ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไทยพร้อมประสานนานาชาติในเชิงรุกร่วมแก้วิกฤตการณ์แพร่ระบาดไวรัสอีโบลา


ไทยพร้อมร่วมมือนานาชาติหยุดวิกฤตการณ์ไวรัสอีโบล่า
please wait

No media source currently available

0:00 0:07:30 0:00

ไทยพร้อมร่วมมือนานาชาติหยุดวิกฤตการณ์ไวรัสอีโบล่า

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:21 0:00
Direct link

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยเดินทางร่วมเวทีการประชุมระดับนานาชาติภายใต้กรอบความร่วมมือความมั่นคงทาง­สาธารณสุข หรือ Global Health Security Agenda ที่กรุงวอชิงตัน และย้ำว่าไทยจะมุ่งจะเข้าไปมีบทบาทในเชิงรุกร่วมกับนานาชาติเพื่อยุติการแพร่ระบาดของเชื้­อไวรัสอีโบล่าอย่างเร่งด่วน

นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ขึ้นกล่าวเรียกร้องให้ตัวแทนกว่า 44 ประเทศ ที่เข้าร่วมเวทีการประชุมระดับนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือความมั่นคงทางสาธารณสุข หรือ Global Health Security Agenda ที่กรุงวอชิงตันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ร่วมมือกันยุติปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าโดยเร็วที่สุด

ผู้นำสหรัฐกล่าวย้ำว่า ทั่วโลกต้องเปลี่ยนความเชื่อแบบเก่าและเริ่มต้นตระหนักว่าปัญหาการภัยคุกคามทางชีวภาพของนั้น ถือเป็นภัยคุกคามเดียวกันกับภัยด้านความมั่นคง ด้านมนุษยธรรม และด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกันทุกทุกวิถีทางเพื่อยุติภัยคุกคามจากเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ WHO ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3 พันราย และติดเชื้อนับหมื่นราย

การประชุมกรอบความร่วมมือความมั่นคงทางสาธารณสุขในครั้งนี้ มีศาสตราจารย์ รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนของไทย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเพื่อเร่งแก้ไขวิกฤตการณ์ภัยคุกคามด้านสุขภาพในครั้งนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ ภาคภาษาไทย หลังการประชุมว่า นอกจากจะให้ส่งข้าวไปช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ยังเตรียมเสนอความช่วยเหลืออื่นๆเพิ่มเติม ทั้งในรูปแบบงบประมาณ ทั้งงบประมาณของภาครัฐ หรือการรับบริจาคจากประชาชนชาวไทยที่ต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งเวชภัณฑ์ต่างๆที่ไทยมีความพร้อม นอกจากนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะส่งอาสาสมัครทางการแพทย์ของไทย เพื่อมีส่วนร่วมกับนานาประเทศในความร่วมมือครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของโลก

แม้โรคอีโบลาจะยังไม่มีตัวยาที่ใช้รักษาโดยตรง และผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตในอัตราค่อนข้างสูง แต่แนวทางการรักษายังคงมีโอกาสและความหวัง

นพ.Melvin KorKor ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่าระหว่างการรักษาผู้ป่วยในไลบีเรียแต่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจนหายขาด ยืนยันว่า หากผู้ติดเชื้อเตรียมการป้องกันและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็สามารถรักษาให้หายได้เหมือนที่เขาพิสูจน์มาแล้ว

นพ.Keiji Fukuda ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก บอกว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะบอกให้ทุกคนทราบว่าโรคอีโบล่าสามารถรักษาให้หายได้

อุปกรณ์ที่ทันสมัย บุคลากรจากทั่วโลก และความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมครั้งใหญ่กำลังจะเดินทางไปถึงพื้นที่แอฟริกาตะวันตกโดยเร็วที่สุดนับจากนี้ จากความร่วมมือครั้งสำคัญของตัวแทนประเทศทั้ง 44 ประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือความมั่นคงทางสาธารณสุข หรือ Global Health Security Agenda ที่จะจัดการกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่าให้อยู่ในวงจำกัดและลดลงโดยเร็ว ขณะเดียวกันความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นความคาดหวังที่จะกลายเป็นต้นแบบของการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาและสร้างระบบสุขภาพอนามัยของโลกให้ที่แข็งแกร่งและมั่นคงมากขึ้น

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG