ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทีมนักวิจัยอเมริกันเร่งพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อใช้ตรวจพืชผลในไร่ขนาดใหญ่เเทนเเรงงานคน


Better Crop Monitoring Leads to Higher Yields
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:05 0:00

Better Crop Monitoring Leads to Higher Yields

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:05 0:00

ทีมนักวิจัยอเมริกันเเห่งมหาวิทยาลัย Purdue กำลังสาธิตการบังคับยานยนต์แบบใหม่ที่ใช้ในไร่เพื่อสำรวจพืชผลทางการเกษตร

ทีมนักวิจัยทีมนี้กำลังเก็บข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตรในไร่ที่กว้างใหญ่ เครื่องมือเหล่านี้รวดเร็วในการทำงานกว่าการใช้แรงงานคน

Mitch Tuinstra ศาสตราจารย์ด้านการเพาะพันธุ์พืชและพันธุกรรมเเห่งมหาวิทยาลัย Purdue กล่าวว่า "ทีมงานกำลังพัฒนาระบบใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งคน เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบตรวจวัดควบคุมระยะไกลเพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของต้นพืชในไร่นา"

ทีมนักวิจัยใช้ตัวเซ็นเซอร์ที่เรียกว่า RGB ในการตรวจหาความเเตกต่างของสี เเละใช้เรดาร์เเสงเลเซอร์ที่เรียกว่า lidars และตัวเซ็นเซอร์เเสงอินฟราเรด กับอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์อื่นๆ ในการตรวจวัดระดับความเเตกต่างด้านการเจริญเติบโตของพืช

ตัวเซ็นเซอร์ เรดาร์และอุปกรณ์เหล่านี้ใช้ได้กับยานพาหนะหลายประเภทรวมทั้งโดรน

Mitch Tuinstra ผู้เชี่ยวชาญเเห่งมหาวิทยาลัย Purdue กล่าวว่า "เมื่อยานพาหนะที่ติดตั้งตัวเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดทันสมัยเหล่านี้ ทำงานตรวจพืชเเต่ละรอบเสร็จสิ้น จะสามารถให้ข้อมูลได้ว่าควรใส่ปุ๋ยเเก่พืชในจุดใด ควรใช้ยาฆ่าหญ้าตรงจุดใดหรือควรฉีดยาฆ่าเเมลงในจุดใดบ้าง"

ทีมนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า พวกเขากำลังศึกษาจุดอ่อนและจุดเเข็งของยานพาหนะเเต่ละประเภทที่ใช้การวิจัย และเริ่มเข้าใจข้อมูลที่พวกเขากำลังจัดเก็บได้ดีมากขึ้น

ข้าวฟ่างเป็นหนึ่งในพืชที่ทีมนักวิจัยกำลังเน้นศึกษา เพราะเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในฐานะเเหล่งของพลังงานชีวภาพ เเต่ข้อมูลที่ศึกษาสามารถใช้ประเมินพืชชนิดใดก็ได้

Mitch Tuinstra นักวิจัยเเห่งมหาวิทยาลัย Purdue กล่าวว่า "เขาคาดหวังว่าในอนาคต งานวิจัยที่ทีมงานของเขากำลังทำอยู่ในขณะนี้จะวิวัฒนาการไปเป็นโครงการต่างๆ ที่สามารถทำการประเมินและคาดการณ์ระดับการเจริญเติบโตของพืชผลทางการเกษตร"

ทีมนักวิจัยเเห่งมหาวิทยาลัย Purdue กล่าวว่าในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ยานพาหนะระบบหุ่นยนต์ที่ใช้ระบบนำทางสัญญาณดาวเทียม วิ่งไปตามท้องไร่เพื่อตรวจพืชผลอย่างใกล้ชิด

(รายงานโดย George Putic / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว )

XS
SM
MD
LG