ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยสหรัฐ เผยว่าโปรตีนถั่วเหลืองไอโซฟลาโวน ไม่ช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนกับโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยทอง


นักวิจัยสหรัฐ เผยว่าโปรตีนถั่วเหลืองไอโซฟลาโวน ไม่ช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนกับโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยทอง
นักวิจัยสหรัฐ เผยว่าโปรตีนถั่วเหลืองไอโซฟลาโวน ไม่ช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนกับโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยทอง

ทีมนักวิจัยสหรัฐสรุปว่าโปรตีนไอโซฟลาโวนที่พบในถั่วเหลืองไม่ช่วยบรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือนกับโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยทองอย่างที่คาดหวังกันไว้ สร้างความผิดหวังแก่ประชากรวัยทองที่เลือกสารสกัดจากถั่วเหลือแทนการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเพราะกลัวผลข้างเคียงต่ิอสุขภาพหากเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจนนานติดต่อกัน

ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยไมอามี่ ในสหรัฐ เผยผลทดลองในคนว่าโปรตีนถั่วเหลืองไอโซฟลาโวนไม่มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนกับอาการกระดูกพรุนในหญิงวัยทอง

นักวิจัยสรุปผลการศึกษาล่าสุดดังกล่าวหลังจากศึกษาผลของถั่วเหลืองต่อสุขภาพของหญิงชาวอเมริกันวัยหมดประจำเดือน 248 คน นักวิจัยแบ่งกลุ่มหญิงในการทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองในรูปแคปซูนขนาด 200 กรัมทุกวันติดต่อกันตลอดสองปี กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับแคปซูนเปล่าไม่มีโปรตีนถั่วเหลืองจริงๆ ปริมาณโปรตีนถั่วเหลืองที่กลุ่มตัวอย่างในการรับได้รับ มากกว่าปริมาณที่คนทั่วไปได้รับจากการทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองถึงสองเท่าตัว


ทีมนักวิจัยสหรัฐติดตามดูัผลทางสุขภาพระหว่างกลุ่มหญิงตัวอย่างกับกลุ่มควบคุม พบว่าทั้งสองกลุ่มมีอาการหมดประจำเดือนเหมือนกันและมีการลดของมวลกระดูกระดับพอๆกัน ทำให้ทีมนักวิจัยสรุปว่าโปรตีนไอโซฟลาโวนที่พบในถั่วเหลืองไม่มีผลใดๆต่อสุขภาพหญิงวัยหมดประจำเดือนอย่างที่หลายคนตั้งความหวัง
แต่ทีมนักวิจัย สรุปรวมไม่ได้ว่าอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองหรือที่มีส่วนประกอบจากถั่วเหลืองมีประโยชน์ต่ออาการหมดประจำเดือนหรือไม่ เพราะทีมงานทดลองเฉพาะตัวโปรตีนไอโซฟลาโวนที่สกัดมาจากถั่วเหลืองเท่านั้น


ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในนิตยสารทางการแพทย์ Archives of Internal Medicine
ในรายงาน ด็อกเตอร์ ซิลวีน่า หลุยอิส หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผลการทดลองนี้ทำให้ผู้หญิงวัยทองควรพิจารณาว่ายังจะทานผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนถั่วเหลืองแบบต่างๆต่อมั้ยเพราะไม่มีประโยชน์
ผู้หญิงวัยทองในอเมริกาจำนวนมาก ทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเ้สริมเพื่อช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนและเชื่อว่าช่วยป้องกันการลดของมวลกระดูก แต่หลายคนกังวลถึงผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวนี้จากการทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมและพยายามมองหาทางเลือกอื่นๆ อาทิ เช่นการกินโปรตีนถั่วเหลือง
ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่พบกันในอาหารของคนแถบเอเชีย อาทิ เต้าหู้ มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบทางธรรมชาติ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายๆประเทศเชื่อว่าถั่วเหลืองน่าจะเป็นการรักษาทางเลือกใหม่ แทนการกินฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม

ผู้เชี่ยวชาญยังสังเกตุพบว่าผู้หญิงเอเชียเป็นโรคกระดูกพรุนน้อยกว่าผู้หญิงวัยทองชาวตะวันตก แต่จากการศึกษาวิจัยหลายๆครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ผลการวิจัยออกมาไม่ชัดเจน
วัยทอง เป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยสูงอายุ เกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศลดลง


ในผู้ชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะฮอร์โมนเพศชายTestosterone เริ่มลดลงแต่ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน นอกจากบางกรณีเท่านั้นที่เกิดอาการหยุดทันทีเหมือนที่เกิดในผู้หญิง


ในทางตรงกันข้าม วัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงคือการสิ้นสุดการมีประจำเดือน รังไข่หยุดทำงาน ทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงหรือ เอสโตรเจนลดลง เกิดอาการต่างๆ อาทิ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน ในระยะยาวจะเกิดโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันเพราะระดับไขมันในเลือดสูง ระดับโคเลสเตอรอลสูง บางรายอาจเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น


โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติของกระดูกทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง แตกหักได้ง่ายแม้ได้รับการกระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย ทำการวินิจฉัยได้โดยการวัดความหาแน่นของมวลกระดูก สาเหตุที่พบได้บ่อยและสำคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจาการหมดประจำเดือน แคลเซียมมีผลต่อมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมสามารถทำให้มวลกระดูกสูงขึ้น


ด้านด็อกเตอร์ มัลโคม ไวท์เฮด ผู้เชื่ยวชาญด้านวัยหมดประจำเดือนที่โรงพยาบาล King's College ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ บอกกับผู้สื่อข่าวของหน้าเวปไซด์ Health.com ว่า ไม่แปลกใจต่อผลวิจัยที่เพิ่งออกมานี้ในสหรัฐ เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัวในการรักษาคนไข้ หญิงวัยทองมักจะบอกคุณหมอเสมอว่า กินโปรตีนถั่วเหลืองเสริมแล้วไม่ได้ผล
ด็อกเตอร์ มัลโคม ไวท์เฮด กล่าวว่าการกินฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมน่าจะเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและได้ผล


แต่ด็อกเตอร์ ซิลวีน่า หลุยอิส หัวหน้าทีมวิจัยแนะนำว่า หญิงวัยหมดประจำเดือนสามารถดูแลร่างกายได้ด้วยวิธีง่ายๆทั่วไป อาทิ ทานแคลเซี่ยมและวิตมินดีให้เพียงพอ ออกกำลังการสม่ำเสมอ หรือบางกรณีอาจต้องกินยาเสริมความแข็งแรงของกระดูก.
ผู้สื่อข่าวสุขภาพของ Health.time.com รายงานว่า คุณหมอเด็บโบร่า เกรดดี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก กล่าวว่า มียาแผนปัจจุบันหลายชนิดที่ช่วยรักษาอาการหมดประจำเดือน แต่น่าเสียดายเพราะมาถึงตอนนี้ก็ยังไม่มียาขนานใดได้ผลดีกว่าการทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม


คุณหมอเกรดดี้ บอกว่า ทางที่ดีเราน่าจะเลิกตั้งความหวังว่า จะคิดค้นหาวิธีรักษาแบบเดียวแล้วได้ผลกับทุกคน แต่หันไปใช้แนวการรักษาต่างๆที่มีอยู่แล้วเพื่อรักษาบรรเทาอาการผิดปกติต่างๆที่สร้างปัญหาให้คนไข้มากที่สุด

XS
SM
MD
LG