ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การศึกษาพบว่าปริมาณน้ำฝนมีผลต่อการติดเชื้อในสมองในเด็กทารกที่ยูกันดา


อาการป่วยนี้เรียกว่า ไฮโดรเซฟฟาลัส (Hydrodephalus) เป็นอาการน้ำคั่งในสมองทำให้สมองบวมและศรีษะขยายใหญ่ขึ้น ด็อกเตอร์สตีฟ สคิฟ ผู้อำนวยการแห่งศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท (Center for Neural Engineering) ที่มหาวิทยาลัย เพ็นสเตทยูนิเวอร์ซิตี้ Center for Neural Engineering ที่มหาวิทยาลัยเพ็นสเตทยูนิเวอร์ซิตี้ กล่าวว่า หากไม่ได้รับการรักษา สมองจะถูกทำลายจากอาการอักเสบและผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

ด็อกเตอร์สคิฟ กล่าวว่า ปกติแล้ว รอบๆเนื้อสมองจะมีน้ำไปหล่อเลี้ยงอยู่แล้ว แต่ในปริมาณเล็กน้อย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าร่างกายคนเราผลิตน้ำประมาณหนึ่งถ้วยต่อวันเพื่อทำหน้าที่ชะโลมบนสมองและช่วยกันแรงกระแทก แต่น้ำทุกหยดที่ร่างกายผลิตไปหล่อเลี้ยงบริเวณสมองจะไหลออกไปจากบริเวณศรีษะตามท่อระบายเล็กๆแล้วเพื่อออกไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย

แต่หากมีปัญหาการอุดตันในท่อระบายเล็กๆเหล่านี้ น้ำในสมองจึงระบายไหลออกไปไม่ได้

ด็อกเตอร์สคิฟ กล่าวว่า ในเด็กทารก ปัญหาท่อระบายเล็กในสมองอาจอุดตันเพราะเด็กป่วยจากอาการติดเชื้อหรือเกิดอาการอักเสบ ในบางกรณีอาจเกิดจากอาการเลือกออกในระหว่างคลอดและเลือดไปอุดตันท่อระบายน้ำในสมอง เด็กทารกบางคนเิกิดมาพร้อมอาการที่ท่อระบายน้ำเล็กๆในสมองพัฒนาผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ด็อกเตอร์สคิฟกล่าวว่าการรักษาทั่วไปทำได้ด้วยการสอดท่อเข้าไประบายน้ำที่คั่งในสมองออกไปทางกระเพาะอาหาร ร่างกายจะดูดซึมน้ำที่ระบายออกมานี้แล้วกำจัดทิ้งไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม บางครั้งท่อที่สอดเข้าไประบายน้ำที่คั่งในสมองอาจเกิดการอุดตันเสียเอง ในกรณีนี้ เด็กต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน นำโดยรองศาสตราจารย์เบนจามิน วาร์ฟ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ขึ้นมา ด้วยการใช้กล้องส่องภายในศรีษะแล้วทำการเจาะรูขนาดเล็กเพื่อระบายน้ำที่คั่งในสมองออกมาโดยไม่ใช้ท่อพลาสติกสอดเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ด็อกเตอร์สคิฟกล่าวว่าเทคนิคนี้เป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่

ด็อกเตอร์สคิฟกล่าวว่าเทคนิคใหม่มีประโยชน์มากในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาเร่งด่วนได้ แต่เขากล่าวว่าเทคนิคด้านการผ่าตัดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหาโรคนี้เท่านั้น

เมื่อพบวิธีรักษาอาการน้ำคั่งในสมองแล้ว ทีมวิจัยทำการศึกษาหาสาเหตุว่าทำไมเด็กทารกในยูกันดาจึงป่วยด้วยโรคนี้กันมากในช่วงฤดูฝน ทางทีมงานได้เปรียบเทียบบันทึกจำนวนทารกที่ป่วยด้วยอาการน้ำคั่งในสมองจากโรงพยาบาลยูกันดากับบันทึกรายงานปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่างๆในยูกันดาโดยสำนักงานจัดการด้านทะเลวิทยาและชั้นบรรยากาศโลกแห่งสหรัฐหรือ NOAA

การศึกษาพบว่าในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกในระดับปานกลาง ไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่เกิดความชื้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก เด็กทารกจะป่วยด้วยอาการน้ำคั่งในสมองมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ด็อกเตอร์สคิฟ ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันกล่าวว่าสภาวะอากาศนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อเเบคทีเรียทำให้เด็กติดเชื้อและป่วยด้วยอาการน้ำคั่งในสมอง

ด็อกเตอร์สคิฟกล่าวว่าความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กในประเทศอาฟริกาต่างจากสภาพแวดล้อมในประเทศอุตสาหกรรมและนี่เป็นความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และทางสติปัญญาที่ทางทีมงานกำลังร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเพื่อหาทางป้องกัน
XS
SM
MD
LG