ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐชี้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่โปรตีน


ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐชี้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่โปรตีน
ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐชี้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่โปรตีน

ผลการวิจัยชิ้นล่าสุดในสหรัฐชี้ว่าการควบคุมปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับจากอาหารเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัว

ชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติและมากกว่า 30 เปอร์เซ็นถือว่าเป็นโรคอ้วน แต่ไม่แค่เฉพาะชาวอเมริกันเท่านั้นที่กำลังประสบกับปัญหาขนาดรอบเอวใหญ่ขึ้น องค์การอนามัยโลกหรือ WHO รายงานว่า โรคอ้วนกลายเป็๋นปัญหาสุขภาพทั่วโลก ประมาณว่ามีประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านคนมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติเมื่อคำนวณเทียบระหว่างส่วนสูงกับน้ำหนัก


ด็อกเตอร์ดาริอุช มุสซาฟาเรียนแห่งมหาวิทยาลัย Harvard School of Public Healthศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับการเจ็บป่วยด้วยโรครักษายากต่างๆ

ด็อกเตอร์มุสซาฟาเรียน กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ทำให้คนเราต้องปรับมุมมองใหม่เกี่ยวกับการโภชานาการกันทั้งแบบแผน

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า คนที่ต้องการปรับเปลี่ยนนิสัยด้านการบริโภคและต้องการลดน้ำหนักมักได้รับคำแนะนำต่างๆมากมายเกี่ยวกับอาหารที่ควรเลือกรับประทาน บางสูตรแนะนำว่าให้ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากแป้งและน้ำตาล บางสูตรแนะว่าให้ลดปริมาณไขมันแล้ว เพิ่มโปรตีน หรือ บ้างก็ให้ลดโปรตีน ข้อมูลที่แตกต่างกันเหล่านี้สร้างความสับสน

ด็อกเตอร์ จอร์จ เบรย์ แห่ง The Pennington Biomedical Research Center ทางใต้ของรัฐหลุยส์เซียน่า ต้องการศึกษาว่าโปรตีนมีผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัวหรือไม่

ด็อกเตอร์ จอร์จ เบรย์ กล่าวว่า การวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของปริมาณโปรตีนในระดับต่างๆกันต่อปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดที่ร่างกายได้รับ

ในการทดลอง มีผู้ใหญ่สุขภาพแข็งแรง 25 คนเข้าร่วม คุณเเดนเนี่ยล คู้น เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการศึกษา ทุกคนต้องรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณพลังงานเกือบหนึ่งพันแคลอรี่ทุกวัน

คุณเเดนเนี่ยล คู้น กล่าวว่า เขาต้องรับประทานเนยแท้ในปริมาณเยอะมาก รวมทั้งวิปครีมจริงๆและอาหารอื่นๆที่มีไขมันสูงที่ปกติแล้วเขาไม่รับประทาน

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนด้วย แต่จะปรับให้ปริมาณโปรตีนในอาหารให้แตกต่างไปเรื่อยๆ เริ่มจากต่ำ ปกติ และ สูง ผลปรากฏว่าทุกคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

ด็อกเตอร์ จอร์จ เบรย์ ผู้จัดทำการทดลองนี้กล่าวว่า ทุกคนได้รับปริมาณไขมันคงเดิม มีเฉพาะปริมาณโปรตีนเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สรุปได้ว่าอาหารที่ให้พลังงานสูงมีผลต่อการสะสมไขมันในร่างกาย สำหรับคนที่ทานโ่ปรตีนในปริมาณมากกว่า น้ำหนักตัวจะน้อยกว่าคนที่ทานโปรตีนในระดับต่ำกว่า

ด็อกเตอร์ จอร์จ เบรย์ ยังแนะนำให้คนเราโดยทั่วไปชั่งน้ำหนักตัวเป็นประจำเพื่อติดตามดูการขึ้นลงของน้ำหนักตัวและการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ เพราะการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหารลงอย่างเดียว

ด็อกเตอร์ดาริอุช มุสซาฟาเรียน แห่งมหาวิทยาลัย Harvard School of Public Health กล่าวเสริมว่า ไม่จำเป็นต้องระบุว่าต้องเลี่ยงอาหารประเภทไหน แต่ควรเพิ่มอาหารบางประเภท อาทิ ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดขาว ปลา น้ำมันจากผักและถั่วต่างๆ การทานอาหารทั้งหกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกวันจะช่วยลดปัญหาโรคอ้วนและโอกาสเป็นโรคร้ายแรงที่ตามมากับโรคอ้วน

XS
SM
MD
LG