 0:01:46 0:00

ดาวเทียมขนาดจิ๋วบรรทุกห้องทดลองอวกาศขนาดเท่ากล่องกระดาษทิชชู่

ห้องทดลองอวกาศขนาดจิ๋วจะโคจรรอบโลกเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เช่าทำการทดลองในสภาพไร้น้ำหนัก

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:18 0:00

ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กที่โคจรอยู่รอบโลก เป็นวิธีใหม่สำหรับนักวิจัยในการทำงานในห้วงอวกาศ

ในสภาพที่ปราศจากเเรงดึงดูดของโลก เซลล์และโมเลกุลทำงานเเตกต่างไปจากปกติ สภาพไร้เเรงโน้มถ่วงนี้เอื้อให้นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ ได้ในหลายด้านตั้งแต่ทางการเเพทย์ไปจนถึงด้านการเกษตรกรรม

โดยปกติเเล้ว การค้นคว้าวิจัยดังกล่าวจะดำเนินการบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือทดลองบนเครื่องบินพาราโบลิกที่บินเเบบฟรีฟอลเพียงชั่วครู่ เพื่อสร้างสภาพไร้น้ำหนัก

ห้องทดลองดาวเทียมขนาดจิ๋วนี้คิดค้นเเละสร้างโดย SpacePharma บริษัทสัญชาติอิสราเอล - สวิส และช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการทำงานวิจัย

Yossi Yamin ผู้ก่อตั้งบริษัท SpacePharma กล่าวว่า SpacePharma เป็นผู้สร้างดาวเทียมห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อการค้าดวงเเรกในโลกขึ้น ซึ่งให้บริการเเก่ลูกค้าจากทั่วโลกได้ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ช่วยให้ลูกค้าทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบเอาไว้ในสภาพไร้น้ำหนัก โดยไม่มีนักวิทยาศาสตร์ นักอวกาศ หรือหน่วยงานสำรวจอวกาศเข้ามาเกี่ยวข้อง

เขาชี้ว่านี่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทางบริษัทนำออกมาสู่ตลาดเพื่อช่วยพัฒนายารักษาโรคที่ดีขึ้น ทำการวิจัยที่ดีกว่าเดิม และช่วยส่งเสริมการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิมเเก่มนุษย์

Yossi Yamin กล่าวว่าทางบริษัทได้ติดตั้งซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์ของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าป้อนข้อมูลเกี่ยวกับการทดลอง ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดขั้นตอนการทดลองและวิธีการทดลอง และลูกค้าจะได้รับข้อมูลและภาพจากห้องทดลองอวกาศ โดยสามารถกำหนดให้มีการทดลองได้หลายครั้งเพื่อทดสอบปฏิกริยาเเบบต่างๆ

ในขณะนี้ ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ดาวเทียมขนาดจิ๋วนี้ สามารถบรรทุกการทดลองได้ 4 การทดลอง

และในปีหน้า ทางบริษัท SpacePharma หวังว่าจะสามารถส่งดาวเทียมห้องทดลองขึ้นไปโคจรได้อีกหลายดวง โดยเเต่ละดวงจะสามารถบรรทุกการทดลองได้ถึงลำละ 160 การทดลอง

(รายงานโดย Deborah Block / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG