ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ข้อพิพาททะเลจีนใต้และ AEC คือประเด็นหลักในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย


From left to right, Singapore's Prime Minister Lee Hsien Loong, Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha, Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, Laos's Prime Minister Thongsing Thammavong, Malaysia's Prime Minister Najib Razak, Myanmar's President Thein Sein, Brunei's Sultan Hassanal Bolkiah, Cambodia's Prime Minister Hun Sen, Indonesia's President Joko Widodo, and Philippine's President Benigno Aquino III join their hands during the plenary session of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, on Monday, April 27, 2015. (AP Photo/Joshua Paul)
From left to right, Singapore's Prime Minister Lee Hsien Loong, Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha, Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, Laos's Prime Minister Thongsing Thammavong, Malaysia's Prime Minister Najib Razak, Myanmar's President Thein Sein, Brunei's Sultan Hassanal Bolkiah, Cambodia's Prime Minister Hun Sen, Indonesia's President Joko Widodo, and Philippine's President Benigno Aquino III join their hands during the plenary session of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, on Monday, April 27, 2015. (AP Photo/Joshua Paul)

นักวิเคราะห์ชี้ปัญหาภายในของประเทศในอาเซียนและความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลักดัน AEC ก้าวไปข้างหน้า

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:15 0:00
Direct link

ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศซึ่งร่วมประชุมในมาเลเซียในสัปดาห์นี้ กำลังหารือเรื่องการเปิดตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปีหน้า รวมทั้งความกังวลเรื่องท่าทีก้าวร้าวของจีนในทะเลจีนใต้และความแตกแยกของอาเซียนในประเด็นดังกล่าว

Malaysia's Prime Minister Najib Razak speaks during the opening ceremony of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, April 27, 2015.
Malaysia's Prime Minister Najib Razak speaks during the opening ceremony of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, April 27, 2015.

ระหว่างการประชุมสุดยอดสมาคมอาเซียนที่มาเลเซียในสัปดาห์นี้ นายกฯ มาเลเซีย Najib Razak กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่าผู้นำอาเซียนพยายามโน้มน้าวให้จีนเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จากการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน เพราะหากเสถียรภาพของอาเซียนสั่นคลอน จะส่งผลกระทบไปถึงจีนอย่างเลี่ยงไมได้

แต่จุดยืนดังกล่าวของอาเซียนกลับถูกตอบโต้ทันทีจากจีน โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน Hong Lei กล่าวว่าจีนมีความกังวลอย่างยิ่งต่อความเห็นของบรรดาผู้นำประเทศอาเซียนที่ร่วมประชุมอยู่ที่มาเลเซีย โฆษก Hong Lei กล่าวว่าจุดยืนของจีนในเรื่องทะเลจีนใต้มีความมั่นคงและชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสมาคมอาเซียน และว่าจีนต้องการแก้ไขข้อพิพาทเรื่องนี้โดยเคารพต่อความจริงทางประวัติศาสตร์และกฏหมายระหว่างประเทศ

เป็นเวลา 13 ปีมาแล้วที่อาเซียนและจีนพยายามจัดทำ Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางจัดการข้อพิพาทเรื่องพื้นที่ทับซ้อน และเพื่อป้องกันผลประโยชน์ด้านดินแดนและเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นมากนัก

นักเศรษฐศาสตร์ไทย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ให้ความเห็นว่าจีนน่าจะดำเนินนโยบายถมพื้นที่และปลูกสิ่งก่อสร้างในแถบทะเลจีนใต้ต่อไป แม้จะถูกต่อต้านจากผู้นำอาเซียนบางประเทศ และเชื่อว่าจีนได้ใช้นโยบายทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เป็นทั้งบทลงโทษและการตบรางวัลสำหรับแต่ละประเทศไปพร้อมๆกัน

รศ.ดร.สมภพ ชี้ว่าจีนได้ประกาศโครงการเส้นทางสายไหมทางทะเลและจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่ AIIB ขึ้น ในขณะเดียวกันก็เคลื่อนไหวรุกล้ำเข้าไปในทะเลจีนใต้อย่างเงียบๆ เรียกได้ว่าเป็นนโยบาย stick and carrot หรือการลงโทษพร้อมไปกับการตบรางวัล ซึ่งเชื่อได้ว่าจีนจะไม่ยอมถอยจากนโยบายดังกล่าวแน่นอน

นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าจุดยืนของจีนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้ ตลอดจนความแตกแยกในสมาคมอาเซียน ระหว่างประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีน เช่นฟิลิปปินส์และเวียดนาม กับประเทศที่ต้องพึ่งพาจีนทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ลาว พม่า และกัมพูชา

ขณะเดียวกันในการประชุมอาเซียนครั้งนี้ ประธานอาเซียนคือมาเลเซียได้เสนอรายงานคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่า ศก.ของอาเซียนปีนี้จะเติบโตเกือบ 5% เนื่องจากปริมาณการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้นมาก และยังคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC แล้ว

ถึงกระนั้น รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมสังเกตการณ์การประชุมอาเซียนครั้งนี้ด้วย เชื่อว่าปัญหาภายในของหลายประเทศในอาเซียน และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลักดันให้ AEC ก้าวไปข้างหน้า


รศ.ดร.ฐิตินันท์ ระบุว่าความท้าทายทางการเมืองภายในพม่า มาเลเซีย และไทยประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมืองและภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของ AEC ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของสมาคมอาเซียนถดถอยลง

นั่นจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับลาว ซึ่งจะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปีหน้า เพราะในด้านหนึ่งลาวต้องพยายามประสานความเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องพึ่งพาจีนซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับหนึ่งในลาวด้วย

ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงเทพฯ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG