ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รู้จัก 'เรือโท ณัฐธัญ แจ๊คกี้ วิศวา' นายทหารและวิศวกรสายเลือดไทย กองทัพเรือสหรัฐฯ


Thai US Navy
Thai US Navy

'เรือโท ณัฐธัญ แจ๊คกี้ วิศวา' ที่เกิดและเติบโตจากเมืองไทยจะมาเปิดใจถึงเส้นทาง แรงบันดาลใจกว่าจะมาเป็นนายทหารในกองทัพเรือสหรัฐประจำการที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือที่กรุงวอชิงตัน

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:54 0:00
Direct link

เรือโท ณัฐธัญ หรือ แจ๊คกี้ วิศวา นายทหารหนุ่มสายเลือดไทย ในฐานะวิศวกร สังกัดกองพันทหารก่อสร้าง กรมยุทธโยธาทหารเรือสหรัฐฯ ประจำการที่ฐานปฏิบัติการกองทัพเรือที่กรุงวอชิงตัน มากว่า 4 ปีแล้ว

ณัฐธัญ เกิดและเติบโตที่เมืองไทย ก่อนจะมาเรียนต่อและสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จาก California State Polytechnic University วิทยาเขต Pomona ในรัฐแคลิฟอร์เนีย จนมีโอกาสสอบคัดเลือกและรับการฝึก ผ่านเข้าประจำการเป็นทหารสัญญาบัตร ในกองทัพเรือสหรัฐฯได้สำเร็จ

"ผมโชคดีนะครับ ปีนั้นคนสมัครประมาณ 1,400 คน เขารับเพียง 21 คน ผมโชคดีที่ได้เป็นหนึ่งในนั้น ผมถือว่าเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นวิศวกรโยธาให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ"

การใช้ทักษะความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมโยธาอาจเป็นรูปแบบงานที่ณัฐธัญคุ้นเคยมาก่อน แต่ความรับผิดชอบหลักในบทบาทของการเป็นนายทหาร ที่มีลำดับการบังคับบัญชาและระเบียบวินัยสูง ก็มีความท้าทายอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

เริ่มต้นเลยก็ลำบากแล้ว เขามองมาว่าเราเป็นคนเอเชีย ไม่ใช่เป็นฝรั่งเหมือนเขา จะทำอย่างไรให้เขายอมรับ ตอนแรกยอมรับว่าปรับตัวยาก แต่ตอนหลังเราก็ต้องทำให้เขารู้ว่า เราเป็นหัวหน้าเขา เป็นผู้นำของเขา
เรือโท ณัฐธัญ แจ๊คกี้ วิศวา กองทัพเรือสหรัฐฯ

'วันแรกเลยเขาโยนลูกน้องมาให้ 50 คน ทั้งๆ ที่เราจบมหาวิทยาลัยมา แต่สิ่งที่เรียนรู้เลยก็คือคนเราไม่เหมือนกัน มีจุดเด่นจุดด้อย แต่หน้าที่การเป็นผู้นำก็คือเราจะสามารถดึงจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละคนมาทำงานได้มากน้อยแค่ไหน เริ่มต้นเลยก็ลำบากแล้ว เขามองมาว่าเราเป็นคนเอเชีย ไม่ใช่เป็นฝรั่งเหมือนเขา จะทำอย่างไรให้เขายอมรับ ตอนแรกยอมรับว่าปรับตัวยาก แต่ตอนหลังเราก็ต้องทำให้เขารู้ว่า เราเป็นหัวหน้าเขา เป็นผู้นำของเขา ไม่ว่าคุณจะเก่งหรือด้อยแค่ไหน อย่างน้อยเราอยู่กับเขา ไม่ทิ้งเขา แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่ดี พอเราชนะในเขาได้ เราจะสั่งอะไร จะให้ทำอะไร เขาจะไม่มีข้อแม้เลย นั่นคือบทเรียนแรกที่ผมรู้.."

นายทหารสายเลือดไทยคนนี้ บอกว่า แม้จะถูกส่งออกไปปฏิบัติภารกิจหลายแห่ง แต่ที่ประทับใจที่สุดก็คือการได้มีส่วนร่วม ในปฏิบัติการซ้อมรบร่วมไทย-สหรัฐฯ ทั้งคอบร้าโกลด์ และการัต บนแผ่นดินเกิดเมื่อหลายปีก่อน

" ..การทำงาน ในเรื่องภาษานั้น ไม่ใช่แฟกเตอร์ที่สำคัญเลย มันขี้นอยู่กับว่าเราอยากจะให้เขามองเราอย่างไร ปฏิบัติกับเราอย่างไร ถ้าสมมุติเราคิดว่าไม่กล้า ขี้อาย ก้มหัว คนเขาก็จะดูถูกเหยียดหยามเราได้ แต่สำหรับผมในฐานะที่การงานมันบังคับให้เป็นผู้นำ เราต้องแสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ในทางกลับกันเขาต้องอิจฉามากกว่า เพราะเขาอาจจพูดได้ภาษาเดียว แต่เราพูดได้สองภาษา อย่าคิดให้มันเป็นจุดด้อย แต่คิดให้เป็นจุดเด่น"

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ไม่มีการเกณฑ์ทหาร โดยแต่ละกองทัพจะเปิดรับสมัครและสร้างแรงจูงใจให้พลเรือนสามารถสมัครเข้าเป็นทหารเหล่าต่างๆ ได้โดยสมัครใจ โดยจะมีระบบการคัดเลือก การทดสอบขั้นต้น และฝึกอบรม ก่อนจะส่งผู้ที่ผ่านการฝึกไปประจำการในกองทัพในส่วนต่างๆ ตามความรู้ความสามารถ วุฒิการศึกษา และสายงานที่ต้องการ

XS
SM
MD
LG