ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์เสนอแนวคิดลดรับประทานเนื้อสัตว์ช่วยลดโลกร้อน


นักวิทยาศาสตร์เสนอแนวทางการบริโภคที่อาจช่วยลดโลกร้อนด้วยการบริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง โดยเชื่อว่าจะสามารถลดผลกระทบของภาวะอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นของโลกได้

คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Exeter ในอังกฤษชี้ว่าการที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคามต้องการบริโภคของเนื้อสัตว์ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน

คณะนักวิจับระบุว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการดำเนินชีวิตด้วยการรีไซเคิลของใช้ที่ทำมาจากพืช และการไม่ทิ้งขว้างเศษอาหารสามารถช่วยป้องกันภัยทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้

ศาสตราจารย์ Tim Lenton ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยนี้กล่าวว่าเนื่องจากประชากรโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พัน 5 ร้อยล้านคนในอีก 40 ปี และแน่นอนว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์โดยเฉลี่ยก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้เห็นถึงอันตรายว่าอาจมีแนวโน้มขาดแคลนที่ดินเพื่อผลิตอาหารและสูญเสียความสมดุลย์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติได้ในอนาคต

ศาสตราจารย์ Lenton บอกอีกด้วยว่า ปัญหาในตอนนี้คือการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการทำฟาร์มและการผลิตอาหารโดยเฉพาะ การผลิตเนื้อสัตว์แล้วพื้นที่ทั้งหมดที่เราต้องใช้เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารในอีก 40 ปีอาจจะสูงเป็นเกือบร้อยละ90 ของที่ดินอุดมสมบูรณ์ทั้งหมดหรือเกือบ 2 เท่าของที่ดิน ที่เราใช้ทำฟาร์มและเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน

การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาเท่านั้น แต่ก็เกิดในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตเช่น จีนและอินเดีย

ศาสตราจารย์ Tim Lenton บอกด้วยว่า ข่าวดีก็คือประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตนั้นตอบสนองความต้องการบริโภคนี้ด้วยเนื้อสัตว์ชนิดที่ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นก็คือเนื้อหมูและเนื้อไก่แทนที่จะเป็นเนื้อวัว

อย่างไรก็ตาม การผลิตเนื้อสัตว์ที่มีประสิทธิภาพนี้ ต้องแลกมาด้วยการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่แคบ ซึ่งผู้ที่ไม่เห็นด้วยบางคนเห็นว่า เป็นการกระทำที่ทารุณและไร้มนุษยธรรมและนักวิจารณ์ชี้ว่า นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทุกคนควรหันมาทานมังสวิรัติ

งานวิจัยชี้ว่าเนื้อวัวเป็นเนื้อสัตว์ที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดในกระบวนการผลิต และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Exeter ชี้ว่าการรับมือกับภาวะโลกร้อนสามารถทำได้สองวิธี หนึ่งคือการผลิตเนื้อสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสองก็คือการรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลงซึ่งเป็นวิธีที่นักวิจัย แนะนำ

งานวิจัยชิ้นนี้ยังแนะนำอีกด้วยว่าการใช้เศษผักและพืชไปทำปุ๋ย จะเป็นการช่วยกักคาร์บอนไว้ในดิน แทนการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลใหม่แก่วงจรคาร์บอนของโลกได้
อ่านรายละเอียดงานวิจัยนี้ได้ในวารสาร Energy and Environmental Science
XS
SM
MD
LG