ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การปฏิรูปทางการเมืองในพม่ากำลังเป็นที่สนใจทั่วโลก แต่โอกาสที่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าในค่ายผู้ลี้ภัยที่ชายแดนไทย-พม่าจะได้กลับบ้านยังไม่แน่นอน


การปฏิรูปทางการเมืองในพม่ากำลังเป็นที่สนใจทั่วโลก แต่โอกาสที่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าในค่ายผู้ลี้ภัยที่ชายแดนไทย-พม่าจะได้กลับบ้านยังไม่แน่นอน
การปฏิรูปทางการเมืองในพม่ากำลังเป็นที่สนใจทั่วโลก แต่โอกาสที่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าในค่ายผู้ลี้ภัยที่ชายแดนไทย-พม่าจะได้กลับบ้านยังไม่แน่นอน

การปฏิรูปทางการเมืองในพม่ากำลังเป็นที่สนใจทั่วโลก แต่โอกาสที่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าในค่ายผู้ลี้ภัยที่ชายแดนไทย-พม่าจะได้กลับบ้านยังไม่แน่นอน

นางออง ซาน สุจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า พูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศว่า เป็นการเริ่มต้นอนาคตใหม่สำหรับทุกคน โดยมีข้อแม้ว่า ทุกคนต้องช่วยกันสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้


แต่สำหรับผู้ที่ยังหาเช้ากินค่ำ อย่าง หม่อง ทัน ซอ คนขี่สามล้อ และแม่ค้าขายผลไม้ มี มี่ อาย ผลของการเปลี่ยนแปลงยังไปไม่ถึงพวกเขา การทำมาหากินยังยากลำบาก และผู้ปกครองประเทศก็ยังเป็นคนชุดเดิม

แต่ ออง จอ วิน เจ้าของร้านทองและอัญมณีที่มีสาขาทั่วประเทศ ให้ความเห็นว่ารัฐบาลกำลังพยายามดำเนินการปฏิรูปอย่างจริงจัง

พ่อค้าทองและอัฯมณีผู้นี้ บอกว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้จากหน้าหนังสือพิมพ์และทั่วๆไป และว่า ธุรกิจจะดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าไม่มีมาตรการลงโทษพม่าทางเศรษฐกิจจากยุโรปและสหรัฐ

ขณะเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็กำลังพยายามลดกฎข้อบังคับและการผูกขาดทางการค้าที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น กฎข้อบังคับหนึ่งที่อาจลดคอร์รับชั่นได้ คือ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น อัตราการแลกเปลี่ยนทางการระหว่างเงินจั๊ดของพม่ากับเงินดอลล่าร์สหรัฐ คือ 1 ดอลล่าร์ต่อ 7 จั๊ด แต่อัตราในตลาดมืดสูงกว่านั้นถึงหนึ่งร้อยเท่าตัว

ชาวพม่าบางคนที่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินดอลล่าร์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตให้มีเงินตราต่างประเทศไว้ในครอบครอง ก็ต้องรีบไปแลกเอาเงินจั๊ดมาภายในเดือนนั้น มิฉะนั้นจะต้องโทษจำคุก

ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับการปฏิรูปในพม่า คือปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย ประมาณกันว่ามีผู้ลี้ภัยจากพม่า พำนักอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวพรมแดนไทย-พม่าราวๆหนึ่งแสนสองหมื่นคน และผู้ลี้ภัยบางคนอยู่ในค่ายที่ว่านี้มานานถึง 20 ปีแล้ว

การปฏิรูปที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ผู้ลี้ภัยอย่าง รอเบิต ฮทะเวย์ ประธานคณะกรรมาธิการผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่แม่สอด บอกว่า การเยือนพม่าโดยรัฐมนตรี Hilary Clinton ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ทำให้ผู้ลี้ภัยมองเหตุการณ์ในทางดี มีความหวังมากขึ้นว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริง ผู้ลี้ภัยทุกคนก็อยากกลับบ้านเกิดเมืองนอนกันทั้งนั้น

แต่รายงานล่าสุดจาก Thailand Burma Border Consortium ระบุว่า สถานการณ์การสู้รบในภาคตะวันออกของพม่ายังยืดเยื้อและไม่ดีขึ้นเลย และ Lynn Yoshikawa แห่ง Refugees International ในกรุงวอชิงตันบอกว่า ยังไม่เป็นที่แน่นอนในขณะนี้ว่า ผู้ลี้ภัยชาวพม่าจะกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยเมื่อไหร่

เจ้าหน้าที่ของ Refugees International ผู้นี้กล่าวส่งท้ายว่า ยังมีช่องว่างระหว่างการมองการณ์ในทางดีที่ย่างกุ้งกับความเป็นจริงที่ชายแดน

XS
SM
MD
LG