ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์เยอรมันสร้างมือเทียม ‘Bionic Hand’ เคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติเหมือนมือจริง


นักวิทยาศาสตร์เยอรมันสร้างกล้ามเนื้อโลหะขึ้นมารองรับมือเทียม
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:08 0:00
Direct link

นักวิทยาศาสตร์เยอรมันสร้างกล้ามเนื้อโลหะขึ้นมารองรับมือเทียม

นวัตกรรมที่เรียกว่า shape memory alloy จะนำไปสู่การสร้างมือเทียมที่สามารถเคลื่อนไหวและทำงานได้อย่างเป็นธรรมชาติคล้ายมือจริง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:03 0:00
Direct link

มือของมนุษย์เราเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุดอย่างหนึ่ง การผลิตมือเทียมให้กับผู้ที่สูญเสียมือจริงไปจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากต้องมีน้ำหนักเบา อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นอย่างมากแล้ว ยังต้องมีความแข็งแรงเพื่อให้สามารถหยิบจับสิ่งของต่างๆ และยังต้องสามารถควบคุมโดยการสั่งงานของเจ้าของมือนั้นได้อย่างสะดวกด้วย

ปัจจุบัน อวัยวะเทียมทั่วไปมักจะใช้ระบบเคลื่อนไหวแบบไฮดรอลิก ระบบไฟฟ้า หรือระบบมอเตอร์หัวฉีดอัดลม เพื่อทำให้อวัยวะเทียมนั้นเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงอวัยวะจริงที่สุด

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Saarland ในเยอรมนี กำลังทดสอบนวัตกรรมที่เชื่อว่าจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นมือเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ไฟเบอร์สน้ำหนักเบาที่สร้างจากโลหะผสมระหว่าง นิกเกิล-ไทเทเนี่ยม ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้เมื่อเชื่อมต่อกับแหล่งไฟฟ้า

คุณ Filomena Simone นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ ม.Saarland กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของมือเทียมหรือ Bionic Hand ที่ตนกำลังพัฒนาอยู่นั้นใช้สายไฟขนาดเล็กเป็นหลัก เมื่อกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะทำให้นิ้วต่างๆ ขยับได้ นอกจากนี้ยังสามารถขยับนิ้วแต่ละนิ้วได้อย่างอิสระ

คุณ Simone บอกว่าการนำสายไฟจิ๋วมาใช้ จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อเทียมและเส้นเอ็นเทียมที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรงได้ นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมความยืดหยุ่นโดยอาศัยแรงเสียดทานไฟฟ้าของสายไฟขนาดเล็กนั้นได้ ทำให้สามารถควบคุมท่วงท่าของมือและนิ้วมือเทียมนี้ได้ด้วยสายไฟขนาดจิ๋วดังกล่าว โดยไม่ต้องติดตัวรับส่งสัญญาณหรือเซนเซอร์เพิ่มแต่อย่างใด

อาจารย์ Stefan Seelecke นักวิทยาศาสตร์ที่ ม.Saarland เชื่อว่านวัตกรรมที่เรียกว่า shape memory alloy นี้ จะนำไปสู่การสร้างมือเทียมที่สามารถเคลื่อนไหวและทำงานได้อย่างเป็นธรรมชาติคล้ายมือจริง และหากมองไปที่แนวทางการพัฒนาอวัยวะเทียมในอนาคต

จะพบว่านักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำให้อวัยวะเทียมนั้นสามารถถูกกระตุ้นและมีความรู้สึกได้เหมือนอวัยวะจริง และสามารถส่งต่อสัญญาณที่ได้รับไปยังแผงควบคุมขนาดเล็กจิ๋วเพื่อส่งสัญญาณกระตุ้นไปยังกล้ามเนื้อได้ต่อไป

สำหรับขั้นตอนต่อไป นักวิทยาศาสตร์ที่ ม.Saarland ที่เยอรมนี จะพยายามหาวิธีทำให้มือเทียมหรือ Bionic Hand ที่ว่านี้ เคลื่อนไหวไปกับกล้ามเนื้อพิเศษที่สร้างขึ้นจากโลหะผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมชาติมากที่สุด

ผู้สื่อข่าว George Putic รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG