ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยสหรัฐกำลังคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยาหลังพบการระบาดในสหรัฐ


นักวิจัยสหรัฐกำลังคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยาหลังพบการระบาดในสหรัฐ
นักวิจัยสหรัฐกำลังคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยาหลังพบการระบาดในสหรัฐ

นักวิจัยสหรัฐกำลังคิดค้นวัคซีนขึ้นมาป้องกันไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยาหลังจากพบการระบาดในสหรัฐและกำลังศีกษาวิธีตัดแต่งพันธุกรรมยุงลายตัวผู้เพื่อใช้ในการควบคุมประชากรยุงที่เป็นพาหะนำโรคทั้งสองชนิด ไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยากำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกไม่จำกัดอยู่แต่ในเอเชียนะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดเท่านั้น ในปีนี้พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเกินสิบสองรายในรัฐฟลอริด้าทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาด้วย

องค์การอนามัยโลกเผยว่าในบรรดาแมลงต่างๆที่เป็นพาหะนำโรคทั่วโลก ยุงอันตรายที่สุด ขณะนี้มีโรคสองชนิดที่มียุงเป็นพาหะและกำลังระบาดไปทั่วโลกไม่จำกัดเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาและอเมริกาใต้ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดเท่านั้น นั่นก็คือไข้เลือดออกที่อาจทำให้เสียชีวิตได้กับไข้ชิคุนกุนยาที่ทำให้อ่อนเปลี้ยและปวดตามข้อกระดูกรุนแรงแต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคทั้งสองนี้แต่นักวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐกำลังศึกษาทดลองอย่างขมักเขม้นเพื่อคิดค้นวัคซีนขึ้นมาป้องกันไข้เลือดออกกับไข้ชิคุนกุนยา นอกจากนี้กำลังหาทางควบคุมประชากรยุงและการระบาดด้วย

นักวิทยาศาสตร์พบยุงอย่างน้อยสามพันชนิดทั่วโลก ยุงลายเสือสายพันธุ์เอเชียเป็นยุงชนิดหนึ่งที่กัดในเวลากลางวัน นอกจากสร้างความรำคาญแล้ว ยุงลายเสือสายพันธุ์็เอเชียยังเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกไปสู่คนปีละยี่สิบล้านคนทั่วโลก ไข้เลือดออกมีอาการคล้ายกับหวัดแต่ทำให้มีเลือดออกตามร่างกายถ้าไม่รักษาอาจเกิดอาการช็อกและอาจเสียชีวิตได้

ศาสตรจารย์สก็อต วีฟเวอร์ อาจารย์สาขาการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส กล่าวว่า ยุงลายเสือที่แพร่เชื้อไข้เลือดออกในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาใต้ กำลังแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก ในปีนี้ แพทย์อเมริกัน ยืนยันว่า พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเกินสิบสองรายในรัฐฟลอริด้า ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา

ศาสตราจารย์ สก็อต วีฟเว่อร์ กล่าวว่า ยุงลายเสือแพร่พันธุ์ไปเกือบทั่วเขตกาอาศร้อนและเขตกึ่งอากาศร้อนทั่วโลกแล้ว นอกจากนี้ยุงลายเสือสายพันธุ์เอเชียยังเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุนย่าที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา อาการของโรคคือปวดเมื่อยตามข้อกระดูกรุนแรงและมีไข้สูง

นอกจากยุงลายเสือสายพันธุ์เอเชียแล้ว ยุงลายสายพันธุ์แอฟริกาก็เป็นพาหะนำโรคชิคุนกุนย่าด้วยและยุงลายเสือสายพันธุ์แอฟริกาก็กำลังแพร่กระจายออกไปนอกทวีปด้วย

ศาสตรจารย์ ลอร่า แฮริงตั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ไม่เฉพาะเขตระบาดของยุงลายเสือเท่านั้นที่เปลี่ยนไป ยังพบด้วยว่าลักษณะสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสต่างๆที่ยุงลายเสือเป็นพาหะนำโรคเปลี่ยนแปลงไปด้วย มีการปรับแปลงทางพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัสต่างๆที่ยุงเป็นพาหะทำให้การระบาดของโรครุนแรงขึ้น

ยุงแพร่กระจายไปในที่ต่างๆทั่วโลกได้หลายทาง อาทิ ติดไปกับรถยนตร์ที่เดินทางจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งหรือมีผูู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วแต่ยังไม่ออกอาการเดินทางด้วยเครื่องบินไปในที่ต่างๆและเมื่อยุงลายมาดูดเลือดผู้ติดเชื้อไข้เลือกออกหรือไข้ชิคุนกุนยา ยุงลายตัวนั้นก็จะนำเชื้อไวรัสไปแพร่กระจายเมื่อไปดูดเลือดคนอื่นต่อ

บรรดาแพทย์ในอเมริกากังวลกันว่าไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนยาจะกลายเป็นโรคที่แพร่ระบาดในอเมริกาอย่างถาวร ถ้าไม่หาวิธีควบคุมการระบาดของโรคให้ได้แต่เนิ่นๆ

ขณะนี้ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสนำโดยศาสตราจารย์ สก็อต วีฟเวอร์ ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาออกมาได้สำเร็จแล้ว โดยใช้ทดลองในหนูและพบว่าวัคซีนที่พัฒนาออกมานี้ช่วยป้องกันหนูทดลองไม่ได้ติดเชื้อไวรัสไข้ชิคุนกุนยาได้สำเร็จ แต่ยังจำเป็นต้องมีการทดลองกันต่อไปเพื่อให้แน่ใจในประสิทธิผลของวัคซีนก่อนนำออกไปใช้กับสาธารณชน

ส่วนที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล ศาสตรจารย์ ลอร่า แฮริงตั้น กำลังทดลองตกแต่งพันธุกรรมยุงลายเสือตัวผู้ให้เป็นหมันและทำให้กลายเป็นยุงไม่ดูดเลือดเป็นอาหาร โดยวางแผนจะปล่อยยุงตัวผู้ตัดแต่งพันธุกรรมออกไปในธรรมชาติเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับยุงลายเสือตัวเมียที่ีดูดเลือดเป็นอาหาร ซึ่งเป็นพาหะของโรค หลังผสมพันธุ์กันแล้ว ยุงลายตัวเมียจะไม่ออกไข่และจะไม่ดูดเลือดเป็นอาหารอีกต่อไป ทำให้ประชากรยุงลดลงและหมดไปในที่สุด ศาสตรจารย์ ลอร่า แฮริงตั้น หวังว่าถ้าหากทีมงานทดลองสำเร็จจะสามารถนำวิธีตัดแต่งพันธุกรรมยุงตัวผู้ไปใช้ลดประชากรยุงชนิดอื่นๆที่แพร่เชื้อไวรัสชนิดต่างได้ด้วย อาทิ ไข้มาลาเรีย

XS
SM
MD
LG