ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ปีนี้สำหรับงานวิจัยที่สามารถเปลี่ยนอายุและงานของแซลล์ที่เติบโตแล้วได้


คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศชื่อนักวิจัยและผลงานดีเด่นที่จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ โดยมีผู้ได้รับรางวัลสองคนด้วยกัน สำหรับงานวิจัยที่สามารถเปลี่ยนอายุและงานของแซลล์ที่เติบโตแล้วได้

เมื่อวันจันทร์ คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศชื่อนักวิจัยและผลงานดีเด่นที่จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ โดยมีผู้ได้รับรางวัลสองคนด้วยกัน คนหนึ่งนั้นเป็นนักวิจัยชาวอังกฤษ และอีกคนหนึ่งเป็นนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำงานร่วมกัน แต่งานที่ทำนั้นต่อเนื่องกัน

คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศชื่อนักวิจัย John Gurdon แห่ง Gurdon Institute ที่ Cambridge ในประเทศอังกฤษ และ ศจ. Shinya Yamanaka แห่งมหาวิทยาลัย Kyoto ให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์สำหรับปีนี้

งานวิจัยที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สองคนนี้ได้รับรางวัลเป็นงานที่เริ่มต้นโดยนาย John Gurdon เมื่อปี ค.ศ. 1962 และศจ. Shinya Yamanaka เติมต่อให้สมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 2006

งานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สามารถนำแซลล์ที่เติบโตแล้วและมีงานทำเฉพาะตัว มากลับอายุกลายเป็นแซลล์ตัวอ่อนและเปลี่ยนงานหน้าที่ให้ใหม่ได้

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากยังเชื่อและเข้าใจว่า วิธีเดียวที่จะเพาะเนื้อเยื่อเพื่อรักษาสมอง หัวใจ หรืออวัยวะอื่นๆที่บาดเจ็บเสียหายได้นั้น จะต้องอาศัยใช้เฉพาะแซลล์พื้นฐานของตัวอ่อนของมนุษย์เท่านั้น

เมื่อปี ค.ศ. 1962 นักวิจัย John Gurdon นำนิวเคลียสที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ของแซลล์ในไข่กบออกมา และแทนที่ด้วยแซลล์จากลำไส้ของกบ ปรากฎว่า ไข่กบนั้นก็ยังพัฒนาขึ้นมาเป็นลูกกบได้ตามปกติ

งานวิจัยนี้แสดงว่า แซลล์ที่เติบโตแล้วก็ยังมีข้อมูลพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนไปเป็นแซลล์พื้นฐานก่อนจะพัฒนาไปเป็นแซลล์ชนิดอื่นๆต่อไป

ในเวลานั้น นักวิจัย John Gurdon เอง ก็ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของผลงานวิจัยของตนเองว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างไรบ้าง และที่ยังเป็นปริศนาอยู่ต่อมาก็คือ อะไรทำให้แซลล์ที่โตแล้วและมีงานเฉพาะตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้

กว่าสี่สิบปีต่อมา ศจ. Shinya Yamanaka ค้นพบเชื้อพันธุ์สี่ตัวที่เป็นกลไกทำให้แซลล์ปรับตัวเช่นนั้นได้

ในปี ค.ศ. 2006 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้นี้นำเชื้อพันธุ์สี่ตัวสอดใส่เข้าในแซลล์ผิวหนังของหนูที่โตเต็มที่แล้ว และพบว่า สามารถกลับอายุของแซลล์ผิวหนังหนูให้กลับไปอยู่ในสภาพเสมือนเป็นแซลล์พื้นฐานของตัวอ่อนได้

แม้จะยังไม่ได้เริ่มวิจัยค้นคว้าว่า จะนำการค้นพบที่ว่านี้ไปวิเคราะห์หาประโยชน์ทั้งในด้านการแพทย์และการเภสัชกันได้อย่างไรบ้าง ก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผลงานวิจัยดังกล่าวมีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะให้ประโยชน์อย่างสูงในทั้งสองสาขาวิชา ดังที่ศจ. Thomas Perlmann ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาของสถาบัน Karolinska ในสวีเดน กล่าวไว้ว่า งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคน ได้ให้เครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับการพัฒนายาและการบำบัดรักษาโรคอย่างได้ผล
XS
SM
MD
LG