ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลดาวเทียมพยากรณ์การระบาดของโรคล่วงหน้า


Scientists are using orbiting satellites to detect conditions that lead to disease outbreaks. (NASA/Goddard Space Flight Center)
Scientists are using orbiting satellites to detect conditions that lead to disease outbreaks. (NASA/Goddard Space Flight Center)

นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบและโรคอื่นๆ ได้ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม

คุณ Carlos Perez Garcia-Pando นักวิทยาศาสตร์ด้านชั้นบรรยากาศโลกแห่งองค์การสำรวจอวกาศแห่งสหรัฐหรือ NASA กล่าวว่า ทุกปี จะมีพายุฝุ่นหลายลูกพัดผ่านเขตที่เรียกว่า Sahel ในทวีปแอฟริกาและจะมีการระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดขึ้นทุกครั้งที่หลังจากพายุฝุ่นเหล่านั้นพัดผ่านไป

ทั่วเขตที่เรียกว่า Sahel ที่เริ่มจากประเทศเซเนกัลไปจนถึงประเทศเอธิโอเปีย จะมีคนติดเชื้อโรคนี้ถึงปีละหนึ่งหมื่นคน เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเพียงพอในการฉีดให้แก่ประชาชนทุกคนใน 21 ประเทศแอฟริกาตะวันตก คุณ Perez Garcia-Pando กล่าวว่าจะมีประโยชน์มากหากสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดการระบาดของโรคเมื่อใดและที่ใหน

นี่ทำให้ทีมงานวิจัยของเขาเริ่มพัฒนาระบบที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมที่วัดปริมาณฝุ่น ลมและความชี้นที่พัดผ่านเขตระบาดของโรคและเมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณกับตัวเลขผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ในตอนสิ้นปี ทีมนักวิจัยพบว่าพวกเขาสามารถพยากรณ์ได้ว่าการระบาดของโรคในฤดูต่อไปจะเลวร้ายแค่ไหน

คุณ Nita Bharti ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Penn State University กล่าวว่าตนเองสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดการระบาดของโรคหัดเมื่อไหร่ด้วยการดูภาพถ่ายทางดาวเทียมที่เเสดงความสว่างไสวของแสงไฟในเมือง

คุณ Bharti กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับแสงไฟในเมืองนั้นๆ แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นหรือการลดลงของกิจกรรมของมนุษย์ในช่วงนั้นซึ่งเป็นปัจจัยของการระบาดของโรคหัด

ด้านคุณ Rita Colwell ผู้เชี่ยวชาญด้านอหิวาตกโรคแห่ง University of Maryland กล่าวว่าดาวเทียมกลายเป็นเครื่องมือทางการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก

คุณ Colwell และทีมนักวิจัยพบว่าสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเกี่ยวกับสภาพต่างๆ ของอ่าวเบงกอลในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดการระบาดของอหิวาตกโรคในบังคลาเทศขึ้นเมื่อใด

รายงานโดย Steve Baragona แลเรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว

XS
SM
MD
LG