ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลเก็บเรื่องการให้สถานภาพพิเศษแก่พื้นที่ชายแดนภาคใต้ไว้เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากภาคใต้


นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลเก็บเรื่องการให้สถานภาพพิเศษแก่พื้นที่ชายแดนภาคใต้ไว้เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากภาคใต้
นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลเก็บเรื่องการให้สถานภาพพิเศษแก่พื้นที่ชายแดนภาคใต้ไว้เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากภาคใต้

รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปลี่ยนใจจากคำมั่นสัญญาเมื่อตอนหาเสียงที่ว่าจะจัดตั้งเขตบริหารพิเศษในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ บรรดานักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า ปัญหาการก่อการรุนแรงที่กรุ่นอยู่ในภาคใต้ อาจแก้ได้โดยการยอมให้มีการปกครองตนเองบางรูปแบบเท่านั้น นักวิเคราะห์เห็นกันว่ารัฐบาลมีสิ่งจูงใจน้อยที่จะทำให้มีการเปลี่ยยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในภาคใต้

รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปลี่ยนใจจากคำมั่นสัญญาเมื่อตอนหาสียงที่ว่าจะจัดตั้งเขตบริหารพิเศษในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ บรรดานักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า ปัญหาการก่อการรุนแรงที่กรุ่นอยู่ในภาคใต้ อาจแก้ได้โดยการยอมให้มีการปกครองตนเองบางรูปแบบเท่านั้น นักวิเคราะห์เห็นกันว่ารัฐบาลมีสิ่งจูงใจน้อยที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในภาคใต้

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์แถลงเมื่อต้นเดือนนี้ว่า รัฐบาลยังไม่มีแผนการใด ๆ ที่จะให้สถานภาพพิเศษแก่จังหวัดชายแดนภาคใต้

รุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช แห่งกลุ่ม International Crisis Group แสดงทัศนะว่า ที่เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาล พรรคเพื่อไทย ไม่ได้ที่นั่งแม้แต่ที่เดียวจากภาคใต้ จึงไม่เห็นเหตุผลทางการเมืองใด ๆ ที่ทางพรรคจะได้ประโยชน์จากการผลักดันนโยบายนี้ และที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้รับความสนับสนุนในภาคใต้ก่อนการเลือกตั้งนั้น ส่วนหนึ่งนั้นเนื่องมาจากการปราบปรามรุนแรงสมัยรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณในภาคใต้หลายปีมาแล้ว

ขณะเดียวกัน กลุ่มสิทธิมนุษยชน Amnesty International เห็นว่า เจ้าหน้าที่รักษาตวามมั่นคงยังใช้อำนาจในทางที่ผิด ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการทรมานผู้ต้องสงสัย และเจ้าหน้าที่เหล่านั้นรอดตัวเพราะมีกฏหมายภาวะฉุกเฉินคุ้มกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการก่อความรุนแรง

กลุ่มสิทธิมนุษยชน Amnesty International กล่าวว่า ผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้นั้น 2 ใน 3 เป็นพลเรือน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่ถูกมองว่าให้ความร่วมมือแก่รัฐบาล และไม่สนับสนุนฝ่ายก่อการรุนแรง

Donna Guest รองผู้อำนวยการโครงการเอเชียของ Amnesty International กล่าวว่า ในเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การโจมตีบ่อนทำลายมุ่งเป้าหมายที่ตอบโต้ไม่ได้อย่าง ชาวไร่ชาวนา โรงเรียน พ่อค้าแม่ค้า พระภิกษุสงฆ์ และข้าราชการพลเรือน โดยมุ่งให้เกิดความหวาดกลัว Donna Guest กล่าวว่า การโจมตีเหล่านี้ เท่ากับเป็นอาชญากรรมสงคราม

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาสำหรับการตอบโต้ของรัฐบาลต่อเหตุการณ์รุนแรงนั้นคือ การขาดการดำเนินงานที่สอดคล้องและประสามงานกัน

รุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช แห่งกลุ่ม International Crisis Group กล่าวว่า หากรัฐบาลยังใช้วิธีการแบบเดิม ไม่ว่าจะปรับโครงสร้างระบบราชการอย่างไร หากไม่มีการริเริ่มนโยบายใหม่ ก็ไม่มีช่องทางที่จะเห็นการยุติปัญหาพิพาทขัดแย้งในภาคใต้อย่างถาวรได้ และว่า ความหวังใด ๆ สำหรับความสงบเรียบร้อยนั้น อยู่ที่การกระจายอำนาจออกจากส่วนกลางในบางรูปแบบ และการเจรจาอย่างเป็นงานเป็นการกับฝ่ายผู้ก่อการ

XS
SM
MD
LG