ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อนุสัญญาว่าด้วยก.ม.ทางทะเลของสหประชาชาติกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสมุทร


อนุสัญญาว่าด้วยก.ม.ทางทะเลของสหประชาชาติกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสมุทร
อนุสัญญาว่าด้วยก.ม.ทางทะเลของสหประชาชาติกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสมุทร

อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทร และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสุมทรของโลก อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทร และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสุมทรของโลก

อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆในการใช้มหาสมุทร และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในมหาสมุทรของโลก

ข้อตกลงฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1982 ในการประชุมเรื่องก.ม.ทางทะเลครั้งที่ 3 ของสหประชาชาติ หรือที่เรียกกันว่า UN Conference on Law of the Sea III หรือ UNCLOS III หลังจากที่มีการประชุมและพิจารณาเรื่องนี้กันมานาน 9 ปี

อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปีค.ศ. 1994 หลังจากที่มีประเทศต่างๆให้สัตยาบันครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ จนถึงเดือนพฤษภาคม ปีนี้ มี 161 ประเทศและสหภาพยุโรปที่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับนี้

อนุสัญญาฯฉบับนื้ กำหนดขอบข่ายทางทะเลของประเทศ โดยวัดบริเวณทะเลจากเส้นฐานของประเทศที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล บริเวณที่เป็นน้ำ เขตที่ติดต่อกับน่านน้ำรอบหมู่เกาะ เขตเศรษฐกิจ และไหล่ทวีป

บริเวณที่เป็นน้ำในประเทศ รวมเส้นทางน้ำที่อยู่ในพื้นที่ของประเทศ โดยประเทศนั้นๆมีอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าวอย่างเต็มที่

อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่ารัฐมีสิทธิที่จะกำหนดดินแดนของประเทศส่วนที่เป็นน้ำ โดยวัดจากเส้นฐานออกไปได้ถึง 22 กิโลเมตร (12 ไมล์ทะเล) รัฐนั้นๆ มีอธิปไตยเหนือบริเวณที่เป็นน้ำดังกล่าวก็จริง แต่จะต้องอนุญาตให้เรือของรัฐอื่นๆ เดินทางผ่านบริเวณดังกล่าวได้ด้วย ที่เรียกว่า “innocent passage”

คำจำกัดความของ “Innocent passage” คือการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วว่องไวของเรือต่างชาติที่ไม่เป็นการก่อกวนสันติภาพ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่งนั้นๆ การกระทำที่ถือว่าก่อความเสียหายได้ รวมถึงการจารกรรม การซ้อมรบ การปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และการประมง

อนุสัญญาฯฉบับนี้เอื้ออำนวยให้รัฐชายฝั่งกำหนดเขตติดต่อที่อยู่นอกบริเวณน่านน้ำของตนได้ เพื่อป้องกันมิให้เรือของต่างชาติละเมิดก.ม.ของรัฐในเรื่องศุลกากร ภาษีอากร การปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และการตรวจคนเข้าเมือง เขตติดต่อที่ว่านี้ จะต้องไม่ขยายออกไปเกินกว่า 44 ก.ม. โดยวัดจากเส้นฐานของรัฐชายฝั่ง

รัฐที่เป็นหมู่เกาะสามารถกำหนดเขตพรมแดนของตนได้ โดยการวาดเส้นฐานเชื่อมต่อกับจุดนอกสุดของเกาะรอบนอก โดยที่จุดเหล่านั้นอยู่ใกล้ชิดกันพอสมควร

อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ กำหนดให้บริเวณที่อยู่ในภายในเส้นฐานดังกล่าวเป็นเขตน่านน้ำของหมู่เกาะ และให้รัฐนั้นๆมีอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าวอย่างเต็มที่ รวมทั้งให้สิทธิการเดินเรือในลักษณะ “Innocent passage” ให้แก่เรือของประเทศอื่นๆด้วย

ส่วนเขตเศรษฐกิจ (Economic Zone) นั้น หมายถึงบริเวณนอกเขตน่านน้ำของรัฐชายฝั่งที่อาจยาวถึง 370 กิโลเมตร/200 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานของรัฐชายฝั่งนั้นๆ และภายในเขตเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐชายฝั่งมีสิทธิเหนือทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด ในขณะที่เคารพในสิทธิของรัฐอื่นๆ ชาติอื่นๆมีสิทธิที่จะเดินเรือ บินผ่าน และวางสายเคเบิลและท่อน้ำมันใต้ทะเลได้ตามกฎข้อบังคับของรัฐชายฝั่งนั้น

สำหรับไหล่ทวีป อนุสัญญาฯฉบับนี้ให้คำจำกัดความไว้ว่า เป็นส่วนต่อเติมโดยธรรมชาติของเขตแดนของรัฐชายฝั่งออกไปที่ขอบนอกของทวีป หรือจะวัดจากเส้นฐานของรัฐชายฝั่งออกไปได้ 370 กิโลเมตร แล้วแต่ว่าส่วนไหนจะใหญ่กว่า ไหล่ทวีปจะยืดเกินเส้นฐานออกไปมากกว่า 648 กิโลเมตร (350 ไมล์ทะเล) ไม่ได้

อนุสัญญาฯฉบับนี้ ระบุไว้ด้วยว่า รัฐชายฝั่งมีสิทธิที่จะขุดหาแร่ธาตุและสิ่งไม่มีชีวิตในพื้นใต้ทะเลของไหล่ทวีปได้ และว่าเรือของต่างชาติจะทำเช่นนั้นไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐชายฝั่ง

XS
SM
MD
LG