ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ฟิลิปปินส์เตรียมเสนอศาลโลกชี้ขาดความถูกต้องคำกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้


Activists hold a protest in front of the Chinese Consular Office in Manila as the country commemorates the 117th anniversary of the Philippines' declaration of independence from Spain, June 12, 2015.
Activists hold a protest in front of the Chinese Consular Office in Manila as the country commemorates the 117th anniversary of the Philippines' declaration of independence from Spain, June 12, 2015.

ความสำคัญของคดีนี้คือเป็นการทดสอบทางกฏหมายต่อจุดยืนของจีน แต่ก็จะไม่มีผลบังคับหรือบทลงโทษแต่อย่างใด

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00
Direct link

สัปดาห์นี้คณะผู้ทำงานด้านกฏหมายของฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ จะพยายามโน้มน้าวให้คณะอนุญาโตตุลาการของศาลโลกที่กรุงเฮก ตัดสินใจในกรณีที่ฟิลิปปินส์ยื่นคำร้องให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้

ก่อนเดินทาง คณะกฏหมายของฟิลิปปินส์กล่าวแสดงความม่ั่นใจว่าคณะอณุญาโตตุลาการจะตัดสินให้ฟิลิปปินส์มีสิทธิชอบธรรมในกรณีนี้

Demonstrators, carrying a boat, rally outside the Chinese Consulate at the financial district of Makati city, east of Manila, Philippines, to protest China's reclamations of disputed islands off South China Sea, July 3, 2015. The reclamations have straine
Demonstrators, carrying a boat, rally outside the Chinese Consulate at the financial district of Makati city, east of Manila, Philippines, to protest China's reclamations of disputed islands off South China Sea, July 3, 2015. The reclamations have straine

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ Charles Jose' กล่าวว่าสิ่งที่ฟิลิปปินส์นำเสนอต่อคณะอนุญาโตตุลาการ คือข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทางทะเล และว่าสำหรับฟิลิปปินส์ กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องของอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน แต่เป็นไปตามกฏหมายและข้อบังคับทางทะเล ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจการตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการชุดนี้

ฟิลิปปินส์กล่าวหาว่าการที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้นั้น "มากเกินไป กว้างขวางเกินไป และไม่เป็นไปตามกฏหมายระหว่างประเทศ" หลังจากที่จีนใช้แผนที่จุดไข่ปลาและข้อมูลในอดีต ในการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำและหมู่เกาะซึ่งฟิลิปปินส์บอกว่าอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษของฟิลิปปินส์ จนก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

จีนมิได้ส่งผู้แทนไปกรุงเฮกในสัปดาห์นี้ เนื่องจากที่ผ่านมาจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาของฟิลิปปินส์และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการพิจารณาคดี และเมื่อสัปดาหที่แล้วรัฐบาลจีนยังบอกด้วยว่า ฟิลิปปินส์กำลังพยายามยั่วยุทางการเมือง นอกจากนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว จีนยังได้เปิดเผยเอกสารยืนยันจุดยืนของจีนว่า เรื่องนี้อยู่นอกเหนืออำนาจการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการชุดนี้

Satellite image of what is claimed to be an under-construction airstrip at Fiery Cross Reef in the Spratly islands in the disputed South China Sea. Web Screemshot theguardian.com
Satellite image of what is claimed to be an under-construction airstrip at Fiery Cross Reef in the Spratly islands in the disputed South China Sea. Web Screemshot theguardian.com

อาจารย์ Carl Thayer นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจาก University of New South Wales ให้ความเห็นว่ายังคงมีคำถามมากมาย เช่น คณะอนุญาโตตุลาการจะกล้ามีคำตัดสินในประเด็นสำคัญนี้หรือไม่? หรือจะผลักดันเรื่องนี้จนถึงที่สุดหรือไม่? หรือจะตัดสินเอนเอียงไปทางฟิลิปปินส์หรือจีนหรือเปล่า?

นักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า ความสำคัญของคดีนี้คือเป็นการทดสอบทางกฏหมายต่อจุดยืนของจีน ถึงกระนั้นแม้ทางอนุญาโตตุลาการจะมีคำตัดสินซึ่งมีข้อผูกพันทางกฏหมาย แต่ก็จะไม่มีผลบังคับหรือบทลงโทษแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าว Simone Orendain รายงานจากกรุงมะนิลา / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG