ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐที่ WikiLeaks นำมาเผยแพร่กล่าวหา Saudi Arabia และรัฐอาหรับว่าให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย


เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐที่ WikiLeaks นำมาเผยแพร่กล่าวหา Saudi Arabia และรัฐอาหรับว่าให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐที่ WikiLeaks นำมาเผยแพร่กล่าวหา Saudi Arabia และรัฐอาหรับว่าให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย

เอกสารลับที่ WikiLeaks นำมาเผยแพร่ มิได้กล่าวหารัฐบาลของ Saudi Arabia ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย ในขณะที่ทางการ Saudi Arabia นั้น ได้รับการยกย่องว่า ทำงานก้าวหน้าได้เป็นอย่างมากในการสกัดกั้นกระแสเงินที่ให้กับพวก Al-Qaida แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การหาเงินเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย มักจะอ้างเหตุผลที่ไม่จริงบังหน้า รวมทั้งจะขอเรี่ยไรในช่วงที่ผู้คนต้องการจะทำบุญ เช่นในช่วงถือบวช หรือแสวงบุญ

เอกสารลับที่ WikiLeaks นำมาเผยแพร่ มิได้กล่าวหารัฐบาลของ Saudi Arabia ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย ในขณะที่ทางการ Saudi Arabia นั้น ได้รับการยกย่องว่า ทำงานก้าวหน้าได้เป็นอย่างมากในการสกัดกั้นกระแสเงินที่ให้กับพวก Al-Qaida

นักรัฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ Omar Ashour ที่มหาวิทยาลัย Exeter ในอังกฤษกล่าวว่า จุดยืนของรัฐบาล Saudi Arabia นั้น คัดค้านการสนับสนุนการก่อการร้ายอย่างชัดเจน และว่า จะต้องแยกให้เห็นชัด ระหว่างทางการ Saudi Arabia กับที่ไม่เป็นทางการ จุดยืนของทางการ Saudi Arabia คือการปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย ไม่ใช่การสนับสนุน

ในช่วงหลายปีมานี้ รัฐบาล Saudi Arabia ได้ออกกฎหมายใหม่ๆ และเจ้าหน้าที่ทางศาสนาได้ออกคำสั่ง หรือ Fatwa ที่ห้ามการบริจาคเงินให้กับกลุ่มก่อการร้ายที่ทางการระบุชื่อไว้

แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การหาเงินเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย มักจะอ้างเหตุผลที่ไม่จริงบังหน้า รวมทั้งจะขอเรี่ยไรในช่วงที่ผู้คนต้องการจะทำบุญ เช่นในช่วงถือบวช หรือแสวงบุญ

ศจ. Ashour ให้คำอธิบายไว้อีอย่างหนึ่งว่า ในขณะที่การบริจาคเงินใหกั้บกลุ่มหลายกลุ่มเหล่านี้ ในสายตาของรัฐบาลชาติตะวันตก อาจมองว่าเป็นการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย แต่ในดลกมุสลิมแล้ว เห้นว่าเป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อย่างเช่นการต่อสู้ของกลุ่ม Lash-e-Taiba ในแคชเมียร์ ในแอฟกานิสถาน หรือแม้กระทั่งพวก Chechens และ Hamas ในปาเลสไตน์

นักรัฐศาสตร์ผู้นี้ชี้ประเด็นปัญหาไว้อีกด้วยว่า รัฐอาหรับ เช่น Kuwait และ Saudi Arabia อาจเต็มใจที่จะปราบปรามการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้าย แต่ไม่มีสมรรถนะที่จะทำเช่นนั้นได้เสมอไป นอกจากนี้ แต่ละรัฐก็มีผลประโยชน์ส่วนตน และเป้าหมายสำคัญอื่นๆ เช่นสถานการณ์ภายในประเทศ และความมั่นคงของรัฐบาลของตน

ส่วนอาจารย์ Khattar Abou Diab ซึ่งสอนวิชารัฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยปารีส ให้ความเห็นว่า หลังเหตุการณ์ 11 กันยายนเป็นต้นมา รัฐอาหรับส่วนใหญ๋รู้ดีว่า จะต้องควบคุมเรื่องการบริจาคเงินของภาคเอกชนให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น และได้เปลี่ยนแปลงและควบคุมการลักลอบบริจาคเงินให้กับกลุ่มก่อการร้ายอย่างเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้นแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยอมรับว่า ต้องระวังไม่ไปกล่าวหาผู้คนว่าให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายโดยไม่มีหลักฐาน เพราะมีหลายรายในฝรั่งเศสที่ถูกฟ้องร้องกลับในคดีหมิ่นประมาท

XS
SM
MD
LG