ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนากล่าวว่า ถ้ายุโรป สหรัฐและญี่ปุ่นไม่ร่วมกันกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย


ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนากล่าวว่า ถ้ายุโรป สหรัฐและญี่ปุ่นไม่ร่วมกันกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนากล่าวว่า ถ้ายุโรป สหรัฐและญี่ปุ่นไม่ร่วมกันกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือที่เรียกกันย่อๆว่า UNCTAD กล่าวว่า อนาคตทางเศรษฐกิจของโลกไม่สดใสเลย และเตือนว่า ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐและญี่ปุ่นจะย่ำเท้าอยู่กับที่

ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือที่เรียกกันย่อๆว่า UNCTAD กล่าวว่า อนาคตทางเศรษฐกิจของโลกไม่สดใสเลย และเตือนว่า ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐและญี่ปุ่นจะย่ำเท้าอยู่กับที่


UNCTAD เร่งเร้าให้ชาติต่างๆปรับเปลี่ยนนโยบาย จากมาตรการรัดเข็มขัด ไปสู่การใช้มาตรการต่างๆที่จะกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งนาย Heiner Flassbeck ผู้อำนวยการฝ่ายโลกาภิวัฒน์และยุทธวิธีในการพัฒนาของ UNCTAD กล่าวว่า เป็นที่น่าเสียดายว่า ในขณะนี้รัฐบาลทั่วโลกกลับยึดมั่นอยู่กับการลดการใช้จ่าย ซึ่งทำให้ทุกเศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการถดถอย

เจ้าหน้าที่ของ UNCTAD ผู้นี้กล่าวว่า อย่างน้อยที่สุด ในขณะนี้เศรษฐกิจโลกกำลังชลอตัวลง และถ้าสามเขตเศรษฐกิจใหญ่ กล่าวคือ ยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่น ไม่สามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจของตนก้าวหน้าเติบโตได้แล้ว ทุกคนจะตกอยู่ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ หรืออย่างน้อยก็จะไม่โตเลยเป็นเวลานาน จะเกิดภาวะเงินฝืด และจะกลับไปโตได้อีกยาก

นักเศรษฐศาสตร์ของ UNCTAD ผู้นี้กล่าวต่อไปว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพเงินฝืดมาเป็นเวลานานถึง 20 ปี ซึ่งนับเป็นการสูญเสียที่ยาวนานมาก

นาย Heiner Flassbeck ให้ความเห็นว่า การบริโภคของภาคเอกชนเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ถ้าจะให้มีการฟื้นตัวได้ในทั้งสามเขตเศรษฐกิจนี้ ก็จะต้องส่งเสริมให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้นให้ได้ก่อน

เขาให้ความเห็นต่อไปว่า ความคิดเห็นทางการเมืองในขณะนี้ ดูจะยึดมั่นอยู่กับมาตรการรัดเข็มขัด และนักการเมืองบางคนแสดงความคิดเห็นไว้อย่างผิดๆว่า วิถีทางเดียวที่จะช่วยให้ผู้บริโภคกลับมามีความมั่นใจในเศรษฐกิจ และเริ่มการจับจ่ายใช้สอยได้อีกต่อไป คือการลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล

นักเศรษฐศาสตร์ของ UNCTAD กล่าวว่า ความเป็นจริงของชีวิตก็คือ เราลดการขาดดุลงบประมาณไม่ได้ แต่เราพยายามได้ รัฐบาลจะลดการใช้จ่าย และหวังว่ารายได้จะคงอยู่เหมือนแต่ก่อนนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อลดการใช้จ่าย รายได้ก็จะลดลงไปด้วย และเมื่อรายได้ลดลง ก็จะไม่สามารถลดการขาดดุลได้ และเมื่อลดการขาดดุลไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะกลับไปมีความมั่นใจในเศรษฐกิจได้ กล่าวได้ว่าแนวคิดเช่นนี้ บกพร่องมาตั้งแต่ต้น

นาย Heiner Flassbeck ผู้อำนวยการฝ่ายโลกาภิวัฒน์และยุทธวิธีในการพัฒนาของ UNCTAD กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะยังไม่ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทันที แต่เมื่อถึงเวลาที่ประสบปัญหาแล้ว จะมีผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนา

นักเศรษฐศาสตร์ของ UNCTAD ผู้นี้ส่งท้ายว่า ชาติต่างๆไม่จดจำบทเรียนของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1930 และเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกเป็นอย่างมากที่ชาติต่างๆไม่สามารถทำความตกลงกันได้ในการประสานแผนปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้เจริญเติบโตต่อไปได้

XS
SM
MD
LG