ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ไขมันอิ่มตัวทำให้สมองเสื่อมลงในการทำความเข้าใจรับรู้ และมีความทรงจำเลวลง วิธีแก้ให้เลือกรับประทานไขมันที่ดีแทนที่


แม้นักวิจัยยังอธิบายไม่ได้ว่า ไขมันที่ไม่ดีเข้าไปทำปฏิกิริยาอย่างไรกับการทำงานของสมอง แต่ยืนยันว่า ผลการวิจัยบ่งชี้ถึงผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของผู้คน และว่า เพียงแต่เลือกรับประทานไขมันที่ดีแทนไขมันที่ไม่ดี ก็สามารถป้องกันการเสื่อมความทรงจำและความรู้ความเข้าใจได้ ซึ่งอาจหมายถึงการป้องกันหรือการชลอโรคสมองเสื่อมและโรคสมองฝ่อ หรือ Alzheimer’s ได้ด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ไขมันอิ่มตัว หรือ saturated fats หรือ trans fats เป็นไขมันไม่ดี และเป็นอันตรายต่อหัวใจได้ แต่ผลการศึกษาล่าสุดของ โรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital ในนครบอสตัน ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา ระบุว่า ไขมันประเภทนี้ ยังเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองในด้านการทำความเข้าใจรับรู้และความทรงจำด้วย

ผลการศึกษานี้ มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาผู้หญิง 6,000 คน ทุกคนอายุมากกว่า 65 ปี และมีการทดสอบผู้หญิงเหล่านี้ทางด้านการทำความเข้าใจรับรู้และความทรงจำ 3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกันสองปี ในช่วงเวลาทั้งหมด 4 ปีด้วยกัน

จิตแพทย์หญิง Olivia Okereke หัวหน้าทีมวิจัย และเป็นผู้เขียนรายงาน บอกว่า เท่าที่พบเห็นในการศึกษาวิจัยนี้ คือปริมาณไขมันทั้งหมดที่รับประทานนั้น ไม่เป็นปัญหา แต่ที่เป็นปัญหาคือ ประเภทของไขมัน

นักวิจัยผู้นี้อธิบายว่า ผลการทดสอบในผู้หญิงที่รับประทานไขมันอิ่มตัวจำนวนมากที่สุด เปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานไขมันประเภทนี้น้อยที่สุดแล้ว ปรากฏว่ากลุ่มแรกได้คะแนนต่ำกว่ามาก

ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันสัตว์ และมาจากอาหาร เช่น เนื้อแดง และเนย

ส่วนผู้หญิงที่ทำคะแนนดีที่สุด คือผู้ที่รับประทานไขมันไม่อิ่มตัว หรือ mono-unsaturated fats อยู่ในอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก ถั่ว และผลไม้

นักวิจัยยังอธิบายไม่ได้ว่า ไขมันที่ไม่ดีเข้าไปทำปฏิกิริยาอย่างไรกับการทำงานของสมอง แต่ยืนยันว่า ผลการวิจัยบ่งชี้ถึงผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของผู้คน และว่า เพียงแต่เลือกรับประทานไขมันที่ดีแทนไขมันที่ไม่ดี ก็สามารถป้องกันการเสื่อมความทรงจำและความรู้ความเข้าใจได้ ซึ่งอาจหมายถึงการป้องกันหรือการชลอโรคสมองเสื่อมและโรคสมองฝ่อ หรือ Alzheimer’s ได้ด้วย

รายงานเรื่องนี้ตีพิมพ์ออนไลน์แล้วใน Annals of Neurology ซึ่งเป็นวารสารของ American Neurological Association และ Child Neurology Society

XS
SM
MD
LG