ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนกับสหรัฐในปี 2010 ประสบปัญหาใหญ่หลายเรื่อง นักวิเคราะห์บอกว่าแนวโน้มปีหน้าจะไม่เปลี่ยนแปลง


ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนกับสหรัฐในปี 2010 ประสบปัญหาใหญ่หลายเรื่อง นักวิเคราะห์บอกว่าแนวโน้มปีหน้าจะไม่เปลี่ยนแปลง
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนกับสหรัฐในปี 2010 ประสบปัญหาใหญ่หลายเรื่อง นักวิเคราะห์บอกว่าแนวโน้มปีหน้าจะไม่เปลี่ยนแปลง

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับจีนในปีค.ศ. 2010 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง เผชิญหน้ากับมรสุมใหญ่หลายครั้งหลายหน ทั้งสองฝ่ายบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร และทำไมนักวิเคราะห์จึงกล่าวว่า แนวโน้มที่เป็นอยู่จะไม่เปลี่ยนแปลงในปีหน้า

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับจีนในปีค.ศ. 2010 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง เผชิญหน้ากับมรสุมใหญ่หลายครั้งหลายหน ทั้งสองฝ่ายบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร และทำไมนักวิเคราะห์จึงกล่าวว่า แนวโน้มที่เป็นอยู่จะไม่เปลี่ยนแปลงในปีหน้า

จะว่าปี 2010 เป็นปีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน ต้องผ่านการทดสอบเป็นอย่างมากก็คงจะได้เริ่มต้นด้วยการที่ปักกิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทหารกับสหรัฐ หลังจากที่สหรัฐทำความตกลงขายอาวุธให้กับไต้หวัน ในขณะที่ Google ยักษ์ใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ตประกาศว่า เป็นเป้าของการโจมตีที่มีแหล่งที่มาในประเทศจีน

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า พบกับองค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางศาสนาของธิเบต
แม้ปักกิ่งจะประท้วงอย่างแข็งขัน ทำให้เกิดคำถามตามต่อว่า ประธานาธิบดี Hu Jintao จะเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องความมั่นคงทางนิวเคลียร์ที่กรุงวอชิงตันหรือไม่ ปรากฏว่า ประธานาธิบดีจีนไปร่วมการประชุมดังกล่าวตามกำหนดนัดหมาย

ขณะเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างจีนกับสหรัฐเพิ่มความสลับซับซ้อนผูกพันกันเป็นอย่างมากขึ้นอยู่ตลอด เวลา นักวิเคราะห์ Cheng Li แห่งสถาบัน Brookings ในกรุงวอชิงตัน กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองว่า เต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัว

นักวิเคราะห์ผู้นี้ กล่าวว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างความหวังกับความหวั่นวิตก ความก้าวหน้ากับอุปสรรคมากมายมหาศาล และในขณะที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความล้มเหลวครั้งใหญ่

แม้จีนกับสหรัฐจะหาจุดร่วมกันได้ในเรื่องพลังงานทางเลือก แต่ขัดกันอย่างมากในเรื่องค่าเงินหยวนและประเด็นอื่นๆทางการค้า

Bonnie Glaser ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐ ของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ Center for Strategic and International Studies เรียกย่อๆว่า CSIS
ในกรุงวอชิงตัน ให้ความเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายพบว่าเป็นเรื่องยากทีเดียว ที่จะรักษาความสัมพันธ์และน้ำเสียงระหว่างกันให้อยู่ในเชิงบวก

ที่สำคัญคือ ประธานาธิบดี Hu Jintao จะเดินทางเยือนวอชิงตันในเดือนมกราคมนี้ คำถามก็คือ มีเรื่องอะไรบ้างที่จะร่วมมือกันได้

นักวิเคราะห์ Bonnie Glaser ของ CSIS ยกเรื่องความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีมาเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการขาดความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีน และประเด็นเรื่องทะเลจีนตอนใต้ ที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อ้างสิทธิอธิปไตยแข่งขันกับจีน และจีนบอกปัดข้อเสนอของสหรัฐที่จะช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยให้

หนึ่งเดือนหลังจากนั้น จีนส่งเรือดำน้ำลงไปที่ก้นทะเลในบริเวณที่มีปัญหาขัดแย้งเพื่อปักธงชาติจีน ซึ่งเป็นการส่งข้อความที่มีความหมายแอบแฝงอย่างเปิดเผย นักวิเคราะห์ Cheng Li ของสถาบัน Brookings ให้ความเห็นว่า โลกจะต้องยอมรับว่าอิทธิพลของจีนกำลังเพิ่มขึ้นทุกที และว่า ยุคสมัยที่จีนต้องทำตัวเสมือนเป็นนักเรียนรับฟังคำสอนของชาติตะวันตกนั้นใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว

ในอีกด้านหนึ่ง นักวิเคราะห์คนอื่นๆตั้งข้อสังเกตว่า เมื่ออิทธิพลของจีนมีเพิ่มมากขึ้นในเวทีโลก จีนก็ควรต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย Sophie Richardson ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียขององค์การ Human Rights Watch ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ความก้าวหน้าต่างๆที่ได้เห็นในจีน เช่น โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

และเสรีภาพในสังคมในระดับหนึ่งนั้น เป็นการเลือกที่จะทำอย่างเห็นได้ชัดของรัฐบาลจีน ในขณะที่ยังไม่เห็นความก้าวหน้าอย่างเดียวกันในเรื่องสิทธิพลเรือนและสิทธิเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งนั่นก็เห็นได้ชัดเช่นเดียวกันว่า เป็นการเลือกที่จะทำเช่นนั้นของรัฐบาลจีน

นักวิเคราะห์ลงความเห็นว่า ในที่สุดแล้ว ปักกิ่งก็จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรกับความคาดหมายของผู้คนภายในประเทศและในต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับอิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีนที่เพิ่มขึ้น

XS
SM
MD
LG