ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหประชาชาติชี้ว่าผู้ลี้ภัยทางเรือในเอเชียมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากพม่าและบังคลาเทศ


please wait

No media source currently available

0:00 0:03:25 0:00
Direct link

รายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติระบุว่า ช่วงตั้งแต่เดือน มิ.ยปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย ปีนี้ มีผู้ลี้ภัยทางเรือจากบริเวณพรมแดนระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ มากกว่า 53,000 คน เพิ่มขึ้น 60% จากปีก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังบริเวณชายแดนไทยติดกับมาเลเซีย หรือไปไกลถึงอินโดนีเซียและออสเตรเลีย

คุณ Chris Lewa นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงจะในรัฐยะไข่ของพม่า ชี้ว่ามีชาวโรฮิงจะจำนวนมากขึ้นที่ยอมไปตายดาบหน้าด้วยการเสี่ยงชีวิตในทะเล มากกว่าจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในพม่า และว่าสถานการณ์ลักษณะนี้คงไม่จบลงง่ายๆ และจะยืดเยื้อต่อไปอีกนาน เธอยังระบุด้วยว่าตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค ดูเหมือนเริ่มมีเรือบรรทุกผู้ลี้ภัยอีกหลายลำที่มุ่งหน้าออกสู่ทะเลในจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฤดูแห่งการอพยพลี้ภัยทางเรือกำลังมาถึงอีกครั้ง

ชาวโรฮิงจะในพม่าจำนวนมากเริ่มอพยพหนีความรุนแรงออกจากรัฐยะไข่หลังเกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 280 คน ไร้ที่อยู่อาศัยอีกราว 140,000 คน


รายงานของสหประชาชาติชี้ว่าช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ลี้ภัยเสียชีวิตในทะเลไปแล้วราว 200 คน และมากกว่า 7,000 คนถูกจับกุมอยู่ตามศูนย์กักกันผู้ลี้ภัยในหลายประเทศ

ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างมีมาตรการหลายอย่างในการรับมือหรือจัดการกับผู้ลี้ภัยทางเรือ ออสเตรเลียได้ประกาศนโยบายที่กันไม่ให้ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นเข้ามาถึงชายฝั่ง เช่นการส่งเรือไปสกัดกั้นกลางทะเล หรือการกักตัวผู้ลี้ภัยเหล่านั้นไว้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยนอกชายฝั่ง ซึ่งรายงานจากผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่าสภาพในค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านั้นย่ำแย่มาก

คุณ Chris Lewa ระบุว่า สิ่งที่บรรดาผู้ลี้ภัยเหล่านั้นต้องเชิญ นอกจากความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในบ้านเกิดของพวกเขาเองแล้ว ยังมีหลายคนที่ถูกขบวนการลักลอบค้ามนุษย์หลอกลวงนำไปเป็นทาสสมัยใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาการตอบสนองของรัฐบาลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังน้อยเกินไป นักสิทธิมนุษยชนผู้นี้ชี้ว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือผู้ลี้ภัยทางเรือชาวโรฮิงจะซึ่งถูกจับกุมในประเทศอื่น เช่น มาเลเซียและไทย ไม่สามารถได้รับการปกป้องใดๆ หรือไม่อาจหันหน้าไปพึ่งใครได้ คนเหล่านี้กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์จากนี้

รายงานจาก Ron Corben ผู้สื่อข่าว VOA ประจำกรุงเทพฯ / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG