ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยชี้ดีเอ็นเอช้างอาจช่วยไขปริศนาการรักษาโรคมะเร็ง


Commuters stop their vehicles and watch a wild male elephant, who got separated from his herd, cross a highway on the outskirts of Gauhati, India, Thursday, Aug. 20, 2015.
Commuters stop their vehicles and watch a wild male elephant, who got separated from his herd, cross a highway on the outskirts of Gauhati, India, Thursday, Aug. 20, 2015.

ช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่หยุดเซลล์มะเร็งมากกว่ามนุษย์ถึง 20 เท่า และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิธีต้านมะเร็งในมนุษย์

ตามปกติสัตว์ขนาดใหญ่มีจำนวนเซลล์มากกว่าสัตว์พันธุ์ที่เล็กกว่า โอกาสที่เซลล์จะเกิดความผิดปกติจึงมีมากกว่าตามสัดส่วนของจำนวนเซลล์ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโรคมะเร็งในช้างซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ พวกเขาแปลกใจว่าเหตุใดช้างจึงมีความเสี่ยงน้อยกว่ามนุษย์มากต่อการเป็นมะเร็ง คือเพียงแค่ร้อยละ 5 เท่านั้น เทียบกับร้อยละ 11 ถึง 25 ในมนุษย์

นักวิจัยพบว่าช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่ชื่อ p53 ซึ่งสามารถระงับการเกิดมะเร็งได้ จำนวน 20 หน่วยพันธุกรรม ส่วนมนุษย์นั้นมียีน p53 เพียงแค่หน่วยเดียวเท่านั้น

Wendy Kiso นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ช้าง จาก Ringling Brothers Center for Elephant Conservation เขียนหนังสือเกี่ยวกับการทำงานของหน่วยพันธุกรรมนี้ในช้าง เธอและผู้ร่วมงานที่มหาวิทยาลัย Utah และที่สวนสัตว์ Hogel ในสหรัฐฯ ศึกษาเซลล์เม็ดเลือดขาวของช้างเอเชีย ที่นำมาเปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์

Wendy Kiso กล่าวว่านักวิจัยในทีมของเธอดูว่าเซลล์ของช้างเอเชียเหล่านี้มีปฏิกิริยาตอบรับอย่างไร เมื่อถูกฉายรังสีที่ตามปกติจะเป็นการกระตุ้นในเกิดมะเร็ง วิธีนี้ผู้วิจัยสามารถรู้ถึงการทำงานของหน่วยพันธุกรรม p53 อย่างใกล้ชิด

An Indian forest official rides an elephant and pulls the carcass of a female one-horned rhino killed in the recent flood situation in northeastern state of Assam, at Pobitora Wildlife Sanctuary, about 55 kilometers (34 miles) east of Gauhati, India, Sund
An Indian forest official rides an elephant and pulls the carcass of a female one-horned rhino killed in the recent flood situation in northeastern state of Assam, at Pobitora Wildlife Sanctuary, about 55 kilometers (34 miles) east of Gauhati, India, Sund

คณะผู้ทดลองพบว่ายีน p53 ช่วยให้เซลล์ที่มีความเสี่ยงเป็นเซลล์มะเร็งลดลงสองเท่า เพราะสามารถหยุดยั้งความผิดปกติไม่ให้พัฒนาต่อไปในทางที่อันตราย

การค้นพบจากงานวิจัยนี้อาจสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรค Le-Fraumeni Syndrome ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยที่มาจากพันธุกรรม ซึ่งทำให้เด็กที่เกิดมาพร้อมกับโรคนี้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งถึงร้อยละ 90

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง Joshau Schiffman จากสถาบัน Huntsman Cancer Institute ที่มหาวิทยาลัย Utah ที่ร่วมค้นคว้าในงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า ขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกกำลังพยายามศึกษาว่าจะใช้ประโยชน์จากหน่วยพันธุกรรม p53 ในช้างต่อมนุษย์ในด้านใดได้บ้าง

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าควรมีการศึกษาเพิ่มติมต่อในหัวข้อนี้ในอนาคต และตั้งข้อสังเกตว่า หากช้างไม่มียีน p53 มากมายอย่างที่เป็นอยู่ เผ่าพันธุ์ของมันน่าจะสูญพันธุ์จากโลกนี้ไปเรียบร้อยแล้ว

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Journal of American Medical Association

(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG