ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หุ่นยนตร์ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาลช่วยแก้ปัญหาการติดเชื้อโรคดื้อยาในโรงพยาบาล


โรงพยาบาลอาจกลายเป็นแหล่งเพาะบ่มเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากมายหลายชนิด เชื้อโรคเหล่านี้ยังคงมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวของวัสดุต่างๆได้นานหลังจากที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะออกจาโรงพยาบาลไปแล้ว

คุณทริช เพริ์ล ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins University ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ กล่าว การทำความสะอาดห้องพักผู้ป่วยด้วยวิธีดั้งเดิมคือเช็ดถูด้วยแรงคนและน้ำยาฆ่าเชื้อเเบคทีเรียธรรมดาทั่วไปหลังจากผู้ป่วยแต่ละคนออกจากห้องไปแล้วไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมดจด

ศาสตราจารย์เพริ์ล กล่าวว่า พื้นผิวในห้องพักผู้ป่วยมีหลายประเภท มีอุปกรณ์การแพทย์หลายอย่างที่ทำความสะอาดให้หมดจดได้ยาก พนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลมักมีเวลาไม่นานพอในการทำความสะอาดห้องพักผู้ป่วยได้ทุกระเบียดนิ้วก่อนผู้ป่วยคนใหม่จะเข้าพัก

ปัญหานี้ทำให้ทีมวิจัยที่มหาวิืทยาลัยนำโดยศาสตราจารย์เพริ์ลได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อหาทางลดโอกาสติดเชื้อโรคในห้องพักผู้ป่วยและในโรงพยาบาล ทีมวิจัยทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการทำความสะอาดห้องด้วยวิธีการฆ่าเชื้อโรค
แบบดั้งเดิมที่ใช้กันทั่วไปกับการใช้หุ่นยนตร์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ศาสตราจารย์เพริ์ล หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า หุ่นยนตร์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคมีหน้าตาคล้ายกับหุ่นยนตร์ R2D2 ในภาพยนตร์เรื่อง Star War เพียงแต่มีท่อพ่นน้ำยาอยู่ด้านบนศรีษะ

ศาสตราจารย์เพริ์ล กล่าวว่า หุ่นยนตร์นี้จะหมุนไปรอบๆห้องเพื่อพ่นน้ำยาและสามารถหมุนศรีษะได้ 360 องศา

หุ่นยนตร์นี้จะพ่นไอน้ำยา hydrogen peroxide ซึ่งเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อโรคสูงที่มีส่วนผสมของ bleach ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากรับประทานหรือหายใจเข้าไปเพื่อกำจัดสารอันตรายนี้ หุ่นยนตร์ตัวที่สองจะเข้าไปฉีดน้ำยาละลายสารพิษจากน้ำยาฆ่าเชื้อโรคภายในห้อง เพื่อปรับให้ hydrogen peroxide ให้กลายเป็นน้ำและออกซิเจน

ศาสตราจารย์ Perl กล่าวน้ำยา hydrogen peroxide ไม่ทำความเสียหายแก่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์การแพทย์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล

ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย John Hopkins University ทำการติดตามเฝ้าดูผู้ป่วยราว 3,600 คนที่รักษาตัวในห้องพักผู้ป่วยส่วนตัว 180 ห้องอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานสองปีครึ่ง ครึ่งหนึ่งของห้องพักผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดด้วยการฆ่าเชื้อด้วยการขัดถูด้วยมือ ห้องที่เหลือใช้หุ่นยนตร์ในการฆ่าเชื้อโรค

ทีมวิจัยพบว่าอย่างน้อยยี่สิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ของห้องพักผู้ป่วยมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ส่วนมากเป็นห้องที่ได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยมือ
ในขณะที่การใช้หุ่นยนตร์ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ hydrogen peroxide ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคในโรงพยาบาลลงได้ 64 เปอร์เซ็นต์และยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเอ็นเทอร์คอคไซ ลงได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์

แต่ราคาของหุ่นยนตร์ทั้งสองตัวรวมกันแล้วยังสูงมาก ศาสตราจารย์เพริ์ล หัวหน้าทีมวิจัยนี้หวังว่า บริษัทผู้ผลิตอเมริกันจะสามารถลดราคาหุ่นยนตร์ลงมาเพื่อให้โรงพยาบาลทั้งในสหรัฐและในประเทศกำลังพัฒนาสามารถจัดซื้อไปใช้ได้

หุ่นยนตร์ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคนี้เคยนำไปใช้เป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลหลายโรงที่ประเทศสิงคโปร์ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
XS
SM
MD
LG