ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญหวังว่าในไม่ช้าจะมียา วัคซีนและยุทธวิธีใหม่ในการรณรงค์ต่อต้านไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย ซึ่งยังคร่าห์ชีวิตคนไปปีละกว่าหกแสนคน


เนื่องในโอกาสวันมาเลเรียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม มีการประชุมนักวิจัยทางการแพทย์ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตันในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนำเสนอผลงานการวิจัยที่มุ่งจะป้องกันและบำบัดโรคไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย ผู้เชี่ยวชาญที่ไปร่วมการประชุมกล่าวแสดงความหวังว่า ในไม่ช้าจะสามารถมีชัยชนะเหนือโรคร้ายที่ยังคร่าห์ชีวิตประชากรโลกไปปีละกว่าหกแสนคนนี้ได้

เนื่องในโอกาสวันมาเลเรียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม มีการประชุมนักวิจัยทางการแพทย์ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตันในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนำเสนอผลงานการวิจัยที่มุ่งจะป้องกันและบำบัดโรคไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย ผู้เชี่ยวชาญที่ไปร่วมการประชุมกล่าวแสดงความหวังว่า ในไม่ช้าจะสามารถมีชัยชนะเหนือโรคร้ายที่ยังคร่าห์ชีวิตประชากรโลกไปปีละกว่าหกแสนคนนี้ได้


ผู้เชี่ยวชาญหวังว่าในไม่ช้าจะมียา วัคซีนและยุทธวิธีใหม่ในการรณรงค์ต่อต้านไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย ซึ่งยังคร่าห์ชีวิตคนไปปีละกว่าหกแสนคน

เนื่องในโอกาสวันมาเลเรียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม มีการประชุมนักวิจัยการแพทย์ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตันในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนำเสนอผลงานการวิจัยที่มุ่งจะป้องกันและบำบัดโรคไข้จับสั่น หรือมาเลเรีย

องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า หนึ่งในสามของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีโรคมาเลเรียเป็นโรคเรื้อรังในท้องถิ่น และในปีที่แล้ว มีคน 216 ล้านคนป่วยด้วยโรคนี้ เพราะถูกยุงที่ติดเชื้อมาเลเรียกัด

การประชุมที่มีขึ้นที่รัฐสภาสหรัฐจัดขึ้นโดยองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร Malaria No More ซึ่งต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และในจำนวนนักวิทยาศาสตร์ 20 คนที่ทำงานค้นคว้าเกี่ยวกับมาเลเรีย และนำเสนอผลงานของตนในการประชุมครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Brian Grimberg แห่งมหาวิทยาลัย Case Western Reserve ในรัฐ Ohio เป็นผู้ที่ทำงานทดสอบวิธีรักษาโรคนี้ใหม่ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีเป้าหมายว่าจะสะกัดกั้นการแพร่กระจายเชื้อมาเลเรีย ไม่เพียงแต่ในแปซิฟิกเท่านั้น แต่ทั่วทั้งแอฟริกา เอเชียและลาตินอเมริกาด้วย

อาจารย์ Brian Grimberg บอกว่า ได้พยายามหาตัวยาที่จะใช้เป็นวัคซีนได้ รวมทั้งยาใหม่ๆที่จะนำมาทดลองกับโรคนี้ และว่า ตัวยาขนานหนึ่งที่กำลังทดลองอยู่เป็นยาสำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตชนิดต่างๆ แต่ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีในการฆ่าเชื้อมาเลเรีย

และเพราะว่าองค์การอาหารและยาได้อนุมัติให้ใช้ยาขนานนี้รักษาโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตไว้แล้ว อาจารย์ Brian Grimberg คิดว่า คงจะได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้กับโรคมาเลเรียได้อย่างรวดเร็ว ถ้าการทดลองกับมนุษย์ประสบความสำเร็จ

สำหรับมาเลเรียที่ดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหากับยาทุกชนิดที่มีขณะนี้ รวมทั้ง artemisinin ซึ่งเป็นยาแรงที่สุด และควินิน ผศ. Brian Grimberg บอกว่า นักวิจัยในโครงการจะพยายามสืบหายาพื้นบ้าน โดยสอบถามผู้คนในท้องถิ่นว่า เมื่อมีอาการไข้มาเลเรียเกิดขึ้น ใช้ยาพื้นบ้านอะไรบ้างเพื่อรักษาตัว ยุทธวิธีนี้ช่วยให้นักวิจัยพบตัวยา artemisinin ที่สะกัดมาจากต้นไม้ในประเทศจีน และควินินจากเปลือกไม้ในประเทศเปรูมาแล้ว

อาจารย์ Grimberg บอกว่า คนที่อยู่ในบริเวณที่มีโรคนี้อยู่ในท้องที่ มีวิธีรักษาแบบพื้นบ้านที่พัฒนาและสั่งสอนกันมา เพราะฉะนั้นก็สามารถที่จะเข้าไปในพื้นที่ และสะกัดเอาสารประกอบมาจากพืชหรือต้นไม้ที่มีอยู่ มาทดลองดูว่าใช้ได้ผลหรือไม่ เท่าที่พบและกำลังทดลองอยู่ขณะนี้ คือฟองน้ำจากเกาะฟิจิที่เก็บได้ตามชายฝั่งทะเล เอามาตากแห้ง และรับประทานเมื่อรู้สึกว่ามีอาการไข้มาเลเรีย ปรากฎว่า ฟองน้ำนี้มีสารประกอบสามอย่างที่ต่อต้านเชื้อมาเลเรียอย่างได้ผลมาก

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่นำเสนอในที่ประชุมที่กรุงวอชิงตัน คือการใช้กรรมวิธีพันธุวิศวกรรมป้องกันมิให้ยุงติดเชื้อมาเลเรียเสียตั้งแต่ต้น จะได้ไม่มีโรคแพร่ต่อให้มนุษย์

นักวิจัย Luiz Shozo Ozaki ของมหาวิทยาลัย Virginia Commonwealth ในรัฐเวอจิเนีย ใช้สารละลายแบคทีเรีย หรือ phage ที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรม ป้อนให้ยุงกิน สารดังกล่าวเข้าไปสร้างโปรตีนในลำไส้ของยุง ซึ่งสะกัดกั้นมิให้ยุงติดเชื้อมาเลเรียได้

นักวิจัยผู้นี้หวังว่า การใช้เครื่องมือทางชีววิทยาเช่นนี้ ประกอบกับความพยายามในการพัฒนาวัคซีนและวิธีบำบัดรักษาต่างๆ จะช่วยกำจัดมาเลเรียให้หมดไปจากโลกได้ในที่สุดแ

XS
SM
MD
LG