ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เทคโนโลยีการพิมพ์หุ่นจำลองหัวใจสามมิติช่วยแพทย์ในการผ่าตัดหัวใจ


3D-printed model adds new dimension to heart surgery, allowing surgeons to see defects that might not be readily apparent in digital images. (James Carlson, Saint Francis Medical Center)
3D-printed model adds new dimension to heart surgery, allowing surgeons to see defects that might not be readily apparent in digital images. (James Carlson, Saint Francis Medical Center)

มีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติมาใช้ในการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดหัวใจ และพบว่าหัวใจที่พิมพ์ออกมาให้รายละเอียดได้ครบถ้วนเท่ากับของจริง

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:03 0:00
Direct link

มีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติมาใช้ในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดหัวใจ และพบว่า หัวใจที่พิมพ์ออกมาในลักษณะนี้ สามารถให้รายละเอียดได้ครบถ้วนเท่ากับของจริง ซึ่งช่วยให้ศัลยแพทย์ประเมินสภาพการณ์ของอวัยวะก่อนการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเพิ่มโอกาสที่แพทย์จะทำงานได้สำเร็จ

นายแพทย์ Mathew Bramlet ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Illinois อาศัยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ สร้างรูปหัวใจที่เหมือนของจริงทุกกระเบียดนิ้ว และบอกว่า หุ่นจำลองหัวใจสามมิตินี้ ให้ข้อมูลรายละเอียดสำหรับการทำผ่าตัดได้เป็นอย่างดี

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหัวใจเด็กคนนี้บอกว่า แม้จะทำ MRI และถ่ายรูปออกมาก็ยังเป็นแค่ภาพสองมิติเท่านั้น แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ สิ่งที่ได้คือหัวใจที่จับต้องได้ และเป็นครั้งแรกที่แพทย์สามารถประเมินอวัยวะได้อย่างถูกต้องและมีหลัก

วิธีทำก็คือส่งข้อมูลที่ได้จากการทำ C-T scan, MRI และวิธีการอื่นๆ ไปที่เครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อสร้างหุ่นจำลองหัวใจในเบ้าหล่อที่เป็นปูนปลาสเตอร์หรือเซรามิก จากนั้น เครื่องพิมพ์จะเริ่มสร้างหุ่นจำลองหัวใจขึ้นมาที่ละชั้นในเบ้าหล่อ ซึ่งคุณหมอ Mathew บอกว่าเหมือนหัวใจจริงทุกอย่าง

นายแพทย์ผู้นี้ใช้การพิมพ์สามมิติมาแล้วกับกระบวนการต่างๆ ทางการแพทย์ และประสบความสำเร็จกับคนไข้ทุกราย เขาเล่าถึงคนไข้รายแรกที่ได้รับประโยชน์จากการพิมพ์สามมิติ ว่าเป็นทารกที่แพทย์พบว่ามีรูเล็กหนึ่งรูที่หัวใจจากภาพการทำ C-T scan และ MRI แต่การพิมพ์รูปหัวใจสามมิติ แสดงให้เห็นว่ามีหลายรู

คุณหมอ Mathew บอกว่า เมื่อศัลยแพทย์ทำการผ่าตัด จึงยืนยันได้ว่ามีหลายรู และสามารถเปลี่ยนกระบวนการผ่าตัดช่วยคนไข้ได้ บทเรียนก็คือ การได้เห็นและจับต้องหุ่นจำลองอวัยวะและส่วนที่บกพร่องหรือไม่ทำงาน ก่อนการผ่าตัด ช่วยให้แพทย์เลือกวิธีการทำงานและประหยัดเวลาได้

นายแพทย์ Mathew Bramlet สาธิตเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ รวมทั้งนำหุ่นจำลองหัวใจทารกผู้นี้ไปให้ผู้ร่วมการสัมนาของ American Heart Association เมื่อเร็วๆ นี้ได้ชมกันด้วย

แพทย์หญิง Kathy Magliato ศัลยแพทย์หัวใจที่โรงพยาบาล Saint John’s Health Center ในนคร Los Angeles ให้ความเห็นยืนยันประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้กับผู้สื่อข่าวของ Voice of America ผ่านทาง Skype ว่า หุ่นจำลองสามมิติสามารถช่วยให้ศัลยแพทย์ตัดสินใจได้ก่อนการผ่าตัด แพทย์หญิง Kathy Magliato บอกว่า การได้จับต้องหุ่นจำลองอวัยวะและพิจารณาโครงสร้างที่สลับซับซ้อนก่อนการผ่าตัด ทำให้วางแผนการผ่าตัดได้ และช่วยชีวิตคนไข้ได้

นายแพทย์ Mathew Bramlet บอกว่า กำลังศึกษาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติอยู่ต่อไป และได้ตกลงร่วมมือกับ National Institutes of Health เพื่อสร้างห้องสมุดอ้างอิงสำหรับการพิมพ์สามมิติโดยเฉพาะ ที่จะรวมหุ่นจำลองและภาพอื่นๆ ที่ผู้อื่นจะเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้ด้วย

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG