ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยโรคอัลไซม์เม่อร์สหันไปเน้นวิธีป้องกันโรคลุกลาม


Alzheimer's patient and caregiver.
Alzheimer's patient and caregiver.

องค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมากกว่า 35 ล้านคนทั่วโลกและคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นหนึ่งเท่าตัวภายในอีก 18 ปีข้างหน้า

คนในปัจจุบันมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้นกว่าเดิม เกิดแรงกดดันทางการแพทย์ให้เร่งพัฒนายาหรือวัคซีนขึ้นมาป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม

ในอดีต แพทย์วินิจฉัยโรคอัลไซม์เม่อร์สได้หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วด้วยการชันสูตร

Dr. Ronald Perterson นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซม์เม่อร์สชาวสหรัฐกล่าวว่าการวินิจฉัยโรคแบบใหม่ต่างๆสามารถช่วยคัดกรองโรคได้ในขณะที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่

Dr. Perterson ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าวิธีการวินิจฉัยโรคอัลไซม์เม่อร์ในปัจจุบันทำได้ด้วยการตรวจ biomarkers เพื่อหาโมเลกุลของโปรตีนในเลือด การใช้ภาพถ่ายทางรังสีวิทยาแบบต่างๆ การตรวจเลือด และการตรวจของเหลวในกระดูกสันหลัง เนื่องจากสารต่างๆในร่างกายเหล่านี้ช่วยชี้ให้เห็นพยาธิสภาพของโรค

ภาพถ่ายทางรังสีวิทยาจากสถาบัน Banner Alzheimer’s Institute ในเมือง Phoenix รัฐ Arizona แสดงให้เห็นลักษณะการก้าวหน้าของโรคอัลไซม์เม่อร์ส ภาพถ่ายนี้แสดงการเกาะตัวของแอมีลอยด์ เบต้า และโปรตีนเทา ในสมองของผู้ป่วยสูงอายุรายหนึ่ง ทำให้สูญเสียเซลสมองนิวรอนที่ทำหน้าที่จดจำและเรียนรู้

ผลการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซม์เม่อร์สสองการวิจัยได้สร้างความตื่นเต้นแก่วงการรักษาและป้องกันโรคสมองเสื่อมในสหรัฐเป็นอย่างมาก ในการศึกษาชิ้นแรก ทีมวิจัยได้ทำการทดลองรักษาผู้ป่วยด้วยการฉีดยาเข้าทางจมูกเพื่ออัดยาเข้าไปในเซลสมองนิวตรอน Dr. Suzanne Craft ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ University of Washington เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยการรักษาโรคโครงการนี้

Dr. Suzanne Craft กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเกือบสามในสี่ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการทดลองรักษาโรคอัลไซม์เม่อร์ส์มีความจำที่ดีขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการได้สี่เดือน ถือว่าดีขึ้นห้าสิบเปอร์เซ็นต์

ส่วนการศึกษาอีกช้ินหนึ่งชี้ว่าการรักษาโรคอัลไซม์เม่อร์สแต่เนิ่นๆช่วยป้องกันโรคได้ เมื่อสองปีที่แล้ว ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ส Pam Belluck และช่างภาพได้เดินทางไปที่ประเทศโคลัมเบียเพื่อไปเยี่ยมครอบครัวขยายครอบครัวหนึ่งที่สมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมอัลไซม์เม่อร์สก่อนวัยอันสมควร หนึ่งในสามของสมาชิกในครอบครัวนี้มียีนที่กลายพันธุ์ทำให้ป่วยด้วยอัลไซม์เม่อร์สตั้งแต่ช่วงอายุสามสิบถึงสี่สิบปี Pam Belluck แห่งนิวยอร์คไทม์ส รายงานว่าสมาชิกในครอบครัวที่อายุมากกว่าแต่แข็งแรงกว่ากลายเป็นผู้ดูเเลผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า

ในต้นปีหน้า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐกับทีมแพทย์ในโคลัมเบียจะร่วมกันทดลองรักษาคนจำนวนสามพันคนที่มาจากครอบครัวขยายขนาดใหญ่ครอบครัวนี้ การทดลองรักษาใช้เวลาห้าปี โดยใช้ทั้งยาจริงและยาหลอก Dr. Eric Reiman หัวหน้าทีมของสหรัฐ กล่าวว่า ยาที่จะนำไปทดลองรักษากำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ ยาตัวนี้จะช่วยกำจัดแอมมีลอยด์ เบต้าจากสมองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว
Dr. Eric Reiman ผู้เชี่ยวชาญชาวสหรัฐเห็นว่า การรักษาที่ดีพอแต่เนิ่นๆจะมีผลดีต่อผู้ป่วยอย่างมากเพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้โรคอัลไซม์เม่อร์สทำลายเซลสมองจนหมด
XS
SM
MD
LG