ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวไต้หวันจะเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ต้นปีหน้าจากคู่แข่งผู้หญิงสองคน


Backed by the ruling Nationalist Party members, Hung Hsiu-chu, a former teacher and current deputy legislative speaker, waves as she is nominated as the party's candidate in the January presidential election, July 19, 2015, in Taipei, Taiwan.
Backed by the ruling Nationalist Party members, Hung Hsiu-chu, a former teacher and current deputy legislative speaker, waves as she is nominated as the party's candidate in the January presidential election, July 19, 2015, in Taipei, Taiwan.

การมีผู้ชิงตำแหน่งที่เป็นผู้หญิงทั้งคู่ยิ่งทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในเดือน ม.ค ปีหน้าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

Direct link

ประเทศในเอเชียหลายชาติไม่ว่าจะเป็นอินเดีย เกาหลีใต้และประเทศอื่นๆ ต่างเคยมีผู้นำประเทศเป็นผู้หญิงกันมาแล้ว แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันจะมีโอกาสเลือกผู้นำประเทศที่เป็นผู้หญิงบ้าง

Philip Yang โฆษกของทีมหาเสียงแก่ผู้สมัครจากพรรคจีนคณะชาติไต้หวันกล่าวว่า การมีผู้ชิงตำแหน่งที่เป็นผู้หญิงทั้งคู่ยิ่งทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในเดือนมกราคมปีหน้า ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ตัวแทนจากพรรคจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลไต้หวันในขณะนี้ คือนางหง ชู จู้ อายุ 67 ปี เคยเป็นครูมาก่อน เลื่องชื่อในเรื่องของการตั้งคำถามที่แหลมคมและมีอารมณ์ขัน ส่วนคู่แข่งคือ นาง ไท้ ยิง เหวน อายุ 58 ปี เป็นนักกฏหมาย ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปีค.ศ. 2012 นางหงแพ้การเลือกตั้งด้วยคะแนนเพียง 6 เปอร์เซ็นต์

นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่า ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งชาวไต้หวันสามารถยอมรับผู้สมัครเพศหญิงได้ เพราะประชาธิปไตยของไต้หวันเติบโตเต็มที่ตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1980 และผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไปได้รับการยอมรับว่าสามารถเป็นผู้นำสังคมได้ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่เป็นรากฐานของไต้หวัน

เมื่อประเด็นความเท่าเทียมทางเพศไม่เป็นปัญหาในไต้หวัน การถกเถียงเกี่ยวกับประธานาธิบดีจึงให้ความสำคัญในประเด็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับจีนมากกว่า จีนกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือไต้หวันที่ปกครองตนเองมานานแล้ว และเรียกร้องให้ไต้หวันกับจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่การสำรวจความคิดเห็นชี้ว่าชาวไต้หวันต้องการอิสรภาพในการปกครองตนเองอย่างที่เป็นอยู่นี้มากกว่า

ประธานาธิบดี หม่า ยิง เจียว แห่งไต้หวันเป็นผู้เปิดการเจรากับจีนครั้งสำคัญในปีค.ศ. 2008 นำมาซึ่งการตกลงทางเศรษฐกิจหลายอย่าง นางหง ชู จู้ หนุนให้มีการเจรจาทางการค้ากับจีนต่อไป โดยให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับในความเป็นจีนที่แตกต่างกันในด้านความคิด ส่วนทางด้านนางไท้ ยิง เหวน ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้านต้องการให้มีการเจรจากับจีนมากขึ้น แต่ไม่ต้องการเงื่อนไขว่าต้องเจรจากันบนพื้นฐานว่าต้องมีเพียงจีนเดียว ซึ่งนี่ทำให้ทางการจีนเกิดความกังวลใจ

คุณ Ross Feingold ที่ปรึกษาอาวุโสประจำในกรุงไทเป แก่ DC International Advisory แห่งสหรัฐฯ ชี้ว่า ผู้ลงคะแนนเสียงชาวไต้หวันจะพิจารณานโยบายเกี่ยวกับจีนของผู้สมัครทั้งสอง เช่นเดียวกับที่จะให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ ผู้ลงชิงตำแหน่งทั้งสองคนอยู่ในตำแหน่งสาธารณะมาพอสมควร ทำให้คนไต้หวันมีข้อมูลเกี่ยวกับทั้งสองมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นประวัติในอดีต จุดยืนต่อประเด็นต่างๆ ในปัจจุบันโดยไม่ต้องนำประเด็นเรื่องเพศมาเกี่ยวข้อง

ชาวไต้หวันจำนวนมากต้องการให้ไต้หวันสานสัมพันธ์กับจีนอย่างระมัดระวัง ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนหลายชิ้นชี้ว่า นางไท้ ยิง เหวน ได้เปรียบคู่แข่งเพราะประกาศตัวมาก่อนหน้าราวครึ่งปีแล้ว ผู้ชนะการเลือกตั้งจะขึ้นดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี หม่า ยิง เจียวในเดือนพฤษภาคมปีหน้า เมื่อเขาต้องลงจากตำแหน่งเพราะกฏหมายไม่อนุญาตให้ลงรับเลือกตั้งได้อีก

XS
SM
MD
LG